การมีส่วนร่วมของประชาชนในเครือข่ายยุติธรรมชุมชน : กรณีศึกษายุติธรรมชุมชนตำบลบ้านฆ้อง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
Files
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
119 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b190500
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ธนิดา หิรัญคำ (2015). การมีส่วนร่วมของประชาชนในเครือข่ายยุติธรรมชุมชน : กรณีศึกษายุติธรรมชุมชนตำบลบ้านฆ้อง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4460.
Title
การมีส่วนร่วมของประชาชนในเครือข่ายยุติธรรมชุมชน : กรณีศึกษายุติธรรมชุมชนตำบลบ้านฆ้อง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
Alternative Title(s)
People's participation in the community justice network : a case study of Tambon Bannkhong in Potharam District of Ratchaburi Province
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสาเหตุการมีส่วนร่วมของประชาชนในเครือข่ายยุติธรรชุมชน 2) ศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในเครือข่ายยุติธรรมชุมชน 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการมีส่วนร่วมของประชาชนในเครือข่ายยุติธรรมชุมชน 4) ค้นหาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เพื่อปรับปรุงการมีส่วนร่วมของประชาชนในเครือข่ายยุติธรรมชุมชน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน ผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ รวมจำนวน 14 คน โดยทำการศึกษาจาก 1) คณะกรรมการประจำศูนย์ยุติธรรมชุมชน 2) เจ้าหน้าที่จากกรมคุมประพฤติจังหวัดราชบุรี และ 3) ประชาชนผู้เข้าร่วมเครือข่ายยุติธรรมชุมชน ตำบลบ้านฆ้อง โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นหลัก ใช้วิธีสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นวิธีการหลักในการรวบรวมข้อมูลโดยมีแนวประเด็นคำถามสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อให้ได้ข้อมูลตามขอบเขตแนวทางศึกษาเบื้องต้น และใช้การสนทนากลุ่ม
ผลการศึกษาพบว่า 1) สาเหตุการมีส่วนร่วมของประชาชนในเครือข่ายยุติธรรมชุมชน ประกอบด้วย (1) การรับรู้และตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน เนื่องจากชุมชนได้ประสบปัญหาสังคม และความขัดแย้งต่างๆ ซึ่งปัญหาได้ส่งผลกระทบต่อสมาชิกในชุมชนเอง (2) การระดมความร่วมมือและถูกชักชวนจากผู้นำชุมชนเนื่องจากการดำเนินกิจกรรมด้านงานยุติธรรมต้องอาศัยความร่วมมือจากสมาชิกในชุมชน และผู้นำชุมชนในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น (3) การรับรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ต่อชุมชน โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันและให้ความช่วยเหลือ 2) กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในเครือข่ายยุติธรรมชุมชน ได้แก่ (1) การมีส่วนร่วมวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของปัญหาการที่ผู้นำชุมชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและได้ชักชวนสมาชิกในชุมชนให้รับรู้และเข้าใจเหมือนกับตนด้วย (2) การมีส่วนร่วมในการวางแผน เมื่อประชาชนในชุมชนมีความตระหนักถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหาแล้ว จึงหารือกันเพื่อหาแนวทางและร่วมกันวางแผนในการรับมือและจัดการกับ ปัญหาที่เกิดขึ้น (3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินการของเหล่าคณะกรรมการแนวร่วมเยาวชนและสมาชิกในชุมชน ทำให้ประสบความสำเร็จ (4) การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล การประเมินผลการปฏิบัติงานโดยตัวของคณะกรรมการเองและจากตัวแทนสมาชิกในหมู่บ้าน 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการมีส่วนร่วมของประชาชนในเครือข่ายยุติธรรมชุมชนมีดังนี้ (1) ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐโดยการกำหนดโยบายสนับสนุนกิจกรรมการสร้างช่องทางการเข้ามามีส่วนร่วม และการติดตามผล (2) ด้านผู้นำจะต้องเป็นผู้มีความรู้มีประสบการณ์ มีความเป็นผู้นำมีความน่าเชื่อถือ มีศักยภาพสามารถรวมกลุ่มชาวบ้านเพื่อหาหนทางแก้ไขปัญหา มีความจริงใจและมีความเป็นผู้นำในท้องถิ่น (3) ด้านประชาชน จะต้องมีความรู้ความใจในปัญหาที่เกิดขึ้นภายในชุมชนของตนเป็นฝ่ายตดั สินใจเริ่มกิจกรรม และ(4) ด้านแรงจูงใจ จะได้รับประโยชน์จากการเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาโครงการพัฒนาต้องสนองต่อความต้องการของประชาชน
ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นพบว่า (1) ปัญหาการดำเนินงานของการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนยัง ไม่มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทำงานที่แท้จ ริงของศูนย์ยุติธรรมชุมชน (2) ปัญหาด้านสถานที่ตั้งของศูนย์ยุติธรรมชุมชน การย้ายที่ตั้งทำให้เกิดปัญหาการเมืองขึ้น เนื่องมาจากการแข่งขันอำนาจกันระหว่างกัน การเมืองในท้องที่ซึ่งมี 2 ฝ่ายซึ่งส่งผลต่อระบบการดำเนินงาน และ (3) อุปสรรคด้านการที่กันการเมืองผู้มีอิทธิพลเข้ามาแทรกแซงการดำเนินงานของยุติธรรมชุมชน ผู้ศึกษาขอเสนอแนะแนวทางการแก้ไขและพัฒนา ดังนี้ 1) ข้อ เสนอแนะเชิงนโยบาย (1) ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ ในการประชาสัมพันธ์ถ่ายทอดความรู้สู่ประชาชนในเรื่องยุติธรรมชุมชน และให้ความสำคัญกับการบูรณาการความรู้ระหว่างชุมชนกับภาครัฐ (2) กระทรวงยุติธรรม ควรมีนโยบายแยกสถานที่ตั้งของศูนย์ยุติธรรมชุมชนออกมาเป็นเอกเทศน์เพื่อความไม่สับสนกับฝ่ายการเมืองท้องถิ่น (3) กระทรวงยุติธรรมควรมีนโยบายส่งเสริมทัศนคติของอาสาสมัครให้มีความตระหนักถึงผลเสียของการเข้ามาแทรกแซงการดำเนินงานของเครือข่ายยุติธรรมชุมชน และส่งสริมให้ความรู้ในการการสร้างเครือข่ายกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ (1) ควรให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานภาครัฐและชุมชนอย่างสม่ำเสมอ (2) ต้องมีการประชุมหรือกันระหว่างสมาชิกในเครือข่ายเพื่อหาที่ตั้งที่เหมาะสมในการตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชน (3) กระบวนการปฏิบัติงาน ควรมีความรัดกุมและมีแผนการในการดำเนินงานอย่างโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน
ผลการศึกษาพบว่า 1) สาเหตุการมีส่วนร่วมของประชาชนในเครือข่ายยุติธรรมชุมชน ประกอบด้วย (1) การรับรู้และตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน เนื่องจากชุมชนได้ประสบปัญหาสังคม และความขัดแย้งต่างๆ ซึ่งปัญหาได้ส่งผลกระทบต่อสมาชิกในชุมชนเอง (2) การระดมความร่วมมือและถูกชักชวนจากผู้นำชุมชนเนื่องจากการดำเนินกิจกรรมด้านงานยุติธรรมต้องอาศัยความร่วมมือจากสมาชิกในชุมชน และผู้นำชุมชนในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น (3) การรับรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ต่อชุมชน โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันและให้ความช่วยเหลือ 2) กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในเครือข่ายยุติธรรมชุมชน ได้แก่ (1) การมีส่วนร่วมวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของปัญหาการที่ผู้นำชุมชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและได้ชักชวนสมาชิกในชุมชนให้รับรู้และเข้าใจเหมือนกับตนด้วย (2) การมีส่วนร่วมในการวางแผน เมื่อประชาชนในชุมชนมีความตระหนักถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหาแล้ว จึงหารือกันเพื่อหาแนวทางและร่วมกันวางแผนในการรับมือและจัดการกับ ปัญหาที่เกิดขึ้น (3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินการของเหล่าคณะกรรมการแนวร่วมเยาวชนและสมาชิกในชุมชน ทำให้ประสบความสำเร็จ (4) การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล การประเมินผลการปฏิบัติงานโดยตัวของคณะกรรมการเองและจากตัวแทนสมาชิกในหมู่บ้าน 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการมีส่วนร่วมของประชาชนในเครือข่ายยุติธรรมชุมชนมีดังนี้ (1) ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐโดยการกำหนดโยบายสนับสนุนกิจกรรมการสร้างช่องทางการเข้ามามีส่วนร่วม และการติดตามผล (2) ด้านผู้นำจะต้องเป็นผู้มีความรู้มีประสบการณ์ มีความเป็นผู้นำมีความน่าเชื่อถือ มีศักยภาพสามารถรวมกลุ่มชาวบ้านเพื่อหาหนทางแก้ไขปัญหา มีความจริงใจและมีความเป็นผู้นำในท้องถิ่น (3) ด้านประชาชน จะต้องมีความรู้ความใจในปัญหาที่เกิดขึ้นภายในชุมชนของตนเป็นฝ่ายตดั สินใจเริ่มกิจกรรม และ(4) ด้านแรงจูงใจ จะได้รับประโยชน์จากการเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาโครงการพัฒนาต้องสนองต่อความต้องการของประชาชน
ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นพบว่า (1) ปัญหาการดำเนินงานของการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนยัง ไม่มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทำงานที่แท้จ ริงของศูนย์ยุติธรรมชุมชน (2) ปัญหาด้านสถานที่ตั้งของศูนย์ยุติธรรมชุมชน การย้ายที่ตั้งทำให้เกิดปัญหาการเมืองขึ้น เนื่องมาจากการแข่งขันอำนาจกันระหว่างกัน การเมืองในท้องที่ซึ่งมี 2 ฝ่ายซึ่งส่งผลต่อระบบการดำเนินงาน และ (3) อุปสรรคด้านการที่กันการเมืองผู้มีอิทธิพลเข้ามาแทรกแซงการดำเนินงานของยุติธรรมชุมชน ผู้ศึกษาขอเสนอแนะแนวทางการแก้ไขและพัฒนา ดังนี้ 1) ข้อ เสนอแนะเชิงนโยบาย (1) ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ ในการประชาสัมพันธ์ถ่ายทอดความรู้สู่ประชาชนในเรื่องยุติธรรมชุมชน และให้ความสำคัญกับการบูรณาการความรู้ระหว่างชุมชนกับภาครัฐ (2) กระทรวงยุติธรรม ควรมีนโยบายแยกสถานที่ตั้งของศูนย์ยุติธรรมชุมชนออกมาเป็นเอกเทศน์เพื่อความไม่สับสนกับฝ่ายการเมืองท้องถิ่น (3) กระทรวงยุติธรรมควรมีนโยบายส่งเสริมทัศนคติของอาสาสมัครให้มีความตระหนักถึงผลเสียของการเข้ามาแทรกแซงการดำเนินงานของเครือข่ายยุติธรรมชุมชน และส่งสริมให้ความรู้ในการการสร้างเครือข่ายกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ (1) ควรให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานภาครัฐและชุมชนอย่างสม่ำเสมอ (2) ต้องมีการประชุมหรือกันระหว่างสมาชิกในเครือข่ายเพื่อหาที่ตั้งที่เหมาะสมในการตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชน (3) กระบวนการปฏิบัติงาน ควรมีความรัดกุมและมีแผนการในการดำเนินงานอย่างโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558