• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) ของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กรณีศึกษา บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) จังหวัดระยอง

by อลงกรณ์ อินทรฑูต

Title:

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) ของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กรณีศึกษา บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) จังหวัดระยอง

Other title(s):

Factors affecting the inplementation of environment management system (ISO 14001) of Petrochemical industry : a case study of IRPC Public Company Limited

Author(s):

อลงกรณ์ อินทรฑูต

Advisor:

จุฑารัตน์ ชมพันธุ์

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการสิ่งแวดล้อม

Degree department:

คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2015

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) 3) เป็นแนวทางในการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม แก่องค์กรอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการศึกษานี้ได้ประยุกต์แนวคิด CIPP-I Model ซึ่งมีการพิจารณาปัจจัยด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และด้านผลกระทบที่ได้จากการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด(มหาชน) เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัท และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการสังเกตการณ์ แบบไม่มีส่วนร่วม และการวิจัยเอกสาร
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) 1) ด้านบริบท ได้แก่ การสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง การติดตามตรวจสอบของหน่วยงานราชการ การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน ความต้องการของคู่ค้า การแข่งขันทางการตลาด ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น และข้อร้องเรียนจากชุมชน ส่วนปัจจัยทางสภาวะทางเศรษฐกิจไม่มีผลต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัท 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ พนักงานมีจำนวนที่เพียงพอและมีความรู้ความเข้าใจในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม การฝึกอบรมพนักงานอย่างทั่วถึง งบประมาณที่เพียงพอ เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสม การสนับสนุนของผู้บริหาร วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัฒนธรรมขององค์กร และการบูรณาการระบบมาตรฐานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน 3) ด้านกระบวนการ มีนโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และวางแผนโครงการที่เหมาะสม ชัดเจนและสอดคล้องกัน มีหน่วยงานคอยควบคุมการดำเนินงานที่ชัดเจน นาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ มีการสื่อสารกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วม มีการอบรมผู้รับเหมา การสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน ซ้อมแผนฉุกเฉินอย่างสม่ำเสมอ ตรวจติดตามและประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ และมีการทบทวนปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และจากการดำเนินระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมทำ ให้บริษัทได้รับผลประโยชน์ ดังนี้ 4) ด้านผลผลิต พบว่าบริษัทดำเนินงานบรรลุได้ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ และมีสภาพแวดล้อมภายในบริษัทดีขึ้นเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น 5) ด้านผลกระทบ พบว่าปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนลดลง ชุมชนมีความพึงพอใจและมีทัศนคติที่ดีต่อบริษัทขึ้น มีการปฏิบัติงานที่เป็นระบบและมีการนา เทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ พนักงานเกิดการพัฒนาความรู้ความสามารถ และความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
สำหรับแนวทางทางและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมแก่องค์กรอื่น ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ได้แก่ 1) ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและให้การสนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ ให้เพียงพอต่อการดำเนินงาน 2) มีการบริหารจัดการที่ดี การกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแผนงานให้ชัดเจน สอดคล้องกัน เหมาะสมกับบริบทขององค์กร มีการกาหนดหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน รวมถึงมีการติดตามการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ 3) ควรให้พนักงานมีส่วนร่วมในกระบวนการดำเนินงานของระบบ และสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 4) เปิดโอกาสให้ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบข้อมูลและมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

Subject(s):

อุตสาหกรรมปิโตรเลียม
การจัดการสิ่งแวดล้อม

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

230 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4447
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b190468.pdf ( 4,583.61 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSEDA: Theses [92]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×