การเปรียบเทียบต้นทุนทางตรงและทางอ้อมระหว่างการรักษาด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) และวิธีล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างต่อเนื่อง (CAPD) ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย: การประเมินทางคณิตศาสตร์ประกันภัย
Files
Publisher
Issued Date
2018
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
140 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b204539
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ดวงกมล อมรลักษณ์ปรีชา (2018). การเปรียบเทียบต้นทุนทางตรงและทางอ้อมระหว่างการรักษาด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) และวิธีล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างต่อเนื่อง (CAPD) ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย: การประเมินทางคณิตศาสตร์ประกันภัย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4477.
Title
การเปรียบเทียบต้นทุนทางตรงและทางอ้อมระหว่างการรักษาด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) และวิธีล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างต่อเนื่อง (CAPD) ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย: การประเมินทางคณิตศาสตร์ประกันภัย
Alternative Title(s)
The comparison of direct and indirect costs between HD and CAPD treatments among ESRD patients: an actuarial valuation
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย เป็นโรคหนึ่งที่มีต้นทุนค่ารักษาพยาบาลสูงมาก นอกจากมีต้นทุนค่ารักษาพยาบาลแล้ว ยังมีต้นทุนอื่นๆ อีกมากมาย ประกอบกับผู้ป่วยมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การทราบจำนวนผู้ป่วย และจำนวนเงินที่ต้องเตรียมไว้สำหรับอนาคต ช่วยให้สามารถวางแผนและเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างตารางชีพระหว่างผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) และวิธีล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างต่อเนื่อง (CAPD) ฉายภาพประชากรผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย และเปรียบเทียบต้นทุนระหว่างผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) และวิธีล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างต่อเนื่อง (CAPD)
วิธีวิจัย แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ การสร้างแบบจำลองพยากรณ์อัตราความชุกรายอายุผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยการวิเคราะห์พหุระดับ การวิเคราะห์การรอดชีพผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยการสร้างตารางชีพ การฉายภาพประชากรผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยวิธีองค์ประกอบรุ่นอายุ และการเปรียบเทียบต้นทุนระหว่างผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) และวิธีล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างต่อเนื่อง (CAPD) ด้วยการประเมินทางคณิตศาสตร์ประกันภัย
การสร้างแบบจำลองพหุระดับพยากรณ์อัตราความชุกรายอายุผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยการวิเคราะห์พหุระดับ 2 ระดับ ตัวแปรพยากรณ์ระดับที่ 1 คือ จุดกึ่งกลางช่วงอายุ (age) ของผู้ป่วย และตัวแปรพยากรณ์ระดับที่ 2 คือ ปีที่สำรวจ (year) อัตราความชุกโรคเบาหวาน (DM) และอัตราความชุกโรคความดันโลหิตสูง (HP) ในปีก่อนหน้า แบบจำลองที่พัฒนาเป็นดังนี้
ln(prevalence) = [-0.55 + 0.10(cohort) + 0.17(DMj-1)] + 15.13(age) - 0.08(age2)
แบบจำลองนี้มีค่า R2 = 99.58% และค่าเฉลี่ยร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (MAPE) เท่ากับ 10.25%
การวิเคราะห์การรอดชีพผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยการสร้างตารางชีพ ผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) มีอัตรารอดชีพสูงกว่าวิธีล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างต่อเนื่อง (CAPD) ทุกกลุ่มอายุ
การฉายภาพประชากรผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยวิธีองค์ประกอบรุ่นอายุ พิจารณาองค์ประกอบ ผู้ป่วยเดิม ผู้ป่วยใหม่ ผู้ป่วยเปลี่ยนวิธีการรักษา และผู้ป่วยเสียชีวิต ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) มีจำนวนมากกว่าวิธีล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างต่อเนื่อง (CAPD)
การเปรียบเทียบต้นทุนระหว่างผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) และวิธีล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างต่อเนื่อง (CAPD) ด้วยการประเมินทางคณิตศาสตร์ประกันภัย แบ่งต้นทุนเป็น 3 ส่วน คือ ต้นทุนทางตรงที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ (DMC) ต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ (DNC) และต้นทุนทางอ้อม (IC) ผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) มีต้นทุนทางตรงที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ (DMC) และต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ (DNC) สูงกว่าวิธีล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างต่อเนื่อง (CAPD) แต่มีต้นทุนทางอ้อม (IC) ต่ำกว่า ผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) มีจำนวนมากกว่าและมีชีวิตอยู่รอดนานกว่า จึงมีต้นทุนรวมทั้งหมดสูงกว่า หากพิจารณาต้นทุนต่อหัวแล้ว ผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) กลับมีต้นทุนต่ำกว่า
การวิเคราะห์ความไว กำหนดสถานการณ์ขึ้นมา 2 สถานการณ์ คือ สถานการณ์ที่ผู้ป่วยรักษาด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) ทุกคน และสถานการณ์ที่ผู้ป่วยรักษาด้วยวิธีล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างต่อเนื่อง (CAPD) ทุกคน สถานการณ์ที่ผู้ป่วยรักษาด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) ทุกคน มีจำนวนผู้ป่วยมากกว่าวิธีล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างต่อเนื่อง (CAPD) เพราะวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) มีอัตรารอดชีพสูงกว่า สถานการณ์ที่ผู้ป่วยรักษาด้วยวิธีล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างต่อเนื่อง (CAPD) ทุกคน มีต้นทุนสูงกว่าสถานการณ์ที่ผู้ป่วยรักษาด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) ทุกคน ยกเว้นต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ (DNC) เมื่อรวมต้นทุนทั้ง 3 ส่วน สถานการณ์ที่ผู้ป่วยรักษาด้วยวิธีล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างต่อเนื่อง (CAPD) ทุกคน มีต้นทุนสูงที่สุด ส่วนสถานการณ์ที่ผู้ป่วยรักษาด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) ทุกคน และสถานการณ์ปกติ มีค่าใกล้เคียงกัน เมื่อพิจารณาต้นทุนต่อหัว สถานการณ์ที่ผู้ป่วยรักษาด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) ทุกคน มีต้นทุนต่ำที่สุด
ในปี พ.ศ. 2584 ประเทศไทยจะมีจำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกไตประมาณ 2.3 ล้านคน เป็นผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) ประมาณ 1.7 ล้านคน และวิธีล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างต่อเนื่อง (CAPD) ประมาณ 6 แสนคน ใช้ต้นทุนทั้งหมด ประมาณ 2,600,000 ล้านบาท ประกอบด้วย ต้นทุนสำหรับผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) ประมาณ 1,700,000 ล้านบาท และต้นทุนสำหรับผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างต่อเนื่อง (CAPD) ประมาณ 900,000 ล้านบาท
ผลการวิจัยนี้ นอกจากเป็นประโยชน์สำหรับการประเมินผลการรักษาแล้ว ยังสามารถนำไปวางแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ การเพิ่มจำนวนแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ การจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ ให้เพียงพอ และเป็นแนวทางในการจัดสรรงบประมาณสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายในอนาคตได้อีกด้วย
End Stage Renal Disease (ESRD) is one of many diseases which has high medical and other costs. In the same way a number of patients continuously increase. So knowing of patient amount and future cost helps us to efficiently prepare for incoming issues. The objectives of this study are to create life table between HD and CAPD patients, to project ESRD population and to compare HD and CAPD costs This study has 4 steps. First, development model to predict ESRD prevalence by using hierarchical linear model. Next, creating ESRD life table by using survival analysis. Then, projection ESRD population by using cohort-component method. Finally, comparison between HD with CAPD costs by using actuarial valuation. The two-level hierarchical linear modeling was used to predict ESRD prevalence. Level-one predictor is patient’s age group midpoint and level-two predictors are year, Diabetes Mellitus (DM) prevalence, and Hypertension (HP) prevalence. Final model is presented here. ln(prevalence) = [-0.55 + 0.10(cohort) + 0.17(DMj-1)] + 15.13(age) - 0.08(age2) This model R2 is 99.58% and MAPE is 10.25% The survival analysis of ESRD by creating life table. It shows that HD patients have more survival rate than CAPD patients in every age group. Cohort-component method considers old patients, new patients, switched mode patients and dead patients. A number of ESRD patients increase continuously. In the same way, a number of HD patients are much more than CAPD patients. The comparison between HD and CAPD separates costs to 3 parts which are direct medical cost, direct non-medical cost and indirect cost. The direct medical cost and direct non-medical cost of HD are more than the CAPD cost, but the indirect cost is less than the CAPD’s. As a number of HD patient is more than CAPD patients and the life time of HD patients are longer than CAPD’s life time, so the total cost of HD is more expensive than CAPD cost. Consider the total cost per capita, HD patients have the cheaper costs than CAPD patient. Sensitivity analysis, determine 2 situations are HD situation which all patients are treated by HD remedy and CAPD situation which all patients are treated by CAPD remedy. A number of patients in HD situation are more than CAPD situation because HD remedy has more survival rate than CAPD remedy. The total cost of CAPD situation is more than HD situation except direct non-medical cost. To combine 3 costs, CAPD situation has the highest cost, while HD situation and normal situation are the same. Consider the total cost per capita, HD situation has the cheapest costs of all the situations. In 2041, ESRD patient will be 2.3 million patients in Thailand divided 1.7 million of HD patients and 6 hundred thousand of CAPD patients. Total cost of ESRD, HD and CAPD is estimated at 2.6, 1.7 and 0.9 trillion Baht respectively. This study can assess treatment result. Moreover, it can be used for planning health service plan such as increase physicians, nurses and medical staff, purchasing medicines and medical supplies, including future cost of ESRD patients.
End Stage Renal Disease (ESRD) is one of many diseases which has high medical and other costs. In the same way a number of patients continuously increase. So knowing of patient amount and future cost helps us to efficiently prepare for incoming issues. The objectives of this study are to create life table between HD and CAPD patients, to project ESRD population and to compare HD and CAPD costs This study has 4 steps. First, development model to predict ESRD prevalence by using hierarchical linear model. Next, creating ESRD life table by using survival analysis. Then, projection ESRD population by using cohort-component method. Finally, comparison between HD with CAPD costs by using actuarial valuation. The two-level hierarchical linear modeling was used to predict ESRD prevalence. Level-one predictor is patient’s age group midpoint and level-two predictors are year, Diabetes Mellitus (DM) prevalence, and Hypertension (HP) prevalence. Final model is presented here. ln(prevalence) = [-0.55 + 0.10(cohort) + 0.17(DMj-1)] + 15.13(age) - 0.08(age2) This model R2 is 99.58% and MAPE is 10.25% The survival analysis of ESRD by creating life table. It shows that HD patients have more survival rate than CAPD patients in every age group. Cohort-component method considers old patients, new patients, switched mode patients and dead patients. A number of ESRD patients increase continuously. In the same way, a number of HD patients are much more than CAPD patients. The comparison between HD and CAPD separates costs to 3 parts which are direct medical cost, direct non-medical cost and indirect cost. The direct medical cost and direct non-medical cost of HD are more than the CAPD cost, but the indirect cost is less than the CAPD’s. As a number of HD patient is more than CAPD patients and the life time of HD patients are longer than CAPD’s life time, so the total cost of HD is more expensive than CAPD cost. Consider the total cost per capita, HD patients have the cheaper costs than CAPD patient. Sensitivity analysis, determine 2 situations are HD situation which all patients are treated by HD remedy and CAPD situation which all patients are treated by CAPD remedy. A number of patients in HD situation are more than CAPD situation because HD remedy has more survival rate than CAPD remedy. The total cost of CAPD situation is more than HD situation except direct non-medical cost. To combine 3 costs, CAPD situation has the highest cost, while HD situation and normal situation are the same. Consider the total cost per capita, HD situation has the cheapest costs of all the situations. In 2041, ESRD patient will be 2.3 million patients in Thailand divided 1.7 million of HD patients and 6 hundred thousand of CAPD patients. Total cost of ESRD, HD and CAPD is estimated at 2.6, 1.7 and 0.9 trillion Baht respectively. This study can assess treatment result. Moreover, it can be used for planning health service plan such as increase physicians, nurses and medical staff, purchasing medicines and medical supplies, including future cost of ESRD patients.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สถิติประยุกต์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561