• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การศึกษากลไกและมาตรการในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็ก ภายใต้กรอบประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

by ศศิวิมล สู่วรฤทธิ

Title:

การศึกษากลไกและมาตรการในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็ก ภายใต้กรอบประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

Other title(s):

Research the mechanism, measurement protection and support for children right under the framework of ASEAN

Author(s):

ศศิวิมล สู่วรฤทธิ

Advisor:

สุวิชา เป้าอารีย์

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การบริหารการพัฒนาสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2014

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลไกและมาตรการของการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิเด็กในประเทศไทย ภายใต้กรอบประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 2)ศึกษาผลกระทบที่เป็นไปได้ของประชาคมอาเซียน ที่มีต่อการคุ้มครองสิทธิเด็ก 3) เสนอแนะนโยบายด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กภายใต้กรอบประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และบุคคลผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ รวมจำนวน 14คน โดยทำการศึกษาจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และองค์กรภายเอกชน ได้แก่ United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC) มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก และมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นหลัก ได้แก่ แนวทางการสนทนาหรือการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก
ผลการศึกษาพบว่า 1) ในส่วนของมาตรการ แต่ละกระทรวงที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการรับผิดชอบเสาหลักประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ด้านสิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ได้มีการจัดทำมาตรการการเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาเซียนในเรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กไว้เป็นอย่างดีแล้ว ยกเว้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2) ในส่วนของกลไกทางด้านกฎหมาย หน่วยงานภาครัฐได้มีการจัดทำแผนงาน ยุทธศาสตร์ มาตรการ กิจกรรมในเรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็ก ไว้อย่างเพียงพอแล้ว และในส่วนของกลไกทางด้านสถาบัน ควรมีการส่งเสริมให้ผู้ที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบเรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กเกิดความรู้ความเข้าใจในแผนงานที่ตนรับผิดชอบ และจะต้องขยายขอบเขตให้ภาคเอกชนและประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจด้วย
นอกจากนั้น จะต้องมีการผสานงานกันระหว่างหน่วยงาน ได้แก่ การผสานงานกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐกันเอง เพราะแต่ละหน่วยงานต่างก็ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในประเด็นที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้น หากมีการผสานงานกันระหว่างหน่วยงาน การดำเนินการจัดการป้องกันและการแก้ไขปัญหาก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการผสานงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพราะองค์กรภาคเอกชนเหล่านั้นมีบทบาทอย่างมากในการส่งเสริมและผลักดันในเรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กภายในประเทศ ในขณะเดียวกันก็จะต้องให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนทั้งผู้ใหญ่ และตัวเด็กเองด้วย
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเป็ นประชาคมอาเซียน 1) การศึกษา การที่เด็กไทยเสียเปรียบทางด้านภาษา เนื่องมาจากการไม่เห็นความสำคัญในการใช้ภาษาอังกฤษ และการขาดทักษะการนำไปใช้ เมื่อมีการเปิดเป็นประชาคมจะมีแรงงานประเทศเพื่อนบ้านหลั่งไหลเข้ามาทำงานเป็นจำนวนมากอีกทั้งพวกเขายังสามารถใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาประจำชาติของประเทศเขาได้อีก ซึ่งจะส่งผลต่อการไม่มีงานทำของเด็กไทย 2) เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะ พม่า กัมพูชา ลาว ซึ่งเป็นประเทศที่ด้อยพัฒนากว่าประเทศไทย จะเข้ามาแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าภายในประเทศไทย และคนภายในประเทศไทยเองก็ออกไปหาโอกาสที่ดีกว่าในประเทศอื่นเช่นเดียวกัน จึงทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายข้ามชาติขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อจำนวนเด็กเคลื่อนย้ายที่จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีคนเข้าออกมากขึ้นก็ส่งผลต่อการเกิดอาชญากรรมข้ามชาติที่จะมีการทวีความรุนแรงมากขึ้นตามมา การเข้ามา การอาศัยอยู่อย่างผิดกฎหมาย และการขาดหลักฐานประกันความมีตัวตนของเด็กจะส่งผลให้เด็กถูกข่มขู่ ล่อลวง เข้าสู่วงจรการค้ามนุษย์ได้ 3) การสื่อสารอย่างไร้พรมแดนส่งผลกระทบต่อเด็กที่ยังขาดประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตตกเป็นเหยื่อของผู้ที่แสวงหาผลประโยชน์จากเด็กได้ และ 4) เด็กจะได้รับการถูกละเมิดจากสถานการ์การชุมทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านแนวคิดที่เด็กถูกครอบนำจากฝ่ายที่ตนเองสนับสนุน และนำไปเป็นตัวอย่างการดำเนินชีวิต และความไม่ปลอดภัยทางร่างกายและจิตใจ จากการที่เด็กเข้าร่วมการชุมนุมทางการเมืองแล้วได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดี จากเพื่อน ผู้ใหญ่ หรือจากผู้ที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม เช่น การที่นำเด็กมาเป็ นเกราะกันกระสุน หรือ การที่เด็กถูกครูว่ากล่าวเพราะไปขึ้นเวทีการชุมนุมมา เป็นต้น
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา 1) ควรส่งเสริมบทบาทภาคีเครือข่ายในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดมาตรการแก้ไขปัญหา 2) ปรับปรุงการปฏิบัติต่อเด็กที่กระทำผิดอย่างเหมาะสม 3) ส่งเสริมให้ภาครัฐ มีการผสานงานทางด้านกฎหมายกับประเทศในกลุ่มอาเซียน 4) ภาครัฐควรสนับสนุนงบประมาณที่เหมาะสมในการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ 5) ด้านการศึกษา ควรให้ภาคีเครือข่าย ภาคประชาสังคมทั้งภายในประเทศ และภายนอกประเทศ เข้ามาจัดหลักสูตรการศึกษาร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ 6) ส่งเสริมสถาบันครอบครัว โดยการส่งเสริมให้ผู้ปกครองพัฒนาความรู้ ปรับทัศนคติในการเลี้ยงดูเด็กอย่างเหมาะสม 7) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557

Subject(s):

สิทธิเด็ก

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

225 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4443
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b190494.pdf ( 2,814.79 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×