อิทธิพลของพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลและส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
by ฐิตารีย์ กาลอม
Title: | อิทธิพลของพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลและส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล |
Other title(s): | The influences of information seeking behavior and marketing mix affecting decision making on the selection of private higher education institutions in Bangkok Metropolitan Region |
Author(s): | ฐิตารีย์ กาลอม |
Advisor: | ประทุม ฤกษ์กลาง |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม |
Degree department: | คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2018 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะประชากร พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 450 ราย ที่ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ มหาวิทยาลัย สถาบันและวิทยาลัย จากนั้นได้ประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for the Social Science) โดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นและใช้สถิติ t-Test, F-Test และ One-Way ANOVA ในการทดสอบสมมติฐานที่มีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 65.8) ศึกษาอยู่ในสถานศึกษาทั้ง 3 ประเภท คือ มหาวิทยาลัย สถาบันและวิทยาลัย จำนวนเท่ากัน (ร้อยละ 33.3) มีการศึกษาอยู่ในคณะบริหารธุรกิจมากที่สุด (ร้อยละ 18.7) มีภูมิลำเนาอยู่ในต่างจังหวัดมากกว่ากรุงเทพมหานครและปริมณฑล (ร้อยละ 50.7) ระดับการศึกษาของผู้ปกครองส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 29.8) อาชีพของผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว (ร้อยละ 39.8) และมีรายได้ของครอบครัวต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ที่ 45,001-55,000 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 22.9) ผลการวิจัย พบว่า
1. ลักษณะประชากรของกลุ่มตัวอย่างในด้านคณะและระดับการศึกษาของผู้ปกครอง ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สื่อหรือช่องทางในการแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
2. ลักษณะประชากรของกลุ่มตัวอย่างในด้านระดับการศึกษาของผู้ปกครอง ส่งผลต่อเนื้อหาที่ใช้ในการแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
3. ลักษณะประชากรของกลุ่มตัวอย่างในด้านเพศ คณะและอาชีพของผู้ปกครองส่งผลต่อการประเมินปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
4. จากผลการทดสอบความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาเอกชนกับการประเมินปัจจัยของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสื่อที่ใช้ในการแสวงหาข้อมูล เนื้อหาที่ใช้ในการแสวงหาข้อมูล การประเมินปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและการประเมินปัจจัยด้านอื่น ๆ ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
Subject(s): | สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
การตลาด |
Keyword(s): | e-Thesis
การแสวงหาข้อมูล |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 215 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4474 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|