• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบลงทะเบียน

แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครในกลุ่มสัตว์สำหรับนักท่องเที่ยวอาสาสมัครของประเทศไทย

by อมราวดี ไชยโย

ชื่อเรื่อง:

แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครในกลุ่มสัตว์สำหรับนักท่องเที่ยวอาสาสมัครของประเทศไทย

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Animal-related voluntourism promotion guidelines for voluntourists in Thailand

ผู้แต่ง:

อมราวดี ไชยโย

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

วรรักษ์ สุเฌอ

ชื่อปริญญา:

การจัดการมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

สาขาวิชา:

การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ

คณะ/หน่วยงาน:

คณะการจัดการการท่องเที่ยว

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2561

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

   The objectives of this research are 1) to explore the perception components that affect attitudes and satisfaction of voluntourists towards animal-related voluntourism activities; 2) to investigate the opinions of voluntourists about understanding, potential, conditions and limitations/threats of animal-related voluntourism activities; 3) to propose guidelines to enhance animal-related voluntourism. The methodology of this study employed a mixed method approach. The quantitative approach used a questionnaire for data collection with international voluntourists who participated in animal-related voluntourism activities at the Wildlife Friends Foundation in Phetchaburi province, and comprised 180 participants. To analyze the data, an exploratory factor analysis, confirmatory factor analysis and path analysis were carried out using the SPSS and Lisrel programs. The qualitative approach used a semi-structured in-depth interview technique for data collection with 25 relevant stakeholders at the Wildlife Friends Foundation in Phetchaburi, including the foundation executives, activities organizer, employees and voluntourists. A thematic analysis was used to analyse the data.    Findings reveal that: 1) There are 21 items which span five perception dimensions, which are as follows; physical, knowledge, practice, needs and self-esteem, listed in order of factor loading values respectively. Perception dimensions have a direct influence on the attitude of voluntourists, and additional perception dimensions also have a direct and indirect influence on voluntourists’ satisfaction. 2) There are 17 items which span three attitude dimensions, which are as follows; emotion, understanding and behavior, listed in order of factor loading values respectively. Attitude dimensions have a direct influence on voluntourists’ satisfaction. 3) There are 23 items which span five satisfaction dimensions, which are as follows; employees, price, program and service, practice activity and management, listed in order of factor loading values respectively. Satisfaction dimensions are directly influenced by the perception and attitude of voluntourists. Additional satisfaction dimensions are also indirectly influenced by voluntourists’ perception. The covariance can be described at 99.30 percent. Therefore, obtained fit indices indicated a good fit between the predicted and empirical factor structure, as follows; χ2= 27.79, df= 18, relativeχ2= 1.54, P-value= 0.065 RMSEA= 0.031, RMR= 0.017, SRMR= 0.031, GFI= 0.988, AGFI= 0.938, NFI= 0.991, NNFI= 0.987. The statistically significant level is 0.01.      The study aimed to investigate the opinions of voluntourists about understanding, potential, conditions and limitations/threats of animal-related voluntourism activities. Findings reveal that there are many key components to be considered for animal-related voluntourism activities, including language ability of employees, facilities service, manpower, funding, partnerships and enforcement of animal protection laws. Potential factors include activities, natural resource management, accessibility and environment, employee friendliness, value for money and marketing channels.    The finding of this study provide four guidelines to help enhance animal-related voluntourism, which are as follows; the first guideline is for the development of infrastructure, utilities and facilities, the second guideline is for empowering of employees, the third guideline is to develop the quality of the tourism products and services in tourist attractions, and the fourth guideline is to improve the management of the attractions.    This research suggests that the voluntourism destination should be aware of the need to develop and promote animal-related voluntourism activities in all components to provide an impressive experience for voluntourists, which will help to encourage more volunteers, improve the development of animal rescue and have positive economic, social, cultural and environmental effects. The findings of this research can be used as a framework to enhance and promote the various forms of voluntourism in Thailand. It can also be used as a model and can be applied in accordance with the context of the area.  
         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจปัจจัยการรับรู้ที่ส่งผลต่อทัศนคติและความพึงพอใจในกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครในกลุ่มสัตว์ 2) ศึกษาความเข้าใจ ศักยภาพ เงื่อนไข และข้อจำกัด/อุปสรรคของแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครในกลุ่มสัตว์ และ 3) เสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครในกลุ่มสัตว์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยในการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล จากนักท่องเที่ยวอาสาสมัครชาวต่างชาติที่มาทำกิจกรรมอาสาสมัครร่วมกับสัตว์ในมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 180 คน ใช้สถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทาง ด้วยโปรแกรม SPSS และ Lisrel  ส่วนในการวิจัยเชิงปริมาณการสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้างในการเก็บข้อมูล จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครในกลุ่มสัตว์ที่มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า จังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้จัดกิจกรรม เจ้าหน้าที่ และนักท่องเที่ยวอาสาสมัคร จำนวน 25 คน ใช้วิธีการวิเคราะห์แก่นสาระเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล          ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการรับรู้ ประกอบด้วย 21 ตัวแปร 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านกายภาพ ด้านความรู้ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านความต้องการ และด้านคุณค่าตนเอง เรียงลำดับความสำคัญตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐาน มีอิทธิพลทางตรงต่อทัศนคติของนักท่องเที่ยวอาสาสมัคร และยังมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวอาสาสมัคร 2) ปัจจัยทัศนคติ ประกอบด้วย 17 ตัวแปร 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านความรู้สึก ด้านความเข้าใจ และด้านพฤติกรรม เรียงลำดับความสำคัญตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐาน มีอิทธิพลทางตรงต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวอาสาสมัคร 3) ปัจจัยความพึงพอใจ ประกอบด้วย 23 ตัวแปร 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านพนักงาน ด้านราคา ด้านโปรแกรมและบริการ ด้านการปฏิบัติกิจกรรม และด้านการบริหารจัดการ เรียงลำดับความสำคัญตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐาน ได้รับอิทธิพลทางตรงจากการรับรู้และทัศนคติ และยังได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากการรับรู้ สามารถอธิบายความแปรปรวนร่วมกันที่ร้อยละ 99.30 ดังนั้น ผลการทดสอบโมเดลจึงพบว่ามีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจาก ค่า χ2= 27.79, df= 18, relativeχ2= 1.54, P-value= 0.065 RMSEA= 0.031, RMR= 0.017, SRMR= 0.031, GFI= 0.988, AGFI= 0.938, NFI= 0.991, NNFI= 0.987 ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01          สำหรับผลการศึกษาความเข้าใจ ศักยภาพ เงื่อนไข และข้อจำกัด/อุปสรรคของแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครในกลุ่มสัตว์ พบว่า มีหลายองค์ประกอบที่ต้องได้รับการพิจารณา ได้แก่ ความสามารถด้านภาษาของพนักงาน การบริการสิ่งอำนวยความสะดวก การจัดกำลังคน เงินทุนสนับสนุน ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน และการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองสัตว์ ในขณะที่องค์ประกอบที่มีศักยภาพ ได้แก่ ด้านกิจกรรม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การเข้าถึงและสภาพแวดล้อม ความเป็นมิตรของพนักงาน ความคุ้มค่าเงิน และช่องทางการตลาด          จากผลการศึกษาผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครในกลุ่มสัตว์ กลยุทธ์ และแผนการดำเนินงานต่างๆ ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ แนวทางที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก แนวทางที่ 2 การเสริมสร้างศักยภาพของพนักงาน แนวทางที่ 3 การพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการในแหล่งท่องเที่ยว และแนวทางที่ 4 การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวแบบบูรณาการ          การวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่าแหล่งท่องเที่ยวควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครในกลุ่มสัตว์ให้มีประสิทธิภาพในทุกองค์ประกอบ เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวอาสาสมัคร ซึ่งจะช่วยเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวในพื้นที่ ทำให้เป็นประโยชน์ในแง่ของการช่วยเหลือสัตว์ การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของจุดหมายปลายทาง ซึ่งผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นกรอบแนวคิดการศึกษา พัฒนาและส่งเสริมรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครในประเทศไทยให้มีความหลากหลาย รวมทั้งยังสามารถนำแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครไปเป็นแบบอย่างและประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับการดำเนินงานตามบริบทของพื้นที่ได้

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561

หัวเรื่องมาตรฐาน:

นักท่องเที่ยว
การท่องเที่ยว -- การมีส่วนร่วมของประชาชน

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร
การทารุณกรรมสัตว์
กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครในกลุ่มสัตว์
นักท่องเที่ยวอาสาสมัคร
กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร
สัตว์ในการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร
e-Thesis
วิทยานิพนธ์ได้รับรางวัล
วิทยานิพนธ์รางวัลดี

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

278 แผ่น
application/pdf

ชนิดของสื่อ:

Text

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ผู้ครอบครองสิทธิ์:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4500
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
b204761.pdf ( 7,743.81 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSTM: Theses [69]

Related items

Showing items related by title, author, creator and subject.

  • Thumbnail

    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเพศหญิงชาวต่างชาติที่เดินทางท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร 

    นรินทร์สิรี เชียงพันธ์; รักษ์พงศ์ วงศาโรจน์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจลักษณะปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยผลักดันทางการท่องเที่ยวจากภายใน ปัจจัยดึงดูดทางการท่องเที่ยวจากภายนอก ปัจจัยประสบการณ์การท่องเที่ยวในอดีต และปัจจัยอุปสรรคทางการท่องเที่ยว 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยผลักดันทางการท่องเที่ยวจากภายใน ปัจจัยดึงดูดทางการท่องเที่ยวจากภายนอก ปัจจัยประสบการณ์การท่องเที่ยวในอดีต และปัจจัยอุปสรรคทางการท่องเที่ยว ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเพศหญิงชาวต่างชาติในกรุงเทพมหานคร โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 325 ชุด จากนักท่องเที่ยวเพศหญิง ...
  • Thumbnail

    Safety Image, Perception of Safety Management and Loyalty of Chinese Free and Independent Travelers in Bangkok 

    Boonrada Panyarak; Rugphong Vongsaroj (NIDA, 9/27/19)

        The purposes of this study were to 1) compare the image safety of Chinese Free and Independent Travelers when traveling to Bangkok categorized by personal factors and traveling behavior, 2) compare the perception of safety management of Chinese Free and Independent Travelers when traveling to Bangkok categorized by personal factors and traveling behavior, and 3) examine the influence that the perception of safety management in tourism has on the tendency of loyalty of Chinese Free and Independent Travelers  when traveling to Bangkok. This ...
  • Thumbnail

    แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอัญมณีของจังหวัดจันทบุรีเพื่อตอบสนองพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย 

    เอกธนา พลเชียงขวาง; เทิดชาย ช่วยบำรุง (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวอัญมณีของจังหวัดจันทบุรี ประเมินระดับศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวอัญมณีของจังหวัดจันทบุรีจากการสำรวจทัศนคติที่ดีของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อ แหล่งท่องเที่ยว และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอัญมณีของจังหวัดจันทบุรีเพื่อ ตอบสนองพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย ประชากร คือนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมา ท่องเที่ยวยังจังหวัดจันทบุรี จำนวน 400 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×