• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดของนักศึกษาที่มีต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาระดับปริญญาตรี นอกเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

by อยับ ซาดัดคาน

Title:

ปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดของนักศึกษาที่มีต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาระดับปริญญาตรี นอกเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Other title(s):

Push and pull factors causing students to decide to pursue an undergraduate study outside the three southernmost border provinces

Author(s):

อยับ ซาดัดคาน

Advisor:

บุญอนันต์ พินัยทรัพย์

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2015

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสาเหตุของการตัดสินใจเลือกศึกษาระดับ ปริญญาตรี นอกเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ใช้ในการตัดสินใจ เลือกศึกษาระดับปริญญาตรี นอกเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ ของเหตุจูงใจภายในที่เป็นแรงผลักดัน กับ เหตุจูงใจในการกำหนดจุดหมายปลายทางที่ดึงดูดให้ นักศึกษาเลือกศึกษาระดับปริญญาตรี นอกเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ ทำการศึกษาปัจจัยผลักดัน 3 ด้านได้แก่ 1) ด้านความคาดหวัง 2) ด้านข้อผูกพัน 3) ด้านแรงเสริม/ แรงกระตุ้น และศึกษาปัจจัยดึงดูด 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านจุดมุ่งหมาย 2) ด้านความเชื่อ 3) มาตรฐาน ค่านิยม 4) นิสัยและความเคยชินที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาระดับปริญญาตรี นอกเขตพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วยเหตุผล 5 เหตุผล ได้แก่ 1) ความต้องการพัฒนาตนเอง 2) ความต้องการพัฒนาอาชีพ 3) ความต้องการหลบหลีกปัญหาความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ 4) ความต้องการพัฒนาสถานภาพทางสังคม และ 5) ความต้องการด้านอื่นๆ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประชากร คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปี ที่ 1-4 จำนวน 380 คน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคใต้ 4 แห่งคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การ คำนวณค่าทางสถิติการแจกแจงความถี่และแปลงเป็นค่าร้อยละ (Percentage) การหาค่าเฉลี่ย ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติไคสแควร์ (Chi-square) สถิติ t (t-test Analysis) ความแปรปรวนทาง เดียว (One-Way Analysis of Variance) และวิเคราะห์เชิงพรรณนา ส่วนการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยจะใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นเครื่องมือหลักในการเก็บข้อมูล ประกอบกับข้อมูลจาก เอกสารและการสังเกตการณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความครอบคลุม
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีสาเหตุในการตัดสินใจเลือกศึกษาระดับ ปริญญาตรี นอกเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะต้องการพัฒนาตนเองมากที่สุด คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 56.1 รองลงมา ตัดสินใจเลือกศึกษาเพราะต้องการพัฒนาสถานภาพทางสังคม คิด เป็นสัดส่วนร้อยละ 21.6 ตัดสินใจเลือกเพราะต้องการพัฒนาอาชีพที่สัดส่วนร้อยละ 11.1 ตัดสินใจ เลือกเพราะต้องการหลบหลีกปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สัดส่วนร้อยละ 10.5 และ อื่นๆ ร้อย ละ 0.8 ตามลำดับ และเมื่อศึกษาถึงปัจจัยผลักดัน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็น ด้านความ คาดหวัง มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาระดับปริญญาตรี นอกเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในระดับมาก ส่วนการศึกษาปัจจัยดึงดูด พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็น ด้านจุดมุ่งหมาย ด้าน ความเชื่อ และด้านมาตรฐานค่านิยม มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาระดับปริญญาตรี นอกเขตพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ในระดับมาก
นอกจากนั้น เมื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยผลักดัน ที่มีผลต่อการ ตัดสินใจของนักศึกษา จำแนกตามเหตุผลที่ใช้ในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วน ใหญ่ทั้งที่มีเหตุผลเพื่อต้องการพัฒนาตนเอง เพื่อต้องการพัฒนาสถานภาพทางสังคม เพื่อต้องการ หลบหลีกปัญหาความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพื่อต้องการพัฒนาอาชีพมี ความคิดเห็นว่า ความคาดหวัง มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาระดับปริญญาตรี นอกเขตพื้นที่สาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ มากที่สุด ส่วนการเปรียบเทียบปัจจัยดึงดูด ที่มีผลต่อการตัดสินใจของ นักศึกษา จำแนกตามเหตุผลที่ใช้ในการตัดสินใจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเหตุผลที่ใช้ในการตัดสินใจ เลือกศึกษาระดับปริญญาตรี นอกเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อต้องการพัฒนาตนเอง และเพื่อต้องการหลบหลีกปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความคิดเห็นว่า จุดมุ่งหมาย มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาระดับปริญญาตรี นอกเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดน ภาคใต้ มากที่สุด
ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ระดับคุณภาพการศึกษา การให้บริการการศึกษาในพื้นที่ คุณภาพของบุคลากร สภาพสังคม และสภาพแวดล้อมทางกายภาพในพื้นที่สามจังหวัดชายแดน ภาคใต้ มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาระดับปริญญาตรี นอกเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ทั้งนี้ ผลการศึกษาทำให้นำไปสู่แนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่สาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนนำผลการศึกษาไปต่อยอดการสร้างผลงานวิจัยต่อไป

Description:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

Subject(s):

การศึกษาขั้นอุดมศึกษา -- ไทย

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

283 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4637
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b191028.pdf ( 1,975.87 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×