• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบลงทะเบียน

แนวทางการสร้างความยั่งยืนในการผลิตก๊าซชีวภาพระดับชุมชนและครัวเรือน กรณีศึกษา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

by รสสุคนธ์ ชัยแก้ว

ชื่อเรื่อง:

แนวทางการสร้างความยั่งยืนในการผลิตก๊าซชีวภาพระดับชุมชนและครัวเรือน กรณีศึกษา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Guidelines for sustainabilith of biogas production at community and household level : case study of Amphur Banpong

ผู้แต่ง:

รสสุคนธ์ ชัยแก้ว

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

บุญจง ขาวสิทธิวงษ์

ชื่อปริญญา:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

สาขาวิชา:

การจัดการสิ่งแวดล้อม

คณะ/หน่วยงาน:

คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2558

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความยั่งยืน ปัญหาและอุปสรรคในการผลิตก๊าซชีวภาพในระดับชุมชนและครัวเรือนในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ประเมินการผลิตก๊าซชีวภาพในพื้นที่ และเสนอแนวทางการสร้างความยั่งยืนในการผลิตก๊าซชีวภาพทั้งในระดับชุมชนและครัวเรือนของพื้นที่ดังกล่าว ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง รวม 26 ราย และทำการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิร่วมด้วย นำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลและวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีการประเมินแบบ CIPP-I Model ได้พิจารณาผลการดำเนินการทั้ง 5 องค์ประกอบและ 16 ตัวบ่งชี้ ผลการศึกษาพบว่าความยั่งยืนในการผลิตก๊าซชีวภาพในระดับชุมชนและครัวเรือนในบางพื้นที่ศึกษายังไม่มีความต่อเนื่องของการผลิตและการใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพ มีบางครัวเรือนหันกลับมาใช้ก๊าซหุงต้ม (LPG) ทำให้ระบบผลิตก๊าซชีวภาพถูกทิ้งร้าง ปัญหาและอุปสรรคที่พบ คือ ประชาชนมีส่วนร่วมเพียงบางส่วน และขาดงบประมาณในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานในระดับท้องถิ่น ผู้บริหารองค์กร และผู้นำชุมชนบางส่วนในพื้นที่ยังไม่ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนอย่างแท้จริง ประชาชนในพื้นที่ศึกษามีความนิยมในการผลิตก๊าซชีวภาพในระดับครัวเรือนมากกว่าระดับชุมชน การใช้ประโยชน์ในการผลิตก๊าซชีวภาพยังไม่ทั่วถึง และไม่สามารถใช้ประโยชน์อื่นๆได้นอกจากหุงต้มในครัวเรือน การศึกษานี้ได้เสนอแนวทางการสร้างความยั่งยืนในการผลิตก๊าซชีวภาพระดับชุมชนและครัวเรือนในพื้นที่ศึกษาไว้หลายประการ

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

หัวเรื่องมาตรฐาน:

ก๊าซชีวภาพ -- ไทย

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

164 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ผู้ครอบครองสิทธิ์:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4454
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
b190473.pdf ( 6,101.74 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSEDA: Theses [37]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×