แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการรถโดยสารไม่ประจำทางเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในจังหวัดภูเก็ต
by ทิพวรรณ บัวอินทร์
Title: | แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการรถโดยสารไม่ประจำทางเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในจังหวัดภูเก็ต |
Other title(s): | Guidelines for the service quality improvement development of coach service to support foreign tourists : a case of Phuket |
Author(s): | ทิพวรรณ บัวอินทร์ |
Advisor: | เกศรา สุกเพชร |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ |
Degree department: | คณะการจัดการการท่องเที่ยว |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2018 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินระดับความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่มีต่อคุณภาพการบริการรถโดยสารไม่ประจำทาง ในจังหวัดภูเก็ต 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่มีต่อคุณภาพการบริการรถโดยสารไม่ประจำทางในจังหวัดภูเก็ต 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการรถโดยสารไม่ประจำทางเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ในจังหวัดภูเก็ต การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต และใช้บริการรถโดยสารไม่ประจำทาง จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม โดยศึกษาและสร้างเครื่องมือการวิจัยตามแนวทฤษฎีการประเมินคุณภาพการให้บริการ ซึ่งประกอบไปด้วยมิติหลัก 5 ด้าน คือ ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ด้านการได้รับความเชื่อมั่นต่อบริการด้านการเข้าใจและเห็นใจต่อผู้รับบริการ และด้านลักษณะทางกายภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ 1) การแจกแจงหาความถี่ร้อยละ 2) การหาค่าเฉลี่ย 3) การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4) สถิติ t-test ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของสองกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน 5) สถิติ F-test (One -Way ANOVA) ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองกลุ่มขึ้นไป ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD 6) สถิติ Paired Sample t-test สำหรับค่าความแตกต่างหรือช่องว่างของคุณภาพการบริการ
ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวมีความคาดหวังด้านการเข้าใจและเห็นใจผู้รับบริการมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 กล่าวคือมีความคาดหวังในระดับมาก และนักท่องเที่ยวมีการรับรู้ด้านการเข้าใจและเห็นใจผู้รับบริการมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.87 กล่าวคือมีการรับรู้ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่ประกอบด้วยสัญชาติ ส่งผลต่อความคาดหวังของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อคุณภาพการบริการรถโดยสารไม่ประจำทางในจังหวัดภูเก็ต และปัจจัยส่วนบุคคลที่ประกอบด้วยรายได้ต่อเดือน ส่งผลต่อการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อคุณภาพการบริการรถโดยสารไม่ประจำทางในจังหวัดภูเก็ต เมื่อคำนวณหาค่าความต่างหรือช่องว่างของคุณภาพการบริการทั้ง 5 ด้าน พบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีความคาดหวังต่อคุณภาพการบริการมากกว่าการรับรู้ทุกด้าน โดยช่องว่างที่ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนามากที่สุด ได้แก่ ด้านการเข้าใจและเห็นใจผู้รับบริการ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
Subject(s): | คุณภาพการบริการ
ความคาดหวัง (จิตวิทยา) การรับรู้ ภูเก็ต -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว รถโดยสาร -- ไทย -- ภูเก็ต |
Keyword(s): | e-Thesis
ความคาดหวัง รถโดยสารไม่ประจำทาง |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 170 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4470 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|