ชื่อเรื่อง:
|
อุดมการณ์การเมือง การข้ามพ้นความเป็นซ้ายและขวา (2)
|
ผู้แต่ง:
|
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
|
วันที่เผยแพร่:
|
3105-07-20
|
ข้อมูลอ้างอิง:
|
ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 ํ วันเสาร์ที่ 20 - วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2562
|
หน่วยงานที่เผยแพร่/จัดพิมพ์:
|
ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 ํ
|
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:
|
แนวคิดที่ว่าด้วยการข้ามพ้นการแบ่งขั้วระหว่างความเป็นซ้ายและขวา อันมีพื้นฐานความเชื่อว่า สังคมยุคใหม่มีสิ่งที่ดำรงอยู่ภายในสังคมที่เรียกว่า "อภิบรรยาย" ในเชิงอุดมการณ์ ซึ่งครอบงำความเชื่อของสังคมอย่างมั่นคงและยาวนานในยุคแห่งสมัยใหม่นิยมถึงวาระเสื่อมคลายมนต์ขลังและกำลังแตกสลาย ลัทธิและคำสอนทางการเมืองที่แพร่หลายมานานนับศตวรรษได้รับการยอมรับจากนักวิชาการและนักการเมืองจำนวนมากว่ากลายเป็นสิ่งที่ไม่มีความสำคัญต่อไป
อวสานนิยมแบบข้ามพ้นความเป็นซ้ายและขวา มีนัยแสดงให้เห็นว่า โลกทางการเมืองในยุคปลายศตวรรษที่ยี่สิบ และต้นศตวรรษที่ 21 นั้น มิใช่โลกที่มีการแข่งขันแบบเป็นขั้วความขัดแย้งระหว่างอุดมการณ์ซ้ายและขวาดังในอดีตอีกต่อไป หากแต่เป็นโลกที่มีความหลากหลายและซับซ้อนของแนวคิด อุดมการณ์ และกระบวนทัศน์ที่มีพื้นฐานความเชื่อจากเพศสภาพ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศาสนาและวัฒนธรรม อุบัติขึ้นในสนามการเมือง อันเป็นผลมาจากโลกาภิวัตน์ การเกิดขึ้นของระเบียบสังคมหลังประเพณีนิยม และการสะท้อนกลับทางสังคม ปรากฎการณ์เหล่านี้ทำให้ปัจเจกบุคคลมีอิสระในการเปลี่ยนแปลงความคิดอัตลักษณ์ และบรรทัดฐานทางการเมืองและสังคมมากขึ้น ภายในบริบทที่มีการเพิ่มขึ้นของการแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
ด้วยเหตุที่ความเป็นจริงทางการเมืองมีความซับซ้อนและหลากหลายมิติ การทำความเข้าใจจึงต้องเปิดกว้างทางความคิด เปิดรับความแตกต่างทางความเชื่่อและกระบวนทัศน์เข้ามาผสมผสานเพื่อเป็นแนวทางร่วมในการทำความเข้าใจ การยึดติดกับอุดมการณ์หรือความเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งตายตัว หรือการพยายามบีบบังคับสภาพความเป็นจริงทางการเมืองตามอัตตาของตนเองให้เหลือเพียงแค่ "ขั้วความขัดแย้ง" ประเภทที่ว่า "ถ้าไม่ขวา ก็ต้องเป็นซ้าย" ถ้าไม่ใช่ "ประชาธิปไตย ก็เป็นเผด็จการ" หรือแม้กระทั่งการแบ่งขั้วแบบ "ปฏิ-กษัตริย์นิยม" กับ "กษัตริย์นิยม" ของนักวิชาการและนักการเมืองบางกลุ่ม ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยยุคปัจจุบัน ดูเป็นการลดทอนความจริงทางการเมืองที่ซับซ้อน และหลากหลายให้มลายหายไป
|
คำสำคัญ/ศัพท์อิสระ:
|
อุดมการการเมือง; แนวคิดใหม่ทางการเมือง
|
หัวเรื่องควบคุม:
|
อุดมการณ์การเมือง; แนวคิดทางการเมือง; แนวคิดใหม่ทางการเมือง
|
ความยาว:
|
3 หน้า
|
ประเภททรัพยากร:
|
Text
|
รูปแบบแฟ้มข้อมูล:
|
application/pdf
|
ภาษา:
|
tha
|
ผู้ครอบครองสิทธิ์:
|
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 ํ
|
URI:
|
http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4513
|