ชื่อเรื่อง:
|
อุดมการณ์การเมือง (13-1) ฟาสซิสต์-ต่อต้านเหตุผล นิยมการต่อสู้ บูชาผู้นำ และชังเชื้อชาติ
|
ผู้แต่ง:
|
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
|
วันที่เผยแพร่:
|
3105-10-12
|
ข้อมูลอ้างอิง:
|
ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 ํ วันเสาร์ที่ 12 - วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2562
|
หน่วยงานที่เผยแพร่/จัดพิมพ์:
|
ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 ํ
|
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:
|
ฟาสซิสต์ในฐานะอุดมการณ์ทางการเมืองปรากฎขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และมีบทบาทสำคัญต่อเนื่องมาจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากนั้นก็จางหายไปจากพื้นที่การเมืองที่เป็นทางการ ทว่า ยังคงมีกลุ่มการเมืองใต้ดินในหลายประเทศที่ยึดมั่นอุดมการณ์ฟาสซิสต์ไม่เสื่อมคลาย แก่นความเชื่อของฟาสซิสต์คือ ต่อต้านเหตุผล นิยมการต่อสู้ บูชาผู้นำและชังเชื้อชาติ ฟาสซิสต์เป็นอุดมการณ์แห่งศตวรรษที่ 20 เป็นปฏิกิริยาต่อต้านความทันสมัย ต่อต้านความคิดและค่านิยมของยุคแห่งการตื่นรู้ทางปัญญา และลัทธิการเมืองที่มีรากฐานทางปัญญาจากยุคนั้น สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือคำขวัญของฟาสซิสต์ในอิตาลี ซึ่งประกอบด้วย ความเชื่อ การเชื่อฟัง การต่อสู้ และระเบียบ เข้ามาแทนที่คำขวัญ เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ แห่งการปฏิวัติฝรั่งเศส ส่วนแก่นความคิดหลักของอุดมการณ์ฟาสซิสต์มีห้าประเด็น คือ การต่อต้านเหตุผลนิยม การเชิดชูการต่อสู้ดิ้นรน การบูชาผู้นำและชนชั้นนำ สังคมนิยม และชาตินิยมสุดขั้ว ฟาสซิสต์มองว่า ชีวิตที่มุ่งสติปัญญาเป็นชีวิตที่เย็นชา แห้งแล้ง และไร้ชีวิตชีวา ซึ่งเป็นชีวิตที่ไม่น่าพึงปรารถนา ชีวิตที่พึงปรารถนาคือชีวิตที่เปี่ยมล้นด้วยจิตวิญญาณ การแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกและการใช้สัญชาตญาณ ฟาสซิสต์จึงใช้การโฆษณาชวนเชื่อให้ผู้คนจมอยู่ในอารมณ์และความเชื่อ ซึ่งจะกระตุ้นการกระทำทางการเมืองตามมา ด้านลัทธิบูชาผู้นำ และเทิดทูนชนชั้นนำ ฟาสซิสต์ปฏิเสธความเท่าเทียม และมีฐานคิดแบบชนชั้นนำนิยมและผู้ชายเป็นใหญ่ ชาวฟาสซิสต์เชื่อว่า มนุษย์เกิดมามีความแตกต่างทั้งความสามารถและบุคลิกภาพ มีคนจำนวนน้อยเท่านั้นที่เกิดมาเป็นผู้นำ และยังมีแนวคิดชาตินิยมสุดขั้ว ฟาสซิสต์เชื่อว่าชาติบางชาติมีความพิเศษเหนือกว่าชาติอื่นทั้งมวล โดยเฉพาะเชื้อชาติอารยันของชาวนาซี เป็นเชื้อชาติที่เป็นนายเหนือเชื้อชาติทั้งปวงในโลก ความเชื่อและแนวทางปฏิบัติของฟาสซิสต์ให้ความสำคัญกับรัฐ และเชื้อชาติเป็นอย่างมาก โดยมองว่ารัฐเป็นกลไกสำคัญในการแก้ปัญหาและสร้างหลักประกันของการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับเชื้อชาติ และการนำไปสู่การสร้างลัทธิเหยียดเชื้อชาติ ซึ่งนำไปสู่ความรุนแรงและการทำลายชีวิตของผู้คนจำนวนมหาศาล
|
คำสำคัญ/ศัพท์อิสระ:
|
อุดมการณ์การเมือง; ฟาสซิสต์; สังคมนิยม
|
หัวเรื่องควบคุม:
|
อุดมการณ์การเมือง; ฟาสซิสต์
|
ความยาว:
|
3 หน้า
|
ประเภททรัพยากร:
|
Text
|
รูปแบบแฟ้มข้อมูล:
|
application/pdf
|
ภาษา:
|
tha
|
ผู้ครอบครองสิทธิ์:
|
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 ํ
|
URI:
|
http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4636
|