• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมกำกับการประกอบธุรกิจคลินิกเสริมความงาม

by ธนโชติ แสนคำ

Title:

มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมกำกับการประกอบธุรกิจคลินิกเสริมความงาม

Other title(s):

Legislative measures on controlling beauty clinics business operation

Author(s):

ธนโชติ แสนคำ

Advisor:

พัชรวรรณ นุชประยูร

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2018

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจด้านสุขภาพและความงาม ปัญหาและอุปสรรคในการควบคุมธุรกิจคลินิกเสริมความงามในประเทศไทยและเพื่อวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจคลินิกเสริมความงาม รวมถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยมีขอบเขตการศึกษาคือ พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 เกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล การอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการสถานพยาบาล มาตรฐานการประกอบกิจการสถานพยาบาล บทลงโทษทางอาญาและทางปกครอง รวมถึงกฎกระทรวง ประกาศกระทรวงและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลหรือเกี่ยวกับธุรกิจคลินิกเสริมความงามของต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่าการควบคุมดูแลธุรกิจคลินิกเสริมความงาม มีปัญหาด้านการควบคุมกำกับการประกอบธุรกิจคลินิกเสริมความงามที่เน้นให้บริการเชิงพาณิชย์มากเกินไป จนละเลยเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยของผู้รับบริการและไม่มีมาตรฐานจรรยาบรรณควบคุมกำกับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ผู้รับอนุญาตมีหน้าที่ความรับผิดชอบควบคุมและดูแลบุคคลที่ไม่ใช่แพทย์ทำการประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล หรือกรณีผู้รับอนุญาตไม่จัดให้มีผู้ดำเนินการสถานพยาบาลจะไม่มีบทลงโทษทางปกครอง ผู้รับอนุญาตจึงขาดความเอาใจใส่ในการควบคุมดูแล จนเกิดกรณีให้บริการรักษาโดยบุคคลที่ไม่ใช่แพทย์ประกอบกับมาตรฐานของคลินิกเสริมความงามไม่มีหลักเกณฑ์มาตรฐานที่ชัดเจนทำให้คลินิกเสริมความงามไม่มีเกณฑ์มาตรฐานที่น่าเชี่อถือและถูกต้องตามหลักวิชาการ อีกทั้งไม่ได้กำหนดประเภทคลินิกเสริมความงามให้สอดคล้องกับลักษณะความเป็นจริง รวมถึงมีกรณีปัญหาการควบคุมผู้ให้บริการที่แพทย์ไม่สามารถควบคุมดูแลกิจการคลินิกเสริมความงามได้อย่างใกล้ชิดทำให้ขาดคุณสมบัติเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาล แต่ไม่มีบทลงโทษทั้งในทางอาญาและทางปกครองอย่างชัดเจน จึงเปิดช่องให้เกิดการใช้หรือวานผู้ช่วยผู้ประกอบวิชาชีพให้บริการทางวิชาชีพหรือใช้เครื่องมือทางการแพทย์กับผู้รับบริการโดยไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะคลินิกเสริมความงามที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้ามักพบว่าแพทย์ไม่อยู่ประจำการตลอดเวลาในคลินิก เจ้าหน้าที่ให้บริการและพนักงานขายซึ่งเป็นฝ่ายบริการและดูแลลูกค้ามักใช้ข้อมูลที่ไม่เป็นจริงหรือหลอกลวงประชาชนหรือดึงรั้งให้ซื้อสินค้าและบริการ อันเป็นการสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้แก่ประชาชนโดยทั่วไป นำไปสู่ปัญหาการคุ้มครองผู้รับบริการโดยการจำกัดสิทธิในบางประการและเกิดความเสียหายจากการรับบริการเสริมความงามที่เกี่ยวเนื่องกับการรับบริการทางการแพทย์ตามสิทธิผู้ป่วยและสิทธิผู้บริโภค รวมถึงสิทธิการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับคลินิกเสริมความงามที่ถูกต้องและครบถ้วน ผู้วิจัยเห็นว่าต้องปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 เกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบผู้รับอนุญาต พร้อมมีบทลงโทษทางปกครองและกำหนดโทษทางปกครองสำหรับผู้ดำเนินการสถานพยาบาลที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลสถานพยาบาลและกรณีขาดคุณสมบัติ และควรแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง รวมถึงให้จัดทำประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับมาตรฐานการให้บริการของคลินิกเสริมความงาม และการรักษาจรรยาบรรณการให้บริการของสถานพยาบาล ทั้งนี้ มีข้อเสนอแนะให้จัดทำ Application และตั้งรหัส Quick Response ให้สามารถตรวจสอบคลินิกเสริมความงามได้อย่างสะดวกรวดเร็วและเข้าถึงง่าย ตลอดจนส่งเสริมให้มีการประกอบธุรกิจประกันภัยด้านเสริมความงามเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์คู่กรณี พร้อมทั้งเสนอให้มีการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือและเยียวยาผู้เสียหายทางการแพทย์ จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือทางการแพทย์ และจัดตั้งศูนย์บริหารความเสี่ยงการให้บริการด้านเสริมความงามภายใต้กระทรวงสาธารณสุข
This study aims to investigate the concepts and theories of health care and beauty business operation, as well as the difficulties and obstacles in controlling the beauty clinic business operation in Thailand. It also aims to analyze the problems of the law relating to beauty clinic business operation and the ways for resolution. The study focuses on the Health Facility Act, B.E. 2541, relating to the permission to operate a medical facility, the permission to operate a sanatorium, the duties and responsibilities of the license holders and the health care facility operators, the standard operating procedures for health care facility, and the criminal and administrative penalties, the Ministerial Regulations, the Ministry Notifications, and other relating laws, as well as the law relating to health care facility or beauty clinic business of foreign countries. According to the findings, it is revealed that there are some problems in controlling beauty clinic businesses that emphasize exceedingly on the commercial operation aspect rather than the health and safety of the patients, and lack the practice of the codes of ethics. More specifically, there is not any law specifying the license holder to be responsible for monitoring a non-doctor to conduct professional practices in a health care facility, and there is not any administrative penalty for the license holders who do not provide any health care facility operator. These lead to the cases where the health care services were performed by non-doctors. Further, the fact that the standardization of beauty clinics has not been clearly regulated makes beauty clinics lack reliable and professionally accredited standards. Also, beauty clinics have not distinctively been categorized in corresponding to their actual features. Another problem in regulating the beauty clinic operators is the case where doctors cannot closely operate the business, making them incompetent health care facility business operator; however, there is neither a criminal nor administrative penalty explicitly stated. This is a gap where some assistants to professional practicing operator are asked to conduct a professional practice or to apply some medical devices to patients unethically. Particularly, it was found that most doctors in beauty clinics located in department stores rarely station in the clinics; service officers and customer assistants always misinform and deceive people and try to push them to buy their products and services, which are annoying behaviors for general people. This leads to the problem of consumer protection as consumer’ rights are restricted to some extent, the damages occurred from taking beauty services relating to medical services according to the rights of patient and customer, as well as the right to access the correct and adequate data relating to beauty clinics. The researcher considers it appropriate to amend the Health Facility Act, B.E. 2541, relating to the duties and responsibilities of the license holders and administrative penalty. The administrative penalty should be imposed for the health facility business operators responsible for administering the health care facilities and for those who are incompetent. The related Ministry Notifications should be amended, and the Notifications of the Ministry of Public Health relating to service standardization of beauty clinics and the codes of ethics in operating beauty clinic business should be conducted. In addition, the researcher suggests providing an Application with Quick Response code setting to allow an easy and fast access for inspecting beauty clinics. The beauty insurance business should also be promoted to protect the consumer’s rights. Furthermore, a Help and Relief Fund should be set for medical sufferers. Medical Aid Center and Beauty Service Risk Management Center should also be established under the control of the Ministry of Public Health.

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561

Subject(s):

สถานพยาบาล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การเสริมสวย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ

Keyword(s):

e-Thesis
มาตรฐานคลินิกเสริมความงาม
คลินิกเสริมความงาม

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

253 แผ่น
application/pdf

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4484
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b204608.pdf ( 1.27 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [208]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×