• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • GSSDE: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • GSSDE: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบลงทะเบียน

การดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นท่ามกลางการแข่งขันในระบบตลาดเสรี : กรณีศึกษางานหัตถกรรมทอผ้ากาบบัว ตำบลนาเรือง อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี

by พระสมัคร สิริปญฺโญ (วงศ์ประเทศ)

ชื่อเรื่อง:

การดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นท่ามกลางการแข่งขันในระบบตลาดเสรี : กรณีศึกษางานหัตถกรรมทอผ้ากาบบัว ตำบลนาเรือง อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Resilience of local wisdom amidst competition in the free market system: a case study of Kaab Bua women weaving group in Naa Reuang sub-district, Na Yea District, Ubon Ratchathani Province

ผู้แต่ง:

พระสมัคร สิริปญฺโญ (วงศ์ประเทศ)

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

สุวิชา เป้าอารีย์

ชื่อปริญญา:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

สาขาวิชา:

การบริหารการพัฒนาสังคม

คณะ/หน่วยงาน:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2558

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภูมิหลังความเป็นมาและองค์ประกอบของภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรมทอผ้ากาบบัว 2) ศึกษาการดำรงอยู่และเงื่อนไขการดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรมทอผ้ากาบบัวท่ามกลางการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจแบบตลาดในปัจจุบัน 3) วิเคราะห์แนวโน้มในอนาคตของการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรมทอผ้ากาบบัว
ผลการศึกษาพบว่า
1) งานหัตถกรรมทอผ้ากาบบัวเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้าที่มีมายาวนาน ซึ่งพบในหลายชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี การทอผ้าในอดีตใช้ฝ้ายและเส้นไหมที่คนในท้องถิ่นผลิตขึ้นมาเอง และทำการทอด้วยกี่พื้นเมืองที่ชาวบ้านผลิตส่วนประกอบด้วยตนเอง ด้วยลักษณะของผ้าทอที่มีลวดลายละเอียดสวยงาม คล้ายกับลายของกาบบัว จึงได้รับการขนานนามในเวลาต่อมาว่า “ผ้ากาบบัว” ในอดีตคนในท้องถิ่นใช้ผ้ากาบบัวทั้งสำหรับสวมใส่ในชีวิตประจำวัน ในงานประเพณีต่างๆ และมอบเป็นของขวัญพิเศษให้กับแขกผู้มาเยี่ยมเยียน
2) การดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรมทอผ้ากาบบัวท่ามกลางแข่งขันในระบบเศรษฐกิจแบบตลาด เกี่ยวข้องกับความพยายามในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากผ้าทอในวิถีชีวิต ควบคู่ไปกับการปรับตัวในกระบวนการผลิตและวัตถุประสงค์ของการผลิตเป็นสำคัญ อีกทั้งยังมีการรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มสตรีทอผ้าเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นให้มีการผลิตอย่างต่อเนื่องในปริมาณมากพอที่จะจำหน่ายเป็นรายได้เสริม นอกจากนี้ ยังมีความพยายามการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้าสู่รุ่นหลังทั้งระดับครัวเรือนและชุมชน
3) แนวโน้มการพัฒนาของงานหัตถกรรมทอผ้ากาบบัวในอนาคต มีความเกี่ยวข้องกับทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายในที่สำคัญ ได้แก่ ผู้ผลิต แหล่งวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทอ รายได้จากการทอผ้า ความนิยมในการใช้ผ้ากาบบัวในชุมชน ความสนใจงานหัตถกรรมทอผ้ากาบบัวของคนรุ่นหลัง สำหรับปัจจัยภายนอกที่สำคัญ ได้แก่ ความต้องการสินค้าของผู้บริโภคภายนอกชุมชนที่เพิ่มขึ้น นโยบายของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และการสนับสนุนของภาคเอกชน
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้ 1) สถาบันการศึกษาควรส่งเสริมการจัดทำหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้ากาบบัว เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้อย่างเป็ นระบบขึ้นอันจะช่วยให้การสืบทอดภูมิปัญญานี้เป็นไปอย่างมีรูปธรรมยิ่งขึ้น 2) หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนให้มีการจัดการความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น และ 3) หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรหาแนวทางในการปรับราคาผ้ากาบบัวของชาวบ้านให้สูงขึ้น เพื่อยกระดับรายได้ของผู้ทอให้ดีขึ้น

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

หัวเรื่องมาตรฐาน:

ภูมิปัญญาชาวบ้าน
หัตถกรรม -- ไทย

คำสำคัญ:

ผ้ากาบบัว

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

163 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ผู้ครอบครองสิทธิ์:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4452
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
b190498.pdf ( 3,661.61 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [522]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×