การรับรู้รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
by ณัฏฐาพัชญ์ มงคลธารณ์
Title: | การรับรู้รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน |
Other title(s): | The influence of perception about supervisor's leadership styles on employee engagement of supporting staff in Thai university : a case study of Kasetsart University Bangkhen Campus |
Author(s): | ณัฏฐาพัชญ์ มงคลธารณ์ |
Advisor: | ดาวิษา ศรีธัญรัตน์ |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ |
Degree department: | คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2018 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ศึกษาอิทธิพลของการรับรู้รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การ 2.) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาและความผูกพันต่อองค์การ 3.) ศึกษาระดับการรับรู้รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชา 4.) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การ และ 5.) เปรียบเทียบความผูกพันองค์การ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บังคับบัญชา ด้านเพศ อายุ และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานร่วมกัน โดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิจากกลุ่มตัวอย่างบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ จำนวนทั้งสิ้น 465 คน แบ่งออกเป็นผู้ปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานอธิการบดี จำนวน 131 คน และผู้ปฏิบัติงานในสังกัดคณะ จำนวน 334 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าความแปรปรวนทางเดียว สถิติค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษา พบว่า 1.) รูปแบบภาวะผู้นำที่สามารถทำนายความผูกพันต่อองค์การโดยรวม รวมไปถึงความผูกพันต่อองค์การด้านการยอมรับเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และค่านิยมขององค์การ และด้านความปรารถนาที่จะดำรงไว้ซึ่งคความเป็นสมาชิกภาพขององค์การได้นั้นมีเพียงรูปแบบภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในขณะที่ด้านความพยายามทุ่มเทอย่างเต็มที่เพื่อความสำเร็จขององค์การ พบว่า รูปแบบภาวะผู้นำที่สามารถทำนายได้นั้น ได้แก่ รูปแบบภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และรูปแบบภาวะผู้นำแบบปล่อยตามสบาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.) รูปแบบภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์การโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์การทั้งสามด้าน โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับด้านการยอมรับเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และค่านิยมขององค์การ และมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับด้านความพยายามทุ่มเทอย่างเต็มที่เพื่อความสำเร็จขององค์การ และด้านความปรารถนาที่จะดำรงไว้ซึ่งความเป็นสมาชิกภาพขององค์การในระดับต่ำ นอกจากนี้รูปแบบภาวะผู้นำเชิงแลกเปลี่ยนยังมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์การโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์การทั้งสามด้านอยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่รูปแบบภาวะผู้นำแบบปล่อยตามสบายไม่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การด้านความปรารถนาที่จะดำรงไว้ซึ่งความเป็นสมาชิกภาพขององค์การ หากแต่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์การโดยรวม รวมไปถึงความผูกพันต่อองค์การด้านการยอมรับเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และค่านิยมขององค์การและด้านความพยายามทุ่มเทอย่างเต็มที่เพื่อความสำเร็จขององค์การอยู่ในระดับต่ำ 3.) การรับรู้รูปแบบภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปของผู้บังคับบัญชาโดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการรับรู้รูปแบบภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปทั้งสี่ด้านอยู่ในระดับสูง โดยมีการรับรู้ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์มากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และด้านการกระตุ้นทางปัญญา นอกจากนี้การรับรู้รูปแบบภาวะผู้นำเชิงแลกเปลี่ยนโดยรวมอยู่ในระดับสูงเช่นกัน เมื่อพิจารณเป็นรายด้าน พบว่า มีการรับรู้ด้านการให้รางวัลตามสถานการณ์และการบริหารแบบวางเฉยอยู่ในระดับสูงทั้งสองด้าน ในขณะที่การรับรู้รูปแบบภาวะผู้นำแบบปล่อยตามสบายนั้นอยู่ในระดับปานกลาง 4.) ระดับความผูกพันต่อองค์การโดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับความผูกพันต่อองค์การทั้งสามด้านอยู่ในระดับสูง โดยด้านความพยายามทุ่มเทอย่างเต็มที่เพื่อความสำเร็จขององค์การอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านการยอมรับเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และค่านิยมขององค์การ และด้านความปรารถนาที่จะดำรงไว้ซึ่งความเป็นสมาชิกภาพขององค์การ 5.) บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานร่วมกับผู้บังคับบัญชาแตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การโดยรวม รวมถึงความผูกพันต่อองค์การด้านการยอมรับเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และค่านิยมขององค์การ และด้านความปรารถนาที่จะดำรงไว้ซึ่งความเป็นสมาชิกภาพขององค์การแตกต่างกัน
|
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
Subject(s): | ภาวะผู้นำ
ความผูกพันต่อองค์การ |
Keyword(s): | e-Thesis
บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 213 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4492 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|