• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

แนวทางการธำรงรักษาบุคลากรระดับปฏิบัติการของโรงแรม 4 ดาว ในจังหวัดภูเก็ต

by อนุพงษ์ หมื่นชัยยะ

Title:

แนวทางการธำรงรักษาบุคลากรระดับปฏิบัติการของโรงแรม 4 ดาว ในจังหวัดภูเก็ต

Other title(s):

Guideline for employee retention of 4-star hotels in Phuket Province

Author(s):

อนุพงษ์ หมื่นชัยยะ

Advisor:

แสงแข บุญศิริ

Degree name:

การจัดการมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ

Degree department:

คณะการจัดการการท่องเที่ยว

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2018

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์การที่มีอิทธิพลต่อการธำรงรักษาบุคลากรระดับปฏิบัติการของโรงแรม 4 ดาว ในจังหวัดภูเก็ต 2) เพื่อศึกษาปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงานที่มีอิทธิพลต่อการธำรงรักษาบุคลากรระดับปฏิบัติการของโรงแรม 4 ดาว ในจังหวัดภูเก็ต 3) เพื่อศึกษาปัจจัยการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพที่มีอิทธิพลต่อการธำรงรักษาบุคลากรระดับปฏิบัติการของโรงแรม 4 ดาว ในจังหวัดภูเก็ต 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางการธำรงรักษาบุคลากรระดับปฏิบัติการของโรงแรม 4 ดาว ในจังหวัดภูเก็ต โดยได้ใช้วิธีแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยเชิงปริมาณคือ บุคลากรระดับปฏิบัติการของโรงแรม 4 ดาว ในจังหวัดภูเก็ต โดยแจกแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด และกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ คือผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ของโรงแรม 4 ดาว ในจังหวัดภูเก็ต โดยทำการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจำนวน 12 คน งานวิจัยนี้มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ร้อยละ (Percentage) และค่าความถี่ (Frequency) และทดสอบสมมติฐานผ่านการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) แบบวิธีคัดเลือกแบบขั้นตอน (Stepwise Selection) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์การที่มีอิทธิพลต่อการธำรงรักษาบุคลากรระดับปฏิบัติการของโรงแรม 4 ดาว ในจังหวัดภูเก็ต พบว่าค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ (R2) มีค่าเท่ากับ .287 และตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการธำรงรักษาบุคลากรพบว่า มี 3 ตัวแปร คือ 1) ความเชื่อมั่นยอมรับและปฏิบัติตามเป้าของโรงแรม 2) ความเต็มใจที่จะปฏิบัติงานเพื่อองค์กร และ 3) ความปรารถนาที่จะรักษาการเป็นสมาชิกในองค์กร 2. คุณภาพชีวิตการทำงานที่มีอิทธิพลต่อการธำรงรักษาบุคลากรระดับปฏิบัติการของโรงแรม 4 ดาว ในจังหวัดภูเก็ต พบว่าค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ (R2) มีค่าเท่ากับ .461 และตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการธำรงรักษาบุคลากรพบว่า มี 4 ตัวแปร คือ 1) ชีวิตการทำงานที่มีความเกี่ยวข้องกับสังคม 2) ค่าตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอ 3) ความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน และ 4) สังคมสัมพันธ์ 3. การพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพที่มีอิทธิพลต่อการธำรงรักษาบุคลากรระดับปฏิบัติการของโรงแรม 4 ดาว ในจังหวัดภูเก็ตพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ (R2) มีค่าเท่ากับ .459 และตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการธำรงรักษาบุคลากรพบว่า มี 2 ตัวแปร คือ 1) ความก้าวหน้าในเงินเดือน 2) ความก้าวหน้าในการพัฒนาตนเอง 4. ข้อเสนอแนะแนวทางการธำรงรักษาบุคลากรระดับปฏิบัติการของโรงแรมระดับ 4 ดาว ในจังหวัดภูเก็ต แนวทางที่ 1 การสร้างความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์การ ควรมีการสร้างการรับรู้ถึงเป้าหมายของโรงแรมที่ชัดเจน ง่ายต่อการเข้าใจถึงกระบวนการในการปฏิบัติงาน ควรสร้างวัฒนธรรมที่ดีภายในโรงแรมเพื่อให้เกิดความรู้สึกที่เปรียบเสมือนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน โรงแรมควรช่วยเหลือและสนับสนุนสังคมในด้านต่างๆ เพื่อทำให้มีชื่อเสียงที่ดี ควรให้สิทธิแก่พนักงานในการเสนอความคิดเห็นถึงแนวทางของการบริหารงาน และควรสร้างกระบวนการในการปฏิบัติงานที่ไม่ซับซ้อนมากจนเกินไป ที่จะทำให้เกิดความยุ่งยากในการปฏิบัติงานของพนักงาน แนวทางที่ 2 การสร้างคุณภาพชีวิตการทำงาน โรงแรมต้องมีกิจกรรมในการช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ และต้องให้พนักงานมีส่วนร่วมกับกิจกรรมนั้นๆ ควรจะต้องกำหนดขั้นต่ำที่ชัดเจนของค่าบริการ (Service Charge) ในช่วง Low season และควรมีสวัสดิการด้านหอพัก รถรับส่ง ชุดพนักงาน อาหารให้ฟรี ควรมีการปรับตำแหน่งงานทุกปี ควรมีการทำกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ของพนักงานด้วยกัน ทั้งนี้ควรมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทหรือเดือนละ 9,000 บาท หรือบางคนวุฒิการศึกษาที่สูงก็ต้องจ่ายค่าตอบแทนตามวุฒิการศึกษาอย่างเช่น ป.ตรี ต้องจ่าย 15,000 บาท ควรมีวันหยุด 2 วันต่อสัปดาห์ เวลาทำงานปกติควรต้องเป็น 8 ชั่วโมง ต่อวัน แนวทางที่ 3 การสร้างความก้าวหน้าในอาชีพ ควรมีการปรับพิจารณาการขึ้นเงินเดือนในทุกๆปี ควรปรับเงินเดือนให้เป็นมาตรฐานเทียบเท่ากับโรงแรมอื่นๆหรือมากกว่า ควรส่งเสริมให้ทุนการศึกษาแก่พนักงานที่มีความสามารถ และหัวข้อในการอบรมควรเป็นหัวข้อด้านการพัฒนาทางวิชาชีพหรือเป็นหัวข้อหัวข้อแปลกใหม่บ้าง และควรมีการอบรบนอกสถานที่และไม่ควรมีการอบรมบ่อยจนเกินไป อาจสร้างความเบื่อหน่ายให้แก่พนักงาน
The objectives of this research are to 1) to study the employee engagement factors influencing employee retention of 4-star hotels in Phuket province. 2) to study the quality of working life factors influencing employee retention of 4-star hotels in Phuket province. 3) to study the career development factors influencing employee retention of 4-star hotels in Phuket province. 4) To provide guidance for employee retention of 4-star hotels in Phuket province. Using Mixed Method Research, sample of quantitative research is 4-star hotel staff in Phuket. There were 400 questionnaires distributed and sample of qualitative research is 4-star hotel HR managers in Phuket, by interview 12 samples. This research was analyzed using descriptive statistics, frequency and percentage. And test hypotheses through multiple regression analysis, stepwise selection.           The results of the study were as follows.           1.  The employee engagement factors influencing employee retention of 4-star hotels in Phuket province, the predicted coefficient (R2) is .287 and There were three variables that influenced the employee retention are 1) Confidence, acceptance and compliance of the hotel. 2) Willingness to work for the organization. 3) Desire to be a member of the organization.           2. The Quality of working life factors influencing employee retention of 4-star hotels in Phuket province, the predicted coefficient (R2) is .461 and There were four variables that influenced the employee retention are 1) Social Integration in the Work Organization. 2) Adequate and Fair Compensation. 3) Opportunity to Growth and Security. 4) Social Relevance of Work Life.           3. The career development factors influencing employee retention of 4-star hotels in Phuket province, the predicted coefficient (R2) is .459 and There were two variables that influenced the employee retention are 1) Advances in salaries. 2) Progress in self-improvement.           4. Recommendation guidelines for retaining employees in 4-star hotel, Phuket province, in terms of guidelines                     The first guideline is Employee Engagement, there should be a clear recognition of the goals of the hotel to facilitate the understanding of the operational process, create a good culture in the hotel to feel like a family, hotel should help and support the society in various ways to make a good reputation, the hotel should give employees the right to express their views on the management approach and should create a process that is not too complicated. This will cause difficulties in the operation of the employees.                    The second guideline is Quality of working life, hotel should have activities to help and support the society in various ways and employees must be involved with the activity. A minimum of Service Charge should be set during the low season and should be provided at the dormitory, transportation, uniform and food for free. Should be promoted to employees every year. There should be activities that build relationships with employees, moreover, should have a minimum wage of 300 baht per day or 9,000 baht per month, or some high education qualifications must pay the same education, such as Bachelor, must pay 15,000 baht and last should have holiday two days per week and working hours should be 8 hours a day.                    The third guideline is Career Development, should be adjusted salary every year and should be adjusted to the standard equivalent to other hotels or more, should encourage scholarships to talented employees. The topics in the training should be topics of professional development or new topic and should be training outside, should not be trained too often. May create boredom for employees.

Description:

วิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561

Subject(s):

บุคลากร
คุณภาพชีวิตการทำงาน
ความผูกพันต่อองค์การ

Keyword(s):

e-Thesis
การธำรงรักษาบุคลากร
การพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

214 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4499
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b204760.pdf ( 5,279.62 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSTM: Theses [129]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×