• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

การจัดการปัญหาขยะมูลฝอยตกค้างสะสมในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในจังหวัดปทุมธานี

by สิริมา ปกป้อง

Title:

การจัดการปัญหาขยะมูลฝอยตกค้างสะสมในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในจังหวัดปทุมธานี

Other title(s):

Management of accumulated waste in disposal sites in Pathum Thani Province
การกำจัดขยะ -- ไทย -- ปทุมธานี
ขยะ -- ไทย -- ปทุมธานี -- การจัดการ

Author(s):

สิริมา ปกป้อง

Advisor:

จำลอง โพธิ์บุญ

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการสิ่งแวดล้อม

Degree department:

คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2018

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและสาเหตุของปัญหาขยะมูลฝอยตกค้างสะสมในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในจังหวัดปทุมธานี ศึกษาการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยตกค้างสะสมในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยและปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการดังกล่าว และเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการปัญหาขยะตกค้างสะสมในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในจังหวัดปทุมธานี การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ประชาชนที่เข้ามาคัดแยกขยะ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับภาคและระดับจังหวัด นักวิชาการอิสระ ประธานหรือผู้นำชุมชน และประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ณ สถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอก โดยใช้การวิเคราะห์ SWOT analysis ผลการศึกษา พบว่า สถานที่กำจัดมูลฝอยในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 8 แห่ง เกือบทั้งหมดดำเนินการไม่ถูกต้อง มีเพียง 1 แห่ง ที่กำจัดโดยการหมักทำปุ๋ยแบบไร้อากาศและผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อผลิตไฟฟ้า สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยทุกแห่งมีการใช้พื้นที่ฝังกลบแล้ว คิดเป็นร้อยละ 100 แต่ยังคงมีขยะมูลฝอยเข้าสู่พื้นที่ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่พบ ได้แก่ กลิ่นเหม็น น้ำชะขยะ สภาพดินข้างเคียงอาจมีการสะสมของสารมลพิษ นอกจากนี้ ยังพบปัญหาขยะจำพวกพลาสติกปลิวหล่นลงสู่ถนนและพื้นที่ข้างเคียง และบางแห่งมีการรุกที่ดินของเอกชน ปัญหาขยะมูลฝอยตกค้างสะสมมีสาเหตุสำคัญมาจาก การไม่มีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยรวมที่ถูกต้องของจังหวัด การใช้วิธีเทกองไม่ได้ใช้เทคโนโลยีกำจัดใดๆ ความล้มเหลวของระบบกำจัดขยะมูลฝอยแบบฝังกลบ จิตสำนึกของผู้ดำเนินการสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย และไม่มีการบังคับใช้กฎหมายกับสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้อง สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในจังหวัดปทุมธานี มีการดำเนินการการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยตกค้างสะสม แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) กลบทับในพื้นที่ จำนวน 3 แห่ง 2) ขนย้ายออกไปกำจัดยังสถานที่ที่ถูกต้อง จำนวน 4 แห่ง และ 3) ดำเนินการแบบผสมผสาน โดยการขนย้ายขยะมูลฝอยออกไปกำจัดยังสถานที่กำจัดที่ถูกต้อง และบางส่วนนำเข้าสู่กระบวนการคัดแยก และนำขยะพลาสติกขนส่งไปผลิตเชื้อเพลิง RDF จำนวน 1 แห่ง ซึ่งปัจจัยภายในที่มีผลต่อการจัดการ คือ ผู้บริหาร จะต้องมีจิตสำนึกและความตระหนักในการกำจัดขยะมูลฝอย ไม่คำนึงถึงเพียงผลประโยชน์ ต้องเข้าใจและให้ความสำคัญกับการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยตกค้างสะสม มีแผนงาน เป้าหมาย ระยะเวลาที่ชัดเจน มีการจัดการที่ดี มีงบประมาณในการดำเนินงานที่เพียงพอและต่อเนื่อง ปัจจัยภายนอกที่สำคัญ คือ ความชัดเจนและต่อเนื่องของนโยบายด้านการจัดการขยะมูลฝอย ฤดูกาลและสภาพภูมิอากาศ สภาวะสังคมในพื้นที่ เศรษฐกิจและการลงทุนในระบบกำจัดขยะมูลฝอย ตลอดจนผลกระทบจากการดำเนินการและการยอมรับเทคโนโลยีการกำจัดขยะมูลฝอยของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง  แนวทางที่เหมาะสมในการจัดการปัญหาขยะตกค้างสะสมในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในจังหวัดปทุมธานี เช่น เร่งดำเนินการขนย้ายขยะมูลฝอยที่ตกค้างสะสมไปกำจัดยังสถานที่ที่ถูกต้อง เร่งดำเนินการกลบทับในพื้นที่ การสร้างความเข้าใจกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการกำจัดขยะมูลฝอย และการเร่งดำเนินการปรับปรุงเป็นสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอย ตลอดจนศึกษาทางเลือกการจัดการที่ลดต้นทุนในการขนส่งไปกำจัด
The objectives of this study were: 1) to study the problems and management of accumulated waste in the disposal sites in Pathum Thani province; 2) to analyze factors affecting management of accumulated waste in the disposal sites; and 3) to suggest appropriate practices for better management of accumulated waste in the disposal sites in Pathum Thani province. The study was a qualitative research. Data were collected by document review and interviewing with key informants including administrators and officers of the disposal sites, local administrative officers, officers of the Regional Environment Office 6 (Nonthaburi), officers of relevant agencies at the provincial level, academics, communities’ leaders and residents. Non-participant observations at the disposal sites were also conducted. The results were analyzed by content analysis and SWOT analysis. The study found that most disposal sites in Pathum Thani province have been operated by incorrect methods. All of the sites used open dumping and unsanitary landfill, only one site used anaerobic digestion technology and a biogas power plant. Though all sites were full, there were incoming new solid waste in the areas. Environmental problems occurred including odor, leachate, and soil contamination which were the result of accumulated pollutants from the sites. In addition, plastic waste were blown to roads and neighboring areas. Regarding management method of the eight disposal sites in Pathum Thani Province, there were three types of accumulated waste management: 1) Unsanitary landfilling in the area (3 sites); 2) Transportation of waste to cement plants (4 sites); and 3) Integrated waste disposal method by transportation to the cement plant and separation waste for processing as RDF (1 site). The internal factors influencing the management included administrators’ consciousness and awareness of waste disposal, the benefits obtained from disposal sites, understanding and taking action to solve the problem of accumulated waste, having clear plan, project, target, schedule, right time of management, and sufficient budget. Significant external factors were clear and continuity of the policy, seasons and weather, social conditions in the area, economy and investment in waste disposal system, impact of the practices, and acceptance of disposal technologies by the local people and relevant stakeholders. Suggestions for management of accumulated waste in the disposal sites in Pathum Thani province include acceleration of transportation waste to the cement plants, applying good sanitary landfill, building understanding of local people, improvement of waste disposal systems, and acceleration of the site improvement to be a waste transfer station, as well as management options that can reduce the transportation costs.

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561

Keyword(s):

ขยะมูลฝอยตกค้างสะสม
สถานที่กำจัดขยะมูลฝอย
e-Thesis

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

244 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4518
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
b205864.pdf ( 6,880.85 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSEDA: Theses [41]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×