• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการผลักดันวาระนโยบายด้านปัญหาแรงงานต่างด้าว : กรณีศึกษาเทศบาลนครสมุทรสาคร

by จินดา ธำรงอาจริยกุล

Title:

บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการผลักดันวาระนโยบายด้านปัญหาแรงงานต่างด้าว : กรณีศึกษาเทศบาลนครสมุทรสาคร

Other title(s):

The role of local government for agenda setting in foreign worker's problem : a case study of Samutsakhon Municipality

Author(s):

จินดา ธำรงอาจริยกุล

Advisor:

จันทรานุช มหากาญจนะ

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Issued date:

2014

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาเรื่องบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับผลักดันวาระนโยบายด้านปัญหาแรงงานต่างด้าว: กรณีศึกษาเทศบาลนครสมุทรสาคร มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและผลกระทบของปัญหาแรงงานต่างด้าวต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาปัจจัยในการผลักดันวาระนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยศึกษากรณีผลักดันวาระนโยบายการกำหนดนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าว
ศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และใช้ข้อมูลในการประกอบการวิจัย เช่น กฎหมาย ระเบียบ พระราชบัญญัติ ตำรา เอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และทำการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participative Observation) ผู้วิจัยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจงใจ (Purposive Sampling) โดยแบ่งการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลเป็น 2 กลุ่ม คือ 1)ฝ่ายบริหาร 2) ฝ่ายปฏิบัติการ และกลุ่มของผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหา
ผลการศึกษาพบว่าปัญหาแรงงานต่างด้าวในพื้นที่เทศบาลนครสมุทรสาครที่ได้ทำการศึกษาแบ่งเป็น 3 ด้าน กล่าวคือ 1) ด้านสังคม ได้แก่ ปัญหาความไม่เข้าใจในความแตกต่างทางวัฒนธรรม 2) ด้านสาธารณสุข ได้แก่ ปัญหาสาธารณสุข เช่น การกลับมาของโรคติดต่อที่หายไปแล้วจากสังคมไทย การขาดสุขลักษณะที่ดี 3) ด้านเศรษฐกิจได้แก่ การแย่งอาชีพคนไทย การย้ายงานกะทันหันทำให้นายจ้างเสียผลประโยชน์และกลายเป็นแรงงานผิดกฎหมาย
การศึกษาปัจจัยในการผลักดันวาระนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น พบว่า 1)ปัจจัยด้านผลกระทบของปัญหา พบว่า ปัญหาแรงงานต่างด้าวในพื้นที่เทศบาลนครสมุทรสาครเป็นปัญหาที่เห็นได้ชัดเจน โดยพื้นที่ที่มีปัญหานั้นส่วนมากเป็นชุมชนที่มีคนต่างด้าวอยู่เป็นจำนวนมากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของเทศบาลนครสมุทรสาครมองว่าปัญหาแรงงานต่างด้าวมีความรุนแรงไม่มาก ต่างจากประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบที่มีความเห็นว่าปัญหาดังกล่าวมีความรุนแรงควรเร่งแก้ไข 2) ปัจจัยการเปรียบเทียบและล้นออกมาจากปัญหาเดิม พบว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมาเทศบาลนครสมุทรสาครไม่เคยมีการกำหนดนโยบาย แผนงาน หรือโครงการใดๆที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาแรงงานต่างด้าวเลย และการดำเนินการเรื่องแรงงานต่างด้าวของเทศบาลนครสมุทรสาครจะเป็นไปในลักษณะของการปฏิบัติตามคำสั่งจากหน่วยงานส่วนภูมิภาคทั้งสิ้น 3) ปัจจัยด้านความสัมพันธ์กับสัญลักษณ์ที่สังคมรับรู้อยู่แล้ว พบว่า ปัญหาที่เทศบาลนครสมุทรสาครต้องเผชิญและปัญหาดังกล่าวก็มีความรุนแรงมากขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนคนต่างด้าวในพื้นที่ คือปัญหาความแออัด ปัญหาขยะมูลฝอย และ ปัญหาการจราจร 4) ปัจจัยการขาดเครื่องมือทางภาคเอกชนกลไกตลาดของภาคเอกชนไม่ครอบคลุมถึงผลกระทบจากแรงงานต่างด้าวที่มีหลายด้านการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวจึงเป็นการดำเนินงานภายในองค์กร อีกทั้งลักษณะการรวมกลุ่มของภาคเอกชนในพื้นที่เทศบาลนครสมุทรสาครยังไม่มีแรงผลักดันมากพอในการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย5)ปัจจัยการมีเทคโนโลยีที่เพียงพอ เทศบาลนครสมุทรสาครมีศักยภาพที่เพียงพอในการจัดการกับปัญหาแรงงานต่างด้าวไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ บุคลากร เทคโนโลยี สถานที่ แต่อุปสรรคสำคัญในการดำเนินการก็คือ กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่ไม่ได้ให้อำนาจดำเนินการเรื่องดังกล่าวแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จากผลการศึกษาผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดอำนาจหน้าที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีภาระที่จะต้องรับผิดชอบแรงงานต่างด้าวให้ชัดเจนโดยเฉพาะด้านความซ้ำซ้อนกันระหว่างส่วนภูมิภาคและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงการจัดสรรสัดส่วนรายได้ที่ได้จากกระบวนการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสร้างร่วมมือระหว่างภาคประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคธุรกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการสำรวจปัญหาและผลกระทบจากแรงงานต่างด้าวอย่างจริงจัง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนรอบด้านจากทุกฝ่ายถึงความสำคัญและระดับความรุนแรงของปัญหาแรงงานต่างด้าว อันจะนำมาสู่การผลักดันนโยบายหรือมาตรการในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) หากการเคลื่อนย้ายแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเกิดการไหลออกของแรงงาน หรือทะลักเข้ามาทำงานในพื้นที่มากขึ้น

Description:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557

Subject(s):

แรงงานต่างด้าว -- ปัญหา
แรงงานต่างด้าว -- นโยบายของรัฐ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

152

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4638
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b191040.pdf ( 4,222.64 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×