Show simple item record

dc.contributor.advisorวรางคณา ศรนิลth
dc.contributor.authorกนกกาญจน์ น้อยนาชth
dc.date.accessioned2019-06-12T09:00:38Z
dc.date.available2019-06-12T09:00:38Z
dc.date.issued2015th
dc.identifier.otherb190463th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4442th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558th
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนายกระดับนิคมอุตสาหกรรมบางชันสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และเสนอแนวทางในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งเน้นศึกษาการดำเนินงานจากการพัฒนายกระดับนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของ นิคมอุตสาหกรรมบางชัน ประกอบด้วยการศึกษาข้อมูลแบบปฐมภูมิ คือ การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างผู้มีส่วนได้เสีย 4 กลุ่ม ได้แก่ สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมบางชัน ผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้นำชุมชน และการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ รวมทั้งวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการพัฒนาด้วย SWOT Analysis และเสนอกลยุทธ์ในการพัฒนาด้วย TOWS Matrix Analysis และ Sustainable Balance Scorecards (SBSC) รวมทั้งสรุปผลการศึกษาด้วยแผนที่กลยุทธ์ (Strategy Map) ผลการศึกษาพบว่า นิคมอุตสาหกรรมบางชันดำเนินการบรรลุเป้าหมายตามเกณฑ์เป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศทั้ง 5 มิติการพัฒนาซึ่งปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาได้แก่ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย การดำเนินงานที่ต่อเนื่อง และการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจแก่บุคลากรจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในของการพัฒนาพบว่าจุดแข็งในการพัฒนามีความโดดเด่นในมิติด้านสังคม คือ การมีส่วนร่วมและความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ส่วนจุดอ่อนพบในมิติการบริหารจัดการ คือ การมีส่วนร่วมของบุคลากรในสำนักงานการนิคมอุตส าหกรรมบางชันและผู้ประกอบการในการดำเนินงานยังมีค่อนข้างน้อย สำหรับสภาพแวดล้อมภายนอกของการพัฒนา พบว่ามีโอกาสในมิติด้านสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความก้าวหน้าทางการวิจัยด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และความมุ่งมั่นในการส่งเสริมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในระดับประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังพบอุปสรรคในด้านการบริหารจัดการค่อนข้างมาก โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความชัดเจนในการกำกับดูแลและการดำเนินการในระดับนโยบายของประเทศ จากผลการศึกษาผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางเพื่อการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมบางชันสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนภายใต้ 4 มุมมอง ตามหลักการ SBSC ประกอบด้วย 1) ด้านการเรียนรู้และพัฒนาได้แก่ การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของการนิคมฯ สถานประกอบการ และชุมชน 2) ด้านการปรับปรุงกระบวนการภายใน ได้แก่ การวางแผนและกำหนดนโยบายที่ชัดเจน และกำกับดูแลคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามข้อกฎหมาย รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิตด้วยความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ 3) ด้านประสิทธิภาพการดำเนินการได้แก่ การมุ่งเน้นด้านประสิทธิภาพเชิงนิเวศ (Eco-efficiency) และ 4) ด้านชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การสร้างความร่วมมือในการพัฒนาร่วมกับชุมชนเพื่อความเข้าใจและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนิคมอุตสาหกรรมและชุมชนth
dc.description.provenanceSubmitted by นักศึกษาฝึกงานมหาวิทยาลัยศิลปากร_2562 (บุษกร แก้วพิทักษ์คุณ) (budsak.a@nida.ac.th) on 2019-06-12T09:00:38Z No. of bitstreams: 1 b190463.pdf: 31554377 bytes, checksum: 04ce7f2acbc4a167d72ef4d17337b6ea (MD5)th
dc.description.provenanceMade available in DSpace on 2019-06-12T09:00:38Z (GMT). No. of bitstreams: 1 b190463.pdf: 31554377 bytes, checksum: 04ce7f2acbc4a167d72ef4d17337b6ea (MD5) Previous issue date: 2015th
dc.format.extent175 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherการพัฒนาอุตสาหกรรม -- จันทบุรี -- บางชันth
dc.subject.otherอุตสาหกรรม -- แง่สิ่งแวดล้อม -- จันทบุรี -- บางชันth
dc.titleแนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) อย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมบางชันth
dc.title.alternativeSustainable development of eco-industrial-town : a case study of Bangchan Industrial Estateth
dc.typeTextth
mods.genreวิทยานิพนธ์th
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
thesis.degree.levelMaster'sth
thesis.degree.disciplineการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.departmentคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อมth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record