• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

สถานบริการตู้รับเด็กทารกและผลทางกฎหมายของอำนาจปกครองของมารดา: กรณีศึกษาเปรียบเทียบสหรัฐอเมริกา

by สุธาสินี ศรีประพิศกูร

Title:

สถานบริการตู้รับเด็กทารกและผลทางกฎหมายของอำนาจปกครองของมารดา: กรณีศึกษาเปรียบเทียบสหรัฐอเมริกา

Other title(s):

Baby drop-off box and legal results of parental rights : comparative case studies of the United State of America

Author(s):

สุธาสินี ศรีประพิศกูร

Advisor:

วริยา ล้ำเลิศ

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2018

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

เนื่องมาจากปัญหาเด็กทารกเสียชีวิตจากการถูกนำมาทอดทิ้งในสถานที่ที่ไม่ปลอดภัยของประเทศไทย เช่น ในห้องน้ำสาธารณะ ริมถนน หรือถังขยะ เป็นต้น ยังคงเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขให้ลดจำนวนลงได้ บทความวิจัยเรื่องนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายที่ไทยสมควรจะนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการถูกทอดทิ้งในสถานที่ที่ไม่ปลอดภัย จากการศึกษาเอกสารต่างประเทศพบว่าประเทศสหรัฐอเมริกาได้บัญญัติกฎหมาย Safe Haven Laws จัดตั้งสถานบริการตู้รับเด็กขึ้นในแต่ละมลรัฐเพื่อใช้แก้ปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการถูกนำไปทอดทิ้งในสถานที่ที่ไม่ปลอดภัยต่างๆ เป็นผลทำให้สถิติเด็กเสียชีวิตจากการถูกทอดทิ้งลดลง โดยกฎหมายอนุญาตให้มารดาที่ไม่พร้อมจะเลี้ยงดูบุตรของตน สามารถนำเด็กทารกมาวางไว้ในสถานบริการตู้รับเด็กได้ อีกทั้งยังให้การคุ้มครองแก่มารดาที่จะไม่ต้องเปิดเผยชื่อของตน และไม่ถูกดำเนินคดีใดๆทางกฎหมาย อีกทั้งภายหลังจากการที่มารดานำเด็กไปทอดทิ้งในสถานที่ที่ไม่ปลอดภัยต่างๆ อำนาจปกครองของมารดายังไม่สิ้นสุดลงแต่อย่างใด เจ้าหน้าที่จะต้องมีการติดตามหาตัวมารดา ประกาศติดตามบนเว็บไซต์ จนถึงที่สุดแล้วหากไม่สามารถติดตามตัวมารดาได้ จึงจะทำเรื่องยุติการติดตามมารดา และยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอถอนอำนาจปกครองของมารดา จากนั้นจึงจะสามารถส่งเด็กทารกเข้าสู่กระบวนการหาครอบครัวบุญธรรมต่อไปได้ ซึ่งไม่มีระยะเวลาที่แน่นอนที่จะใช้ในการติดตามหาตัวมารดา จึงทำให้เด็กทารกหลายรายเสียโอกาสในการที่จะได้เริ่มต้นชีวิตกับครอบครัวใหม่โดยเร็ว ในขณะที่สถานบริการตู้รับเด็กทารก ตามกฎหมาย Safe Have Laws ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาบังคับใช้อยู่นั้น มีการกล่าวถึงอำนาจปกครองของมารดาไว้เช่นเดียวกัน โดยจะมีการกำหนดกระบวนการสิ้นสุดอำนาจปกครองของมารดาไว้อย่างชัดเจน เช่น ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (Washington, D.C) อำนาจปกครองของมารดาสิ้นสุดลงทันที นับตั้งแต่มารดานำเด็กทารกมาวางที่สถานบริการตู้รับเด็กทารก โดยในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ทำการศึกษาสถานบริการตู้รับเด็กทารกใน 4 มลรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย (California)  กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (Washington, D.C) มลรัฐเทกซัส (Texas)  และมลรัฐมินนิโซตา (Minnesota) ดังนั้นจึงเห็นควรให้มีการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งสถานบริการตู้รับเด็กทารกขึ้น เพื่อใช้แก้ปัญหาเด็กทารกเสียชีวิตหรือพิการจากการถูกมารดานำไปทอดทิ้งในสถานที่ที่ไม่ปลอดภัย และเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่มารดาที่ไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรของตนได้ สามารถนำเด็กทารกไปวางในสถานที่ที่รัฐจัดตั้งไว้ให้ โดยไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ไม่มีโทษใดๆ อีกทั้งยังช่วยให้เด็กทารกได้เข้าสู่กระบวนการหาครอบครัวบุญธรรมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
This article aims to study the legal measures that Thailand should take to solve the problem of abandoned children in unsafe places. According to the study, the United States has developed Safe Haven Laws to establish a child shelter in each state to solve the problem of child death from being abandoned in unsafe places. As a result, children's deaths from abandonment have declined. The law allows mothers who are not ready to raise their children to have a save place to put them. Babies can be placed in save haven baby boxes. It also provides protection for mothers who may not reveal their names in order to avoid any litigations. When a mother abandoned a child in an unsafe place. The parental rights over the child still exist. The Save Haven staff have to try to find the mother by announcing it on their website. If the mother is not found,  the staff would file a petition in the court in order to withdraw the parental rights. The child will then be eligible for adoption. It may take a long time to find the mother. This may affect the baby from being adopted. This normally prevents a lot of babies from starting a new life with a new family. In the United States of America,  the Safe Haven Laws allow the government to stop the parental rights if the mother willingly surrendered her baby. For example,  in Washington D C (Washington, D. C.). For the purpose of this thesis, a study of infants was carried out in four states in the United States of America,  namely; California,  Washington D C ( Washington,  D. C.),  Texas (Texas)  and Minnesota. As aforementioned reason, thus, it was necessary to enact a law or regulation for save haven baby boxes. In order to solve the problem of infant death or disability as a result of being abandoned by the mother in an unsafe place. This will give the mothers an alternative option instead of abandoning children in unsafe places that are illegal. It will also help the infant to get into the process of finding adoptive families.

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561

Subject(s):

ทารก
อำนาจปกครองบุตร
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ครอบครัว

Keyword(s):

สถานบริการตู้รับเด็กทารก
อำนาจปกครองของมารดา
e-Thesis

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

174 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4520
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b205865.pdf ( 3,133.20 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [187]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×