• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Dissertations
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Dissertations
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัจจัยทางจิตสังคมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่นจังหวัดลพบุรี

by ญานันท์ ใจอาจหาญ

Title:

ปัจจัยทางจิตสังคมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่นจังหวัดลพบุรี

Other title(s):

Psycho-social factors contributing to teenage pregnancy behavior in Lop Buri Province

Author(s):

ญานันท์ ใจอาจหาญ

Advisor:

สุรสิทธิ์ วชิรขจร

Degree name:

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

Degree level:

Doctoral

Degree discipline:

พัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2014

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

งานวิจัยชิ้นนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะแสวงหาปัจจัยเชิงเหตุของพฤติกรรมการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่น ทั้งปัจจัยภายในของตัวบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับจิตลักษณะที่สำคัญ และสาเหตุภายนอกที่เกี่ยวข้องกับบุคคลรอบข้าง รวมทั้งการแสวงหากลุ่มเสี่ยงที่มีพฤติกรรมการตั้งครรภ์ พร้อมกับเสนอแนะแนวทางการพัฒนาผ่านปัจจัยปกป้องที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่น ต่อไป
การวิจัยเรื่องนี้ เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบ ซึ่งมีกรอบแนวคิดพื้นฐานในการวิจัยมาจากรูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม ตลอดจนทฤษฎี และหลักการที่สำคัญทั้ง ในประเทศและต่างประเทศ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นมารดาวัยรุ่นที่มีอายุต่ากว่า 20 ปี จำนวน 428 คน และวัยรุ่นหญิงที่เป็นกลุ่มเสี่ยง จำนวน 454 คน รวมทั้งสิ้น 882 คน ผลการวิจัยที่สำคัญมี 7 ประการ ดังนี้ 1) มารดาวัยรุ่น ที่มีลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนมาก ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนมาก มีทัศนคติต่อพฤติกรรมการตั้งครรภ์ดีมาก เป็นผู้ที่มีการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์มากกว่ามารดาวัยรุ่นประเภทตรงข้าม พบในกลุ่มที่มีอายุมากจำนวน 202 คน คิดเป็นอัตรา 1:2 กลุ่มที่เป็นลูกคนเดียวจำนวน 81 คน คิดเป็นอัตรา 1: 5 และกลุ่มตั้งใจที่จะตั้งครรภ์ จำนวน 168 คน คิดเป็นอัตรา 1: 2.5 2) มารดาวัยรุ่นที่ได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนอย่างเหมาะสมมาก มีความเชื่ออำนาจในตนสูง และมีความพร้อมในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ดีมาก เป็นผู้ที่มีทัศนคติต่อพฤติกรรมการตั้งครรภ์มากกว่ามารดาวัยรุ่นประเภทตรงข้าม พบในกลุ่มตั้งครรภ์จากความรักจำนวน 121 คน คิดเป็นอัตรา 1: 3.5 และกลุ่มที่ไม่มีเพื่อนสนิทมีประวัติการตั้งครรภ์จำนวน 134 คนคิดเป็นอัตรา 1: 3.5 3) มารดาวัยรุ่นที่มีสุขภาพจิตดีมาก มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงและมีสัมพันธภาพในครอบครัวดีมาก เป็นผู้ที่มีการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์มากกว่ามารดาวัยรุ่นประเภทตรงข้าม พบในกลุ่มที่มีพี่น้องหนึ่งคน จำนวน 165 คน คิดเป็นอัตรา 1: 2.5 และกลุ่มตั้งครรภ์จากไม่ได้ป้องกันการคุมกำเนิด จำนวน 167 คน คิดเป็นอัตรา 1: 2.5 4) จิตลักษณะเดิมและสถานการณ์ ร่วมกับตัวทำนายกลุ่มจิตลักษณะตามสถานการณ์ ทำนาย 1) ทัศนคติต่อพฤติกรรมการตั้งครรภ์สูงสุดในกลุ่มมารดาวัยรุ่น และกลุ่มวัยรุ่นหญิงที่มีอาชีพอื่นๆ 47.6% จำนวน 326 คน คิดเป็นอัตรา 1: 2.7 และ 2) ความพร้อมในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ ทำนายได้สูงสุดในกลุ่มมารดาวัยรุ่นและกลุ่มวัยรุ่นหญิงที่ไม่ได้รับค่าใช้จ่ายจากพ่อแม่ 52.6 % จำนวน 249 คน คิดเป็นอัตรา 1: 3.5 5) จิตลักษณะเดิมและสถานการณ์ กลุ่มจิตลักษณะตามสถานการณ์ร่วมกับตัวทำนายกลุ่มจิตลักษณะตามสถานการณ์ สำมำรถทำนายการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ ได้ 54.6 % โดยมีตัวทำนายที่สำคัญ คือ ความพร้อมในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ การได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนอย่างเหมาะสม และทำนายได้สูงสุดในกลุ่มมารดาวัยรุ่นและกลุ่มวัยรุ่นหญิงที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ ได้ 63.8 % จำนวน 259 คน คิดเป็นอัตรา1: 3.4 6) จำ แนกพฤติกรรมของมารดาวัยรุ่นและกลุ่มวัยรุ่นหญิง ในปริมาณที่แตกต่างกันได้ถูกต้อง 65.3% และ 7) มารดาวัยรุ่นและกลุ่มวัยรุ่นหญิงที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเร่งด่วนที่ควรพัฒนาเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ได้แก่ 1) กลุ่มที่มีการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์น้อยประกอบด้วย กลุ่มที่มีพี่น้อง กลุ่มที่ไม่ได้ป้องกันคุมกำเนิด และกลุ่มที่ตั้งครรภ์จากความผิดพลาดในการคุมกำเนิด โดยมีปัจจัยปกป้องที่สำคัญ คือ ความพร้อมในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ การได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนอย่างเหมาะสม การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน และ 2) มารดาวัยรุ่นและกลุ่มวัยรุ่นหญิงที่มีพฤติกรรมการคุมกำเนิดขณะมีเพศสัมพันธ์ ประกอบด้วย กลุ่มที่มีพี่น้อง และกลุ่มที่พักอาศัยบ้านคนอื่น โดยมีปัจจัยปกป้องที่สำคัญ คือ การได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนอย่างเหมาะสม สัมพันธภาพในครอบครัวความพร้อมในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ และความเชื่ออำนาจในตน
จากผลการวิจัย ทำให้ได้ข้อเสนอแนะเพื่อต่อยอดการวิจัยได้ ดังนี้ 1) สามารถนำผลการวิจัยเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างชุดฝึกอบรม เพื่อพัฒนาให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ที่เหมาะสม 2) สร้างฐานข้อมูล เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และ 3) เสริมผลการศึกษาที่ได้จากการวิจัยด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพในกลุ่มตัวอย่างที่สำคัญเพื่อให้สามารถตอบคำถามการวิจัย ให้มีความครอบคลุมและละเอียดมากยิ่งขึ้น

Description:

วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (พัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557

Subject(s):

ครรภ์ในวัยรุ่น

Resource type:

ดุษฎีนิพนธ์

Extent:

356 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4459
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b190486.pdf ( 5,670.60 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Dissertations [59]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×