การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร
by พิสิฐ ระฆังวงษ์
Title: | การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other title(s): | A study of factors affecting to elderly victims of crimes in Bangkok area |
Author(s): | พิสิฐ ระฆังวงษ์ |
Advisor: | ประพนธ์ สหพัฒนา |
Degree name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree department: | คณะรัฐประศาสนศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2018 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะของการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการป้องกันการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์กับผู้สูงอายุ สำหรับในการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างของผู้สูงอายุที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม จำนวนทั้งสิ้น 525 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์ตัวแปรด้วยวิธีถดถอยโลจิสติค (Logistic Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมของผู้สูงอายุเรียงความสำคัญ 3 ลำดับแรก คือ ด้านอารมณ์และจิตใจ รองลงมาด้านทรัพย์สิน และด้านการถูกทอดทิ้ง ปัจจัยส่วนบุคคลมีผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม ได้แก่ ระดับการศึกษา และอาชีพ ปัจจัยที่มีผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมของผู้สูงอายุ ได้แก่ ปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ(ด้านการใช้ชีวิต,ด้านสุขภาพ) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย(ประเภทที่พักอาศัย,ระบบฝ้าระวัง,ไฟส่องสว่างบริเวณที่ว่างของบ้าน,การดูแลและบำรุงรักษา)
ลักษณะการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมของผู้สูงอายุส่วนใหญ่เกิดจากบุคคลสมาชิกในครอบครัว ซึ่งการกำหนดกฎหมายส่วนใหญ่มุ่งเน้นแต่การลงโทษผู้กระทำผิดมากกว่าการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู ผู้กระทำความผิด หรือการปกป้องคุ้มครองผู้สูงอายุที่ถูกกระทำรุนแรง ทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักเลือกที่จะไม่ดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิด เพราะคนเหล่านั้นคือ ญาติ บุตรหลานของตนเอง และที่สำคัญผู้สูงอายุเหล่านี้ยังต้องพึ่งพาคนเหล่านี้อยู่ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการให้ความรู้แก่สังคม ประชาชน เพื่อก่อให้เกิดความตระหนัก และร่วมกันเฝ้าระวัง รวมถึงการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นเป็นหลัก ฉะนั้นแนวทางในการแก้ไขปัญหาคือ ส่งเสริมกิจกรรมที่เน้นถึงความสำคัญของการส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว อีกทั้งให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน เจ้าหน้าที่ตำรวจ ออกพบปะประชาชนผู้สูงอายุ โดยให้ความสำคัญและสนับสนุน ในการจัดกำลังพลเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจกระจายแต่ละเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานครอย่างทั่วถึง สนับสนุนหน่วยการแพทย์เคลื่อนที่ในการออกตรวจสุขภาพผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเข้าถึงการแพทย์ได้ และการจัดระเบียบชุมชนให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ตลอดจนติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดเสี่ยงต่าง ๆ และเขตชุมชน เพื่อช่วยติดตามผู้กระทำความผิดอีกทั้งยังเป็นการลดโอกาสของผู้กระทำผิดในการลงมือประกอบอาชญากรรมด้วย
|
Description: |
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
Subject(s): | อาชญากรรม -- ไทย -- กรุงเทพฯ
อาชญากรรม ผู้สูงอายุ -- เหยื่ออาชญากรรม |
Keyword(s): | ผู้สูงอายุ
e-Thesis การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 115 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4504 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|