ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานและส่งผลให้เกิดความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา : พนักงานส่วนงานภาคพื้นดิน สายการบินไทยไลอ้อนแอร์
by รัศมี อิสลาม
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานและส่งผลให้เกิดความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา : พนักงานส่วนงานภาคพื้นดิน สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors as influence to job statisfactions related to employee commitment : case study of Thai Lion Air staff in ground operation division |
ผู้แต่ง: | รัศมี อิสลาม |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | สุวารี นามวงค์ |
ชื่อปริญญา: | การจัดการมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะการจัดการการท่องเที่ยว |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
การวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นที่จะศึกษาเรื่อง ปัจจัยแรงจูงใจที่มีอิทธิพลทำให้พนักงานเกิดความพึงพอใจใน การปฏิบัติงาน และส่งผลให้เกิดความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา : พนักงานส่วนงานภาคพื้นดิน สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าปัจจัยใดที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานและส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร โดยมีคำถามวิจัยทั้งหมดสี่คำถาม คือ 1) อะไรคือความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยความต้องการส่วนบุคคลกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน 2) อะไรคือความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยในด้านแรงจูงใจภายในกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน 3) อะไรคือ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในด้านแรงจูงใจภายนอก กับ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงานของพนักงาน และ ความผูกพันต่อองค์กรเป็นอย่างไร โดยใช้ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Approach) ซึ่งมีประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานปฏิบัติงาน ภาคพื้นดินในแผนกต่างๆของสายการบินไทยไล้อนแอร์ ที่มีการเข้างานแบบเป็นกะ (Shift Work) จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และ ใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสันเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้สถิติการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาอิทธิพลว่าปัจจัยใดที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กร
ผลการวิจัยสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์และคำถามการวิจัยพบว่า ปัจจัยความต้องการส่วนบุคคลมีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยปัจจัยความต้องการประสบความสำเร็จในชีวิตมีอิทธิพลมากที่สุดต่อความพึงพอใจในการทำงาน โดยปัจจัยความต้องการดำรงชีวิตอยู่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการทำงานรองลงมา และ ปัจจัยความต้องการความสัมพันธ์ต่อครอบครัวและสังคมมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการทำงานตามลำดับ โดยทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญกับความพึงพอใจในการทำงาน ในส่วนของปัจจัยแรงจูงใจภายในนั้น พบว่า อิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจในการทำงาน โดยการได้รับการยอมรับ, ลักษณะของงาน , ความก้าวหน้าในงาน และ . ความรับผิดชอบในงาน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญกับความพึงพอใจในการทำงานตามลำดับ สำหรับปัจจัยแรงจูงใจภายนอกนั้น พบว่า อิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจในการทำงานเช่นกัน โดยเงินเดือนและผลตอบแทน, เทคนิคการควบคุมดูแล, สภาพแวดล้อมในการทำงาน, นโยบายและการบริหารงาน และ ความมั่นคงในงาน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญกับความพึงพอใจในการทำงานตามลำดับ นอกจากการนี้การศึกษาครั้งนี้มีผลประโยชน์ต่อทางด้านวิชาการและการบริหารองค์การ โดยผลทางการศึกษาทำให้ทราบว่าถึงองค์ประกอบของความพึงพอในใจในงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ซึ่งองค์ประกอบความพึงพอใจในงาน พบว่า มีอิทธิพลทางบวกต่อความผูกพันต่อองค์กร โดยความพึงพอใจในปัจจัยปัจจัยด้านลักษณะงาน , ความพึงพอใจในปัจจัยด้านความมั่นคงและความก้าวหน้า , ความพึงพอใจในปัจจัยปัจจัยด้านค่าจ้างและสวัสดิการ, ความพึงพอใจในปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงาน และ ความพึงพอใจในด้านการปกครองบังคับบัญชา มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญกับความพึงพอใจในการทำงานตามลำดับ
จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นได้ว่า องค์การควรให้ความสำคัญกับการเสริมสร้าง แรงจูงใจในการทำงานเพื่อให้บุคลากรเกิดความพึงพอใจในการทำงานและเกิดความผูกพันต่อองค์การมากขึ้น ซึ่งความผูกพันต่อองค์การจะส่งผลให้พนักงานมีความรู้สึกที่อยากจะทำงานต่อไปในองค์การโดยไม่คิดจะลาออก |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | ความพึงพอใจในการทำงาน
การทำงาน -- แง่จิตวิทยา ความผูกพันต่อองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ -- การศึกษาเฉพาะกรณี |
คำสำคัญ: | e-Thesis |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 197 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4505 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|