• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ผลกระทบของการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐต่อความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของไทย

by เบญจพล เรียบร้อย

Title:

ผลกระทบของการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐต่อความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของไทย

Other title(s):

Impact of government expenditure on economic inequality in Thailand

Author(s):

เบญจพล เรียบร้อย

Advisor:

มนตรี โสคติยานุรักษ์

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2018

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาเรื่อง “ผลกระทบของการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐต่อความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ว่าการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลมีส่วนช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด รวมทั้งเพื่อวิเคราะห์ว่าความเป็นประชาธิปไตยของรัฐบาล การกระจายอำนาจในการบริหารให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และความโปร่งใสในการบริหารงานภาครัฐส่งผลต่อการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของไทยหรือไม่ อย่างไร โดยอาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ในช่วงระยะเวลา 16 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 - 2558 โดยใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปรตามที่มีตัวแปรอิสระ 2 ตัวแปรขึ้นไป ผลการศึกษาพบว่า (1) ตัวแปรที่ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ได้แก่ งบประมาณรายจ่ายด้านการสาธารณสุข งบประมาณรายจ่ายด้านการศึกษา งบประมาณรายจ่ายที่จัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ความเป็นประชาธิปไตยของรัฐบาล และดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (2) ตัวแปรที่ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจลดลง ได้แก่ งบประมาณรายจ่ายด้านเคหะและชุมชน งบประมาณรายจ่ายด้านการสาธารณสุข งบประมาณรายจ่ายด้านการสังคมสงเคราะห์ และดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน และ (3) ตัวแปรที่ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง ได้แก่ งบประมาณรายจ่ายด้านการสาธารณสุข และดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน จากผลการศึกษาดังกล่าวนำมาสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้ (1) รัฐบาลควรเพิ่มสัดส่วนงบประมาณรายจ่ายด้านเคหะและชุมชน ด้านการสาธารณสุข และด้านการสังคมสงเคราะห์ให้สูงขึ้น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ (2) รัฐบาลควรบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement) เพื่อปราบปรามการทุจริตอย่างเข้มงวด รวมทั้งควรส่งเสริม สนับสนุนกลไกการตรวจสอบการทุจริตของภาคประชาสังคม (Civil Society) อย่างเต็มที่ (3) รัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณรายจ่ายด้านการศึกษาไปยังกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคมให้มากขึ้นผ่านมาตรการด้านการงบประมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา การจัดทุนการศึกษา รวมทั้งการอุดหนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อดำเนินการด้านการศึกษา เป็นต้น (4) รัฐบาลควรตรวจสอบการใช้จ่ายเงินงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเข้มงวดผ่านกลไกต่าง ๆ โดยไม่ปล่อยให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณรั่วไหลไปในทางมิชอบ มีการใช้จ่ายเงินงบประมาณผิดวัตถุประสงค์ หรือมีการทุจริตการใช้จ่ายเงินงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ (5) ภาคประชาชนควรเรียกร้องให้รัฐบาลกำหนดนโยบายที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการจัดเก็บภาษีมรดก นโยบายการจัดเก็บภาษีที่ดิน นโยบายการขยายโอกาสทางการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคม นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นต้น นอกจากนี้ ยังควรติดตาม ตรวจสอบการนำนโยบายดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติอย่างใกล้ชิดอีกด้วย
The Study of "Impact of Government Expenditure on Economic Inequality in Thailand" aims to analyze how does government spending can reduce economic inequality? Also, to analyze does democratic government, decentralization to local administrations and transparency in government administration affect to economic inequality? This study collected secondary data over 16 years from 2000 to 2015 and using multiple regression analysis. The findings show that; First, the variables that increased economic inequality were the Public Health Expenditures, the Education Expenditures, the Expenditure that allocated to local administrations, Democratic Government, and the Corruption Perceptions Index. Second, the variables that decreased economic inequality were the Housing and Community Expenditures, the Public Health Expenditures, the Social Welfare Expenditures, and the Corruption Perceptions Index. Finally, the variables that both increased and decreased economic inequality were the Public Health Expenditures, and the Corruption Perceptions Index. The policy recommendations from this study; First, the government should increase the proportion of the Housing and Community Expenditures, the Public Health Expenditures, and the Social Welfare Expenditures to reduce economic inequality. Second, the government should enforce the law to fight corruption seriously. Third, the government should allocate Educational Expenditures to the underprivileged in the society through various budgetary measures such as spend on educational scholarship, and support local administrations. Fourth, the government should monitor the spending of local administrations seriously. Finally, the civil society should call for the government to set policies that can help reduce economic inequality such as inheritance taxation policy, land taxation policy, policy to expand educational opportunities for the underprivileged in society, and monitor policy implementation closely.

Description:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561

Keyword(s):

ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
งบประมาณภาครัฐ
การงบประมาณ
e-Thesis
การใช้จ่ายภาครัฐ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

133 แผ่น

Type:

Thesis

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4495
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b204757.pdf ( 3,054.50 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [291]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×