กลยุทธ์การจัดการการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
by กชกร จุลศิลป์
ชื่อเรื่อง: | กลยุทธ์การจัดการการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Marketing management strategy for food tourism promotion of Thai tourist in Pha Nakhon Si ayutthaya Province |
ผู้แต่ง: | กชกร จุลศิลป์ |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | วรรักษ์ สุเฌอ |
ชื่อปริญญา: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะการจัดการท่องเที่ยว |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาใช้บริการร้านอาหารท้องถิ่น 2) ประเมินศักยภาพการตลาดการท่องเที่ยวเชิงอาหารที่ส่งผลต่อกระบวนการการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการร้านอาหารท้องถิ่น และ 3) เสนอแนะกลยุทธ์การจัดการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 406 คน และเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง ในการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการร้านอาหารท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 15 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณณา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะหฺองค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปร
ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยมีพฤติกรรมในการรับประทานอาหารท้องถิ่น 3 ลำดับแรก ได้แก่ ก๋วยเตี๋ยวเรือ กุ้งเผา และขนมไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อลิ้มลองรสชาติมากที่สุด บุคคลที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจมากที่สุด คือ ตนเอง และช่องทางที่รู้จักร้านอาหารท้องถิ่น ได้แก่ สื่ออินเตอร์เน็ต นอกจากนั้นยังมีความต้องการจากอาหารท้องถิ่นด้านรสชาติมากที่สุด และต้องการเรียนรู้อาหารท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมมากที่สุด และผลการวิจัยในส่วนของศักยภาพการตลาดการท่องเที่ยวเชิงอาหารที่ส่งผลต่อการกระบวนการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย พบว่า มีตัวแปรที่ส่งผลทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านพนักงานและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย การตกแต่งสวยงาม การบริการถูกต้องรวดเร็ว การตกแต่งเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น 2) ด้านการส่งเสริมการตลาดและการสำรองที่นั่ง ประกอบด้วย สื่อสังคมออนไลน์ ส่วนลดการเช็คอิน การสำรองอาหารล่วงหน้า 3) ทำเลที่ตั้งของร้านอาหาร ประกอบด้วย ใกล้สถานที่ท่องเที่ยว เข้าถึงได้สะดวก ที่จอดรถเพียงพอ บรรยากาศโดดเด่น ป้ายบอกทางชัดเจน 4) ผลิตภัณฑ์อาหาร ประกอบด้วย เป็นเอกลักษณ์ ใช้วัตถุดิบท้องถิ่น การตกแต่งจานสวยงาม และ 5) ราคาอาหาร ประกอบด้วย มีความเหมาะสมกับคุณภาพ และมีความเหมาะสมกับปริมาณ และจากวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 และข้อที่ 2 นำมาซึ่งวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ผลกลยุทธ์การจัดการการตลาดการท่องเที่ยวเชิงอาหารทั้งหมด 5 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) ด้านพนักงานและสภาพแวดล้อมของร้านอาหารท้องถิ่น 2) ด้านการส่งเสริมการตลาดและการสำรองที่นั่ง 3) ด้านทำเลที่ตั้งของร้านอาหารท้องถิ่น 4) ด้านผลิตภัณฑ์อาหาร และ 5) ด้านราคาอาหาร |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | การท่องเที่ยวเชิงอาหาร -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา
การท่องเที่ยว -- การตลาด นักท่องเที่ยว -- พฤติกรรม |
คำสำคัญ: | ร้านอาหารท้องถิ่น
e-Thesis |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 222 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
ผู้ครอบครองสิทธิ์: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4498 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู b204759.pdf ( 7,210.27 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
|