ชื่อเรื่อง:
|
อุดมการณ์การเมือง (7) สังคมนิยม ประชาธิปไตยสังคมและวิถีที่สาม
|
ผู้แต่ง:
|
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
|
วันที่เผยแพร่:
|
2562-08-24
|
ข้อมูลอ้างอิง:
|
ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 ํ วันเสาร์ที่ 24 - วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม 2562
|
หน่วยงานที่เผยแพร่/จัดพิมพ์:
|
ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 ํ
|
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:
|
อุดมการณ์สังคมนิยมมีชะตากรรมไม่แตกต่างจากอุดมการณ์อื่น ๆ ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้มากนัก นั่นคือ มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงตามพัฒนาของสังคม หลักคิดสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์แบบสุดขั้วได้ล้มตายหายไปจนเกือบสูญสลายจากสนามการเมือง ทว่า หลักคิดสำคัญหลายประการของสังคมนิยมยังคงได้รับการนำไปใช้ภายใต้การปรับชื่อใหม่เป็น "ประชาธิปไตยสังคม" หรือ "สังคมนิยมประชาธิปไตย" และต่อมาก็มีการปรับอีกครั้งกลายเป็นอุดมการณ์ที่เรียกว่า "วิธีที่สาม" ซึ่งมีบทบาทในเวทีการเมืองและการพัฒนาระดับโลกอยู่ไม่น้อยในปัจจุบัน แก่นความคิดดั้งเดิมของสังคมนิยมคือการยึดถือความเป็นชุมชน การร่วมมือ ความเท่าเทียม การเมืองของชนชั้นและกรรมสิทธิ์ร่วม สังคมนิยมมองว่าการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมสำเร็จได้ด้วยชุมชน มิใช่ปัจเจกบุคคล การกระทำร่วมกันของมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายของสังคม ดังนั้น ชาวสังคมนิยมจึงเห็นว่า มนุษย์ทุกคนเป็นสหายและพี่น้องกัน และเชื่อมโยงด้วยพันธะแห่งความเป็นมนุษย์ชาติซึ่งคือ หลักการของภราดรภาพ (ความเป็นพี่น้องกัน) นั่นเอง ด้านของประชาธิปไตยสังคมยึดถือหลักการสังคมนิยมเชิงคุณธรรม โดยมองว่ามนุษย์ถูกสร้างให้มีคุณธรรมเป็นพื้นฐาน มนุษย์เชื่อมโยงกันด้วยสายใยแห่งความรัก ความเห็นอกเห็นใจและความเมตตากรุณา ทัศนะทางคุณธรรมที่เป็นฐานของสังคมนิยมคุณธรรมมีรากฐานมาจากหลักการแห่งความเป็นมนุษย์และศาสนา และหลักอีกอย่างหนึ่งคือ ความยุติธรรมทางสังคมอันได้แก่ การกระจายความมั่งคั่งของสังคมอย่างเป็นธรรม มีศีลธรรม และมีนัยเชื่อมโยงกับความเท่าเทียมทางสังคม ส่วนในด้านของ วิถีที่สาม เรียกโดยรวมว่า เสรีนิยมแบบชุมชนนิยม (Communitarian Liberalism) ซึ่งเป็นการผสมผสานหลักคิดของเสรีนิยมใหม่กับหลักคิดแบบชุมชนนิยมเข้าด้วยกัน และแก่นของความคิดนี้คือ สิทธิและความรับผิดชอบเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นเนื้อเดียว ซึ่งไม่สามารถตัดหรือแยกออกจากกันได้ ทางด้าน อุดมการณ์ประชาธิปไตยสังคมปรากฎในสังคมไทยในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในเดือนมีนาคม 2562 พรรคการเมืองที่มีร่อยรอยของการยึดถือและใช้อุดมการณ์นี้ได้ปรากฎตัวขึ้นในรัฐสภาแล้ว คือ พรรคอนาคตใหม่ แต่ทว่า อุดมการณ์ของพรรคนี้มิได้เป็นประชาธิปไตยสังคมอย่างเดียว หากแต่มีส่วนผสมของเสรีนิยมสมัยใหม่ และอุดมการณ์อื่น ๆ อีกหลายประการ
|
คำสำคัญ/ศัพท์อิสระ:
|
อุดมการณ์การเมือง; สังคมนิยม; ประชาธิปไตยสังคม; วิถีที่สาม; พรรคอนาคตใหม่
|
หัวเรื่องควบคุม:
|
อุดมการณ์การเมือง; สังคมนิยม; ประชาธิปไตยสังคม; วิถีที่สาม
|
ความยาว:
|
3 หน้า
|
ประเภททรัพยากร:
|
Text
|
รูปแบบแฟ้มข้อมูล:
|
application/pdf
|
ภาษา:
|
tha
|
ผู้ครอบครองสิทธิ์:
|
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 ํ
|
URI:
|
http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4539
|