กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในการเลือกยุทธวิธีการดำรงชีพสู่ความยั่งยืน : ศึกษากรณีของชุมชนบ้านใจดี ตำบลหนองขาม อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี
Files
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
193 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b190484
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ณัฐฑิณี รตานนท์ (2015). กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในการเลือกยุทธวิธีการดำรงชีพสู่ความยั่งยืน : ศึกษากรณีของชุมชนบ้านใจดี ตำบลหนองขาม อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4455.
Title
กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในการเลือกยุทธวิธีการดำรงชีพสู่ความยั่งยืน : ศึกษากรณีของชุมชนบ้านใจดี ตำบลหนองขาม อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี
Alternative Title(s)
Community learning process in selecting livelihood strategy towards sustainability : a case Study of Ban Jaidee Community, Nong-Khaam Sub-district, Nong-Ya-Sai District, Suphanburi Province
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทภายในและภายนอกชุมชน รวมทั้งความเปราะบางที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีพของคนในชุมชน กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในการเลือกยุทธวิธีการดำรงชีพ และผลของกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในการเลือกยุทธวิธีการดำรงชีพสู่ความยั่งยืน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยตามแนวทางเชิงคุณภาพ ในลักษณะของกรณีศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาเฉพาะกรณีของชุมชนบ้านใจดี ตำบลหนองขาม อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี การรวบรวมข้อมูลทำโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants Interview) คือ แกนนำและสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่มีประสบการณ์สูง จำนวน12 ครัวเรือน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา จำนวน 2 คน ควบคู่กับการสังเกตโดยตรงเกี่ยวกับบริบทของชุมชนและความเคลื่อนไหวต่างๆ ในการทำกิจกรรม โดยได้ทำการรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2555 ถึง 31 มกราคม พ.ศ. 2557 การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การจำแนกประเภทของข้อมูล การสังเคราะห์ข้อมูล และการตีความแล้ว นำเสนอเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า ลักษณะของชุมชนมีสภาพเป็นชุมชนชนบท มีความหนาแน่นของประชากรต่ำ การตั้งบ้านเรือนกระจัดกระจาย ส่วนใหญ่ของสมาชิกชุมชนเป็นผู้อพยพหนีภัยแล้งจากจังหวัดบุรีรัมย์มาตั้งถิ่นฐานใหม่เพื่อหนีปัญหาความยากจน และมีการนำวิถีการดำรงชีพที่คุ้นเคยจากถิ่นเดิม คือ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและการทอผ้า มาปฏิบัติแล้วพัฒนาขึ้นมาจนสามารถรวมเป็นกลุ่มพัฒนาอาชีพได้ก้าวหน้าพอสมควร แต่ต่อมา กลับประสบปัญหาด้านการผลิต อันมาจากความเปราะบางบางประการ ได้แก่ ความอ่อนไหวของหนอนไหม ความแห้งแล้งของพื้นที่ การขาดเงินทุน การขาดความรู้ที่ดีในการผลิต อีกทั้งยังมีการแทรกแซงจากภายนอกที่เป็นภาคเอกชน จึงทำให้รวมตัวกันไม่ติด ประกอบกับได้เกิดโรคระบาดของหม่อนและไหม อันส่งผลให้สมาชิกหลายคนตัดสินเลิกปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและการทอผ้า แต่ก็ยังมีสมาชิกบางส่วนที่อดทน เรียนรู้ และพัฒนาอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมต่อจนประสบความสำเร็จในปัจจุบันและสามารถนำไปสู่การดำรงชีพต่อไปได้
ลักษณะการเรียนรู้ของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในชุมชนใจดีเป็นการเรียนรู้โดยลงมือทำจริง ควบคู่กับการเรียนรู้โดยมีตัวแบบ ผ่านการสังเกตและเรียนรู้จากผู้อาวุโสที่มีประสบการณ์ มีการลองผิดลองถูกด้วยตนเอง แล้วนำมาปรับวิธีการให้เข้ากับยุคสมัย ด้วยการยอมรับสายพันธุ์ไหมและวิธีการเลี้ยงตามหลักวิชาการ ซึ่งได้รับการแนะนำทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและบริษัทเอกชน จนประสบความสาเร็จเป็นที่ยอมรับ กลายเป็นตัวแบบให้คนยุคใหม่ ให้คนในชุมชนเห็นเป็นแบบอย่าง และประสบความสำเร็จหลายครัวเรือน ในขณะเดียวกัน มีบางครัวเรือนที่เลิกทำอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมไปทาอาชีพอื่น และบางส่วนที่ทำกิจกรรมการดำรงชีพที่หลากหลาย เพื่อลดความเสี่ยงในการดำรงชีพ
ผลการวิจัย พบว่า ลักษณะของชุมชนมีสภาพเป็นชุมชนชนบท มีความหนาแน่นของประชากรต่ำ การตั้งบ้านเรือนกระจัดกระจาย ส่วนใหญ่ของสมาชิกชุมชนเป็นผู้อพยพหนีภัยแล้งจากจังหวัดบุรีรัมย์มาตั้งถิ่นฐานใหม่เพื่อหนีปัญหาความยากจน และมีการนำวิถีการดำรงชีพที่คุ้นเคยจากถิ่นเดิม คือ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและการทอผ้า มาปฏิบัติแล้วพัฒนาขึ้นมาจนสามารถรวมเป็นกลุ่มพัฒนาอาชีพได้ก้าวหน้าพอสมควร แต่ต่อมา กลับประสบปัญหาด้านการผลิต อันมาจากความเปราะบางบางประการ ได้แก่ ความอ่อนไหวของหนอนไหม ความแห้งแล้งของพื้นที่ การขาดเงินทุน การขาดความรู้ที่ดีในการผลิต อีกทั้งยังมีการแทรกแซงจากภายนอกที่เป็นภาคเอกชน จึงทำให้รวมตัวกันไม่ติด ประกอบกับได้เกิดโรคระบาดของหม่อนและไหม อันส่งผลให้สมาชิกหลายคนตัดสินเลิกปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและการทอผ้า แต่ก็ยังมีสมาชิกบางส่วนที่อดทน เรียนรู้ และพัฒนาอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมต่อจนประสบความสำเร็จในปัจจุบันและสามารถนำไปสู่การดำรงชีพต่อไปได้
ลักษณะการเรียนรู้ของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในชุมชนใจดีเป็นการเรียนรู้โดยลงมือทำจริง ควบคู่กับการเรียนรู้โดยมีตัวแบบ ผ่านการสังเกตและเรียนรู้จากผู้อาวุโสที่มีประสบการณ์ มีการลองผิดลองถูกด้วยตนเอง แล้วนำมาปรับวิธีการให้เข้ากับยุคสมัย ด้วยการยอมรับสายพันธุ์ไหมและวิธีการเลี้ยงตามหลักวิชาการ ซึ่งได้รับการแนะนำทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและบริษัทเอกชน จนประสบความสาเร็จเป็นที่ยอมรับ กลายเป็นตัวแบบให้คนยุคใหม่ ให้คนในชุมชนเห็นเป็นแบบอย่าง และประสบความสำเร็จหลายครัวเรือน ในขณะเดียวกัน มีบางครัวเรือนที่เลิกทำอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมไปทาอาชีพอื่น และบางส่วนที่ทำกิจกรรมการดำรงชีพที่หลากหลาย เพื่อลดความเสี่ยงในการดำรงชีพ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (พัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557