ชื่อเรื่อง:
|
อุดมการณ์การเมือง (10) รากฐานนิยมทางศาสนา
|
ผู้แต่ง:
|
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
|
วันที่เผยแพร่:
|
2562-09-14
|
ข้อมูลอ้างอิง:
|
ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 ํ วันเสาร์ที่ 14 - วันศุกร์ที่ 20 เมษายน 2562
|
หน่วยงานที่เผยแพร่/จัดพิมพ์:
|
ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 ํ
|
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:
|
อุดมการณ์รากฐานนิยมทางศาสนาเป็นอุดมการณ์ที่ไม่ยอมรับว่าการเมืองและศาสนาแยกออกจากกัน ตรงกันข้ามมองว่า การเมืองคือศาสนา ซึ่งมีนัยว่าหลักการศาสนาไม่จำกัดขอบเขตเพียงชีวิตส่วนตัวของบุคคล แต่เป็นหลักการของสาธารณะ ซึ่งผนึกรวมทั้งกฎหมาย กิจกรรมทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองเข้าด้วยกัน เป้าหมายของรากฐานนิยมทางศาสนาคือ การสร้างรัฐในรูปแบบใหม่บนพื้นฐานหลักการทางศาสนา มีหลักฐานว่า ขบวนการรากฐานนิยมมิได้จำกัดขอบเขตเฉพาะศาสนาอิสลามเท่านั้น หากแต่แพร่ขยายไปสู่ศาสนาอื่นด้วย เช่น กลุ่มคริสเตียนฝ่ายขวา ในประเทศสหรัฐอเมริกา กลุ่มศาสนาฮินดูและศาสนาซิกข์ในประเทศอินเดีย ในยุคแห่งเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้กลุ่มรากฐานนิยมทางศาสนาสามารถใช้สื่อสังคมออนไลน์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรทัศน์ และวิทยุแพร่ขยายความคิด ความเชื่อ และการจัดตั้งองค์การให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และส่งผลให้อุดมการณ์รากฐานนิยมทางศาสนายิ่งขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น กลุ่มรากฐานนิยมทางศาสนาที่ทรงอิทธิพลทางการเมืองในระดับโลกมากที่สุดเห็นจะเป็น กลุ่มรากฐานนิยมอิสลาม ซึ่งประสบความสำเร็จในการสถาปนารัฐอิสลามขึ้นในประเทศอิหร่าน และส่งออกอุดมการณ์ไปยังประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศ สำหรับประเทศไทยกลุ่มรากฐานนิยมอิสลามมีการเคลื่อนไหวในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหลัก ถัดมาเป็นกลุ่มรากฐานนิยมคริสเตียน ซึ่งมีการเคลื่อนไหวในประเทศตะวันตกเป็นหลัก บางประเทศมีการจัดตั้้งเป็นพรรคการเมืองเพื่อแข่งขันในสนามเลือกตั้ง ส่วนกลุ่มรากฐานนิยมศาสนาอื่น ๆ ก็มีเช่น กลุ่มไซออนนิสต์ ซึ่งเป็นกลุ่มรากฐานนิยมศาสนายิว กลุ่มรากฐานนิยมศาสนาฮินดู และศาสนาซิกข์นิยมในประเทศอินเดีย และกลุ่มรากฐานนิยมศาสนาพุทธในประเทศศรีรังกา เมียนมา และไทย
สำหรับพรรคการเมืองของไทย มีพรรคการเมืองบางพรรคใช้หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นแนวนโยบายสำหรับรณรงค์หาเสียงในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา และมีผู้สมัครของพรรคการเมืองบางพรรคที่เป็นตัวแทนศาสนาพุทธบางลัทธิได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. แม้ว่าในปัจจุุบันผู้มีความคิดแบบรากฐานนิยมทางศาสนายังมีบทบาทไม่มากนักในการเมืองไทย แต่อุดมการณ์แบบรากฐานนิยมทางศาสนาก็มีแนวโน้มแพร่กระจายและได้รับการยึดถือจากประชาชนมากขึ้น และคาดว่าในอนาคตบทบาททางการเมืองของอุดมการณ์รากฐานนิยมทางศาสนาจะมีมากขึ้นตามลำดับ
|
คำสำคัญ/ศัพท์อิสระ:
|
อุดมการณ์การเมือง; อุดมการณ์ศาสนานิยม
|
หัวเรื่องควบคุม:
|
อุดมการณ์การเมือง; รากฐานนิยมทางศาสนา; การเมืองคือศาสนา; อุดมการณ์ศาสนานิยม
|
ความยาว:
|
3 หน้า
|
ประเภททรัพยากร:
|
Text
|
รูปแบบแฟ้มข้อมูล:
|
application/pdf
|
ภาษา:
|
tha
|
ผู้ครอบครองสิทธิ์:
|
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 ํ
|
URI:
|
http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4620
|