• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • GSSDE: Dissertations
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • GSSDE: Dissertations
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

ปัจจัยเชิงเหตุแบบบูรณาการทางด้านจิตลักษณะและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

by ดิณห์ ศุภสมุทร

Title:

ปัจจัยเชิงเหตุแบบบูรณาการทางด้านจิตลักษณะและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

Other title(s):

Integration of psychological and situational antecedents of work behavior in cabin crew

Author(s):

ดิณห์ ศุภสมุทร

Advisor:

ดุจเดือน พันธุมนาวิน

Degree name:

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

Degree level:

Doctoral

Degree discipline:

พัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2015

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบ (Correlational-Comparative Study)ครั้งนี้คือ 1) เพื่อบ่งชี้ตัวทำนายสำคัญและปริมาณการทำนายของสถานการณ์และจิตลักษณะที่เกี่ยวข้องกับ พฤติกรรมการทำงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินประเภทต่างๆ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและหรืออิทธิพลทางอ้อมของสถานการณ์และจิตลักษณะที่มีต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน และ 3) เพื่อระบุกลุ่มเสี่ยงและปัจจัยปกป้อง
งานวิจัยนี้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling Method) กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน จำนวน 411 คน โดยแบ่งเป็นเพศชาย จำนวน165 คน (40.1%) และ เพศหญิง จำนวน246 คน (59.9%) ในจำนวนนี้มีอายุเฉลี่ย 39.10 ปี และมีอายุงานเฉลี่ย 14.01 ปี ทำงานในเส้นทางระหว่างทวีป จำนวน225 คน (55.1%) ทำงานในเส้นทางภูมิภาค/ภายในประเทศ จำนวน183 คน (44.9%)
เครื่องมือวัดทั้งหมดจำนวน 11 ชุด ส่วนใหญ่เป็นแบบวัดชนิดมาตรประเมินรวมค่า แบบวัดทุกชุดผ่านการวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ค่า Item-Total Correlation และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน แล้วนำไปหาค่าความเชื่อมั่น ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 0.635 ถึง 0.919 ทั้งนี้ในงานวิจัยนี้มีสมมติฐาน 3 ข้อ จึงมีสถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์สมมติฐาน 2 ประเภท ได้แก่ 1) การวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ทั้งแบบ Enter และ Stepwise และ 2) การวิเคราะห์อิทธิพล (Structural Equation Model)
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3 ข้อนั้นได้รับการสนับสนุนจากข้อมูลในงานวิจัยเพียงบางส่วน โดยผการศึกษาที่สำคัญ มีดังนี้ 1) ทัศนคติต่องาน โดยถูกทำนายได้ 55.3% ในกลุ่มรวม และมีตัวทำนายสำคัญเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ บรรยากาศองค์การ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ บุคลิกภาพเชิงอาชีพบริการ และการประเมินแก่นแห่งตน 2) ความเครียดในงาน โดยถูกทำนายได้ 22% ในกลุ่มรวม และมีตัวทำนายสำคัญเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ การประเมินแก่นแห่งตน ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และ การสนับสนุนทางสังคม 3) พฤติกรรมการบริการบนเครื่องบิน โดยถูกทำนายได้ 42.5% ในกลุ่มรวม และมีตัวทำนายสำคัญเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน ทัศนคติต่องาน และการประเมินแก่นแห่งตน 4) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การ โดยถูกทำนายได้ 62.4% ในกลุ่มรวม และมีตัวทำนายสำคัญเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ แรงจูงใจใฝ่ สัมฤทธิ์ ทัศนคติต่องาน การสนับสนุนทางสังคม บรรยากาศองค์การ และการประเมินแก่นแห่งตน 5) ผลการวิเคราะห์อิทธิพลพบว่าปัจจัยเชิงเหตุกลุ่มสถานการณ์ และ ปัจจัยเชิงเหตุกลุ่มจิตลักษณะเดิม มีอิทธิพลทางตรงไปยังปัจจัยเชิงเหตุกลุ่มจิตลักษณะตามสถานการณ์ มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย (R2) เท่ากับ 99.9% และยังพบด้วยว่าปัจจัยเชิงเหตุกลุ่มจิตลักษณะตามสถานการณ์มีอิทธิพลทางตรงไปยังพฤติกรรมการทำงาน โดยค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย (R2) เท่ากับ 85.3% และนอกจากนั้นยังพบว่า ปัจจัยเชิงเหตุกลุ่มจิตลักษณะเดิม มีอิทธิพลทางอ้อมไปยังพฤติกรรมการทำงาน โดยพบว่าค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ .479 ขณะที่ปัจจัยเชิงเหตุกลุ่มสถานการณ์ มีอิทธิพลทางอ้อมไปยังพฤติกรรมการทำงาน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ .465 และ 6) พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่มีพฤติกรรมการบริการบนเครื่องบินเหมาะสมน้อย คือ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพศชาย พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่อายุน้อย พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่อายุงานน้อย และ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่บินในเส้นทางภูมิภาค/ในประเทศ ส่วน พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่มีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การน้อย คือ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพศชาย
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาในกลุ่มเสี่ยง 1) การพัฒนาพฤติกรรมการบริการบนเครื่องบิน พบว่า ต้องเพิ่มปัจจัยปกป้ องตามลำดับ คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และการสนับสนุนทางสังคม 2) การพัฒนาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การ พบว่า ต้องเพิ่มปัจจัยปกป้องตามลำดับ คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ บรรยากาศองค์การ และการประเมินแก่นแห่งตน
ส่วนข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยต่อไป 1) นอกจากการประเมินตนเองแล้ว อาจพิจารณาเกณฑ์การวัด อื่นๆ เช่น ใช้การประเมินจากหัวหน้า หรือ เพื่อนร่วมงาน เพื่อเปรียบเทียบกันมากยิ่งขึ้น และ 2) ควรทำวิจัยโดยเก็บกลุ่มตัวอย่างจากผู้ฝึกอบรมเพียงอย่างเดียว เพื่อศึกษาปัจจัยเหตุที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเหล่านี้ และ 3) ปริมาณการทำนายของเพศหญิงในงานวิจัยนี้ยังมีไม่มากจึงสมควรหาตัวแปรใหม่ที่อาจเกี่ยวข้องในเพศหญิง เช่น ความเชื่ออำนาจในตน ประสิทธิผลแห่งตนในการทำงาน เป็นต้น

Description:

วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (พัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

Subject(s):

พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

Resource type:

ดุษฎีนิพนธ์

Extent:

227 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4446
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
b190495.pdf ( 4,948.53 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Dissertations [26]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×