ชื่อเรื่อง:
|
อุดมการณ์การเมือง (11) สตรีนิยม ความยากลำบากในการข้ามพ้นปิตาธิปไตย
|
ผู้แต่ง:
|
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
|
วันที่เผยแพร่:
|
2562-09-21
|
ข้อมูลอ้างอิง:
|
ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 ํ วันเสาร์ที่ 21 - วันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2562
|
หน่วยงานที่เผยแพร่/จัดพิมพ์:
|
ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 ํ
|
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:
|
จุดเริ่มต้นยุคแรกของ สตรีนิยม เกิดกลางศตวรรษที่ 19 บนฐานของการเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศทั้งในเรื่องสิทธิทางการเมืองและกฎหมาย โดยเฉพาะสิทธิในการเลือกตั้ง ถัดมาในทศวรรษที่ 1960 และ 1970 สตรีนิยมมีการเคลื่อนไหวและการจัดตั้งความคิดเข้มข้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะความคิดเกี่ยวกับการปลดปล่อยสตรีให้เป็นอิสระจากการครอบงำของความคิดปิตาธิปไตย(ระบบพ่อปกครองลูก) และมีอำนาจกำหนดปริมณฑลส่วนตนด้วยตนเอง แก่นความคิดหลักของสตรีนิยมมีสี่ประการคือ การให้คำนิยามการเมืองแบบใหม่ การวิพากษ์อุดมการณ์ปิตาธิปไตย เพศและเพศสภาพ และความเท่าเทียมและความแตกต่าง ด้านการเมืองในโลกตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันเป็นการเมืองของบุรุษ และความเป็นบุรุษนี้เชื่อมโยงกับพื้นที่สาธารณะหรือสังคม ทั้งที่เกี่ยวข้องกับการเมือง การศึกษา อาชีพ ศิลปะ และวรรณกรรม สตรีนิยมมีความคิดที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการเมืองแบบ บุรุษชีวิตสาธารณะ เป็นการเมืองแบบ สตรีชีวิตส่วนตัว ซึ่งเป็นการเมืองที่เน้นและให้ความสนใจเรื่องบทบาทครอบครัว บทบาทการกำเนิดเด็ก การเลี้ยงดูเด็ก และการทำงานในครอบครัว ด้านสตรีนิยมมี 4 อุดมการณ์ย่อย คือ สตรีนิยมแบบเสรีนิยม สตรีนิยมแบบสังคมนิยม สตรีนิยมแบบเข้มข้น และสตรีนิยมแบบคลื่นที่สาม สตรีนิยมส่วนใหญ่ยังคงยึดมั่นและศรัทธาต่อเป้าหมายของความเท่าเทียมทางเพศและเชื่อว่าสามารถสถาปนาความสมานฉันท์ระหว่างเพศได้ โดยเฉพาะสังคมที่ไม่มีการเหยียดเพศ ในสังคมไทยผู้หญิงมีสิทธิเลือกตั้งอย่างเป็นทางการพร้อม ๆ กับผู้ชาย ตั้งแต่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นครั้งแรกขบวนการสตรีนิยมในสังคมไทยมีการเคลื่อนไหวโดยวิชาการและองค์การพัฒนาเอกชนบางกลุ่ม อย่างไรก็ตามความคิดแบบสตรีนิยมแบบเสรีนิยมมีอิทธิพลต่อสังคมไทยในปัจจุบันไม่น้อย จึงทำให้มีการส่งเสริมบทบาทและกำหนดมาตรการเสริมสร้างสิทธิทางการเมืองของสตรีมากขึ้น รวมถึงมีการจัดตั้งหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เพื่อส่งเสริมบทบาทและสิทธิของสตรีให้มีความเท่าเทียมกับบุรุษ แต่ยังมีความเป็นจริงอย่างหนึ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ก็คือ สังคมไทยอุดมไปด้วยความคิดและความเชื่อแบบปิตาธิปไตยหรือบิดา (ผู้ชาย) เป็นใหญ่ ซึ่งยังคงเป็นความคิดกระแสหลักที่ครอบงำผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม การขยายบทบาทสตรีให้เพิ่มมากขึ้นจนมีความเท่าเทียมกับบุรุษในปริมณฑลทางการเมือง วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องมีการต่อสู้ทางความคิด ทางวัฒนธรรมและทางการเมืองอีกยาวนาน
|
คำสำคัญ/ศัพท์อิสระ:
|
อุดมการณ์การเมือง; สตรีนิยม; ปิตาธิปไตย
|
หัวเรื่องควบคุม:
|
อุดมการณ์การเมือง; สตรีนิยม; ปิตาธิปไตย
|
ความยาว:
|
2 หน้า
|
ประเภททรัพยากร:
|
Text
|
รูปแบบแฟ้มข้อมูล:
|
application/pdf
|
ภาษา:
|
tha
|
ผู้ครอบครองสิทธิ์:
|
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 ํ
|
URI:
|
http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4621
|