แนวทางการส่งเสริมความรู้และความเข้าใจด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยในการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ในระดับครัวเรือนและชุมชน
by ปรียานารถ สดากร
Title: | แนวทางการส่งเสริมความรู้และความเข้าใจด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยในการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ในระดับครัวเรือนและชุมชน |
Other title(s): | Guidelines for promoting knowledge and understanding on safety and sanitation in biogas production from organic waste at community and household levels |
Author(s): | ปรียานารถ สดากร |
Advisor: | วิสาขา ภู่จินดา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. |
Issued date: | 2018 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และความเข้าใจด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยในการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ในระดับครัวเรือนและชุมชน วิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยในการผลิตก๊าซชีวภาพ และเสนอแนวทางส่งเสริมความรู้และความเข้าใจด้านความปลอดภัยในการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ในระดับครัวเรือนและชุมชน โดยใช้การสัมภาษณ์และแบบทดสอบร่วมกับการสังเกตการณ์ และการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis) รวมทั้งการศึกษากรณีตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุและผลกระทบจากอันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้นในการผลิตก๊าซชีวภาพในระดับครัวเรือนและชุมชนโดยใช้ CIPPI Model ในการกำหนดประเด็นในการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่าสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุทั้งจากกรณีศึกษาและพื้นที่ศึกษา คือ การไม่สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล การสูบบุหรี่ การไม่รักษาความปลอดภัยในพื้นที่ผลิต นอกจากนี้อันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้นในระดับครัวเรือนและชุมชนในพื้นที่ศึกษา ได้แก่ การรั่วไหลของก๊าซจากลูกบอลลูน ก๊าซที่อาจทำให้เกิดไฟไหม้หรือระเบิดได้ อันตรายจากพื้นที่อับอากาศและการจัดเก็บก๊าซที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งปัญหากลิ่นรบกวนและเหตุเดือดร้อนรำคาญต่างๆ
แนวทางการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ ได้แก่ ควรส่งเสริมให้มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ผลิตโดยกำหนดระยะห่างจากชุมชนไม่น้อยกว่า 100 เมตร การกำหนดระยะห่างจากแนวสายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่านไม่น้อยกว่า 6 เมตร การกั้นพื้นที่ปฏิบัติงานด้วยสแลนเพื่อป้องกันสัตว์กัดแทะเข้าไปทำลายอุปกรณ์ ส่งเสริมให้เข้าใจถึงการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับงาน ลักษณะของพื้นที่เก็บก๊าซโดยต้องไม่ตั้งอยู่ในพื้นที่มีประกายไฟ เช่น ห้องครัว หรือพื้นที่สูบบุหรี่ เพื่อป้องกันการเกิดไฟไหม้และการระเบิด ให้มีการตรวจสอบรอยรั่วของถังเก็บก๊าซและท่อส่งก๊าซ พื้นที่จัดเก็บมีการระบายอากาศเพียงพอเพื่อป้องกันกรณีก๊าซรั่วไหลและเกิดการแทนที่ก๊าซออกซิเจนทำให้เกิดเป็นพื้นที่อับอากาศ ให้มีการติดตั้งระบบป้องกันน้ำฝนไม่ให้ไหลลงสู่ระบบหมักก๊าซชีวภาพ การติดตั้งบ่อรวมน้ำเสียพร้อมทั้งการทำความสะอาดเป็นครั้งคราว การติดตั้งสัญลักษณ์หรือป้ายเตือนไม่ให้บุคคลภายนอกเข้ามาในขณะปฏิบัติงาน ในระบบหมักหรือบอลลูนก๊าซควรมีการตรวจสอบให้มีน้ำเต็มอยู่ตลอดเวลา การตรวจสอบควบคุมแรงดันไม่ให้เกิน 300 mbar ให้ทราบถึงชนิดของก๊าซที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการผลิตก๊าซชีวภาพ การปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ อันตรายและผลกระทบที่เกิดขึ้นและเสริมสร้างจิตสำนึกโดยการจัดกิจกรรมรณรงค์หรือการฝึกอบรมในการทำงานให้มีสติในการปฏิบัติงาน และปฏิบัติงานอย่างระมัดระวัง |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
Subject(s): | ก๊าซชีวภาพ
ก๊าซชีวภาพ -- มาตรการความปลอดภัย |
Keyword(s): | ขยะอินทรีย์
e-Thesis |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 151 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s): | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4515 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View b205816.pdf ( 5,361.40 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
|