แนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเรือสำราญ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Publisher
Issued Date
2018
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
444 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b204764
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ภาณุมาศ เกตุแก้ว (2018). แนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเรือสำราญ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี . Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4506.
Title
แนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเรือสำราญ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Alternative Title(s)
Guidelines in developing cruise tourism management of Koh Samui District, Surat Thani Province
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะและพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเรือสำราญที่เดินทางท่องเที่ยวในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อประเมินศักยภาพของการจัดการการท่องเที่ยวเรือสำราญของอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเรือสำราญของอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยการใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางโดยเรือสำราญมายังอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 400 คน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน โดยการใช้สถิติ T-Test และ One-way ANOVA เพื่อทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยระหว่างตัวแปร และใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ความสำคัญและประสิทธิภาพ (Importance and Performance Analysis: IPA) ในการประเมินศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวเรือสำราญ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการการท่องเที่ยวเรือสำราญของอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี ซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สายการเดินเรือ ชุมชนท้องถิ่น และนักท่องเที่ยวเรือสำราญ จำนวน 50 คน โดยใช้การวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic Analysis)
ผลการศึกษาคุณลักษณะและพฤติกรรมการท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางท่องเที่ยวโดยเรือสำราญมายังอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 51-65 ปี จัดอยู่ในกลุ่ม Baby Boomer Generation ส่วนมากเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มาจากภูมิภาคยุโรป สถานภาพการสมรส มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,000 – 100,000 บาท สำหรับพฤติกรรมการท่องเที่ยว พบว่า ส่วนใหญ่มีความถี่ในการท่องเที่ยวเรือสำราญ 2 – 3 ครั้ง วัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยวเรือสำราญเพื่อการพักผ่อนและการเดินทางท่องเที่ยว โดยแรงจูงใจในการท่องเที่ยวเรือสำราญ คือ ท่าเรือแวะพักหรือจุดหมายปลายทาง ได้รับรู้ข้อมูลการเดินทางท่องเที่ยวเรือสำราญมาจากเว็บไซต์สายการเดินเรือ โดยมีคู่รักหรือสามีภรรยาเป็นผู้ร่วมเดินทางในการท่องเที่ยวเรือสำราญ ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวบนฝั่งที่นักท่องเที่ยวเรือสำราญให้ความสนใจ คือ วัดพระใหญ่ รวมทั้งกิจกรรมการท่องเที่ยวบนฝั่งที่นักท่องเที่ยวเรือสำราญให้ความสนใจ คือ การท่องเที่ยวชมเมือง โดยมีรูปแบบการเดินทางท่องเที่ยวบนฝั่งจากการจองโปรแกรมการท่องเที่ยวบนเรือสำราญ ทั้งนี้ หากพิจารณาค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการเดินทางท่องเที่ยวบนฝั่งมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 4,216 บาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายด้านโปรแกรมการท่องเที่ยว
สำหรับผลการศึกษาจากการประเมินศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวเรือสำราญของอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า 9 ปัจจัยที่มีศักยภาพอยู่ในระดับต่ำมาก ได้แก่ กระบวนการขนถ่ายนักท่องเที่ยว เรือขนถ่ายผู้โดยสาร การรักษาความปลอดภัย ความสามารถในการรองรับของท่าเรือ โครงสร้างพื้นฐานสำหรับท่าเรือ สิ่งอำนวยความสะดวกของท่าเรือ ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน พื้นที่รองรับผู้โดยสารเรือสำราญ และการบริการข้อมูลทางการท่องเที่ยว ในขณะที่ 3 ปัจจัยที่มีศักยภาพในระดับสูงมาก ได้แก่ ผู้ให้บริการและมัคคุเทศก์ การจัดการรายการ นำเที่ยวบนฝั่ง และแหล่งท่องเที่ยว
จากผลการศึกษาผู้วิจัยจึงนำเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเรือสำราญ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการกำหนดแนวทางและกลยุทธ์การพัฒนา แผนการดำเนินงาน ระดับความสำคัญ และหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ ได้แก่ 1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยสะดวกสำหรับท่าเรือ 2) การพัฒนาการบริหารจัดการท่าเรือแบบบูรณาการ 3) การพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการคมนาคมขนส่ง 4) การเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาทุนมนุษย์ด้านการท่องเที่ยวและบริการ และ 5) การพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว สินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว
The objectives of this research are 1) to study cruise passengers’ demographic characteristics and travel behavior in Koh Samui district, Surat Thani province. 2) to evaluate the potentials of cruise tourism management in Koh Samui district, Surat Thani province. and 3) to propose guidelines for developing cruise tourism management in Koh Samui district, Surat Thani province. Mixed research methodology was used for this study. The quantitative data were collected, using questionnaires as a research tool from 400 international cruise passengers. The data were analyzed by using descriptive statistics included frequency, percentage, mean and standard deviation and the inferential statistics which were T-Test, One-way ANOVA and Importance and Performance Analysis (IPA). In addition, the qualitative data were collected by semi-structure interview from 50 relevant cruise management stakeholders which were public sectors, private sectors, cruise lines, local communities and cruise passengers, analyzed by Thematic Analysis. The results of cruise passengers’ demographic characteristics and behavior revealed that the majority foreign cruise’s passengers were females, aged between 51-65 years old (Baby Boomer Generation) Most of passengers were Europeans and married. Moreover, Most graduated bachelor’s degree and worked as private employee. The majority earn 50,000-100,000 bahts/month. The study about cruise’s passenger behavior presented that they have cruised 2 – 3 times. The purpose of cruising was for relaxation and travelling while, the motivation of cruising was port of call or destination and search information from cruise line websites. Most of them were spouses and prefered to travel in Big Buddha Temple with city sightseeing. The pattern of shore excursion was booking a trip on board. The amount of expenditure average in 4,216 bahts/day on shore excursion. The results from potential evaluation of cruise tourism management in Koh Samui district, Surat Thani province, revealed that there are 9 low potential factors; tendering operation, ship tender, safety and security at port, carrying capacity of port, port facilities, public utility, waiting area at port and travel information services center while 3 factors, showing high potential; service provider and tourist guide, shore excursion management and tourist attraction. Finding of this study could be analyzed and transformed to be guidelines and development strategies, operational plans, level of importance and responsible organizations consist of 1) Guideline for developing port infrastructures and facilities. 2) Guideline for developing integrated port management. 3) Guideline for developing logistic and transportation system. 4) Guideline for reinforce human resource potential and develop human resource in tourism and hospitality. and 5) Guideline for developing tourist attractions, tourism products and services quality.
The objectives of this research are 1) to study cruise passengers’ demographic characteristics and travel behavior in Koh Samui district, Surat Thani province. 2) to evaluate the potentials of cruise tourism management in Koh Samui district, Surat Thani province. and 3) to propose guidelines for developing cruise tourism management in Koh Samui district, Surat Thani province. Mixed research methodology was used for this study. The quantitative data were collected, using questionnaires as a research tool from 400 international cruise passengers. The data were analyzed by using descriptive statistics included frequency, percentage, mean and standard deviation and the inferential statistics which were T-Test, One-way ANOVA and Importance and Performance Analysis (IPA). In addition, the qualitative data were collected by semi-structure interview from 50 relevant cruise management stakeholders which were public sectors, private sectors, cruise lines, local communities and cruise passengers, analyzed by Thematic Analysis. The results of cruise passengers’ demographic characteristics and behavior revealed that the majority foreign cruise’s passengers were females, aged between 51-65 years old (Baby Boomer Generation) Most of passengers were Europeans and married. Moreover, Most graduated bachelor’s degree and worked as private employee. The majority earn 50,000-100,000 bahts/month. The study about cruise’s passenger behavior presented that they have cruised 2 – 3 times. The purpose of cruising was for relaxation and travelling while, the motivation of cruising was port of call or destination and search information from cruise line websites. Most of them were spouses and prefered to travel in Big Buddha Temple with city sightseeing. The pattern of shore excursion was booking a trip on board. The amount of expenditure average in 4,216 bahts/day on shore excursion. The results from potential evaluation of cruise tourism management in Koh Samui district, Surat Thani province, revealed that there are 9 low potential factors; tendering operation, ship tender, safety and security at port, carrying capacity of port, port facilities, public utility, waiting area at port and travel information services center while 3 factors, showing high potential; service provider and tourist guide, shore excursion management and tourist attraction. Finding of this study could be analyzed and transformed to be guidelines and development strategies, operational plans, level of importance and responsible organizations consist of 1) Guideline for developing port infrastructures and facilities. 2) Guideline for developing integrated port management. 3) Guideline for developing logistic and transportation system. 4) Guideline for reinforce human resource potential and develop human resource in tourism and hospitality. and 5) Guideline for developing tourist attractions, tourism products and services quality.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561