กลุ่มพันธมิตรสายการบิน : ผลกระทบต่อราคาค่าโดยสารและรายรับของสายการบินในเส้นทางระหว่างศูนย์กลางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิค
Files
Publisher
Issued Date
2014
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
170
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b191064
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ฐณวุฒ ชุติพงศ์เดช (2014). กลุ่มพันธมิตรสายการบิน : ผลกระทบต่อราคาค่าโดยสารและรายรับของสายการบินในเส้นทางระหว่างศูนย์กลางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิค. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4642.
Title
กลุ่มพันธมิตรสายการบิน : ผลกระทบต่อราคาค่าโดยสารและรายรับของสายการบินในเส้นทางระหว่างศูนย์กลางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิค
Alternative Title(s)
International airline alliance : its effects on trans Pacific Interhub Airfare and Revenue
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
ภายหลังการเริ่มรวมกลุ่มและก่อตั้งเป็นกลุ่มพันธมิตรสายการบินได้ เริ่มมีนักเศรษฐศาสตร์ตั้งข้อสังเกตถึงลักษณะของการต้านการแข่งขันภายในเส้นทางบิน โดยเฉพาะเส้นทางบินที่มีลักษณะบินเชื่อมระหว่างศูนย์กลางการบินของแต่ละประเทศว่า การรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรสายการบินก่อให้เกิดพฤติกรรมการผูกขาดภายในเส้นทางบินแม้ว่ากลุ่มพันธมิตรสายการบินจะเอื้อประโยชน์ให้การเดินทางระหว่างประเทศของผู้โดยสารสะดวกสบายขึ้นจึงได้เริ่มมีงานวิจัยทาการศึกษาในประเด็นของกลุ่มพันธมิตรสายการบินต่อราคาและผู้โดยสารอย่างต่อเนื่องอย่างไรก็ตามผลการวิจัยในประเด็นการรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรสายการบินที่มีต่อราคาค่าโดยสารนั้น ยังไม่ชัดเจนเนื่องจากลักษณะข้อมูลของข้อมูลที่แตกต่างกัน ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้จึงได้หยิบยกประเด็นดังกล่าวมาศึกษาโดยอาศัยเส้นทางบินระหว่างศูนย์กลางการบินข้ามมหาสมุทรแปซิฟิคมาเป็นกลุ่มตัวอย่าง
วัตถุประสงค์หลักสองประการในการศึกษาในครั้งนีคื้อ ศึกษาลักษณะโครงสร้างตลาดเส้นทางบินจากการรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรสายการบินว่ามีลักษณะตามแนวคิดของตลาดที่เข้าข่ายการแข่งขันสมบูรณ์ (Contestable Markets) ตามแบบของ Baumol, Panzar and Willig (1988)หรือไม่ โดยอาศัยแบบจาลองลักษณะของโครงสร้างตลาดของ Hurdle et al. (1989) ประการที่สองอาศัยกรอบแนวคิดของ Brueckner and Whalen (2000) เพื่อทาการตรวจสอบว่า การรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรสายการบินในเส้นทางระหว่างศูนย์กลางการบินมีผลต่อราคาค่าโดยสารในเส้นทางบินอย่างไร ซึ่งผลการศึกษาโดยใช้วิธีกาลังสองน้อยที่สุดกับตัวอย่างเส้นทางข้ามศูนย์กลางการบินระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิคที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชัน้ ภูมิจานวน 183 เส้นทาง พบว่าโครงสร้างตลาดของเส้นทางข้ามศูนย์กลางการบินระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิคไม่ได้มีลักษณะของโครงสร้างตลาดใกล้เคียงกับแนวคิดตลาดที่เข้าข่ายการแข่งขันสมบูรณ์ตามแบบของ Baumol,Panzar and Willig (1988) แต่อย่างใดโดยโครงสร้างตลาดเส้นทางข้ามศูนย์กลางการบินระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิคมีลักษณะใกล้เคียงกับตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ เนื่องจากการรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรสายการบินส่งผลให้อัตราการกระจุกตัวของหน่วยผลิต (HHI) ในเส้นทางบินสูงขึ้นผลของการทดแทนกันของผู้ผลิตในมุมมองของผู้โดยสารลดลง สายการบินมีอานาจในการกำหนดราคาค่าโดยสารเนื่องจากความยืดหยุ่นของอุปสงค์การเดินทางโดยสารด้วยเครื่องบินต่า ดังนั้นการขึ้นราคาค่าโดยสารทาให้อุปสงค์การเดินทางด้วยเครื่องบินในเส้นทางระหว่างศูนย์กลางการบินลดลง รายรับในของสายการบินในรูปของ RPKs ซึ่งคำนวณมาจากจำนวนผู้โดยสารคูณด้วยระยะทาง จึงลดลง 22.43 ดอลลาร์สหรัฐ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติโดยราคาค่าโดยสารที่สูงขึ้นของสายการบินในเส้นทางที่มีการรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรสายการบิน เมื่อตรวจสอบด้วยแบบจำลองของ Brueckner and Whalen (2000) พบว่า การรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรสายการบินส่งผลให้ราคาค่าโดยสารสูงขึน้ ร้อยละ 1.4 แต่การวิเคราะห์ดังกล่าวไม่มีนัยสาคัญทางสถิติ
แม้ว่าโอกาสที่ราคาค่าโดยสารจะปรับสูงขึ้นจากผลของการรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรสายการ บินนั้น จะน้อยกว่าร้อยละ 90 แต่หน่วยงานของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกากับ ดูแลพฤติกรรม ของสายการบินและกำหนดนโยบายการแข่งขันในอุตสาหกรรมการบินพาณิชย์อย่างสำนักงาน คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าไม่ควรนิ่งนอนใจและควรให้ความสนใจในการตรวจสอบอยู่ เสมอว่า พฤติกรรมหรือยุทธศาสตร์ในการทาข้อตกลงร่วมมือทางการค้าระหว่างสายการบินมี ลักษณะที่เป็นการกีดกันการแข่งขันระหว่างสายการบินภายในตลาดเส้นทางบินหรือไม่ โดยเฉพาะ ในช่วงของการเตรียมความพร้อมในการเปิดเขตการบินเสรีร่วมภายในภูมิภาคอาเซียน (ASAM) ใน ปี 2558 เป็นต้นไป ซึ่งพฤติกรรมในการกาหนดราคาค่าโดยสารของสายการบินอาจส่งผลให้ แนวโน้มของราคาค่าโดยสารในเส้นทางบิน โดยเฉพาะเส้นทางที่มีลักษณะเชื่อมศูนย์กลางการบิน หรือย่านสำคัญทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ปรับตัวสูงขึ้น จากอำนาจเหนือตลาดที่มาจากการ รวมกลุ่มเป็นพันธมิตรสายการบิน
วัตถุประสงค์หลักสองประการในการศึกษาในครั้งนีคื้อ ศึกษาลักษณะโครงสร้างตลาดเส้นทางบินจากการรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรสายการบินว่ามีลักษณะตามแนวคิดของตลาดที่เข้าข่ายการแข่งขันสมบูรณ์ (Contestable Markets) ตามแบบของ Baumol, Panzar and Willig (1988)หรือไม่ โดยอาศัยแบบจาลองลักษณะของโครงสร้างตลาดของ Hurdle et al. (1989) ประการที่สองอาศัยกรอบแนวคิดของ Brueckner and Whalen (2000) เพื่อทาการตรวจสอบว่า การรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรสายการบินในเส้นทางระหว่างศูนย์กลางการบินมีผลต่อราคาค่าโดยสารในเส้นทางบินอย่างไร ซึ่งผลการศึกษาโดยใช้วิธีกาลังสองน้อยที่สุดกับตัวอย่างเส้นทางข้ามศูนย์กลางการบินระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิคที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชัน้ ภูมิจานวน 183 เส้นทาง พบว่าโครงสร้างตลาดของเส้นทางข้ามศูนย์กลางการบินระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิคไม่ได้มีลักษณะของโครงสร้างตลาดใกล้เคียงกับแนวคิดตลาดที่เข้าข่ายการแข่งขันสมบูรณ์ตามแบบของ Baumol,Panzar and Willig (1988) แต่อย่างใดโดยโครงสร้างตลาดเส้นทางข้ามศูนย์กลางการบินระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิคมีลักษณะใกล้เคียงกับตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ เนื่องจากการรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรสายการบินส่งผลให้อัตราการกระจุกตัวของหน่วยผลิต (HHI) ในเส้นทางบินสูงขึ้นผลของการทดแทนกันของผู้ผลิตในมุมมองของผู้โดยสารลดลง สายการบินมีอานาจในการกำหนดราคาค่าโดยสารเนื่องจากความยืดหยุ่นของอุปสงค์การเดินทางโดยสารด้วยเครื่องบินต่า ดังนั้นการขึ้นราคาค่าโดยสารทาให้อุปสงค์การเดินทางด้วยเครื่องบินในเส้นทางระหว่างศูนย์กลางการบินลดลง รายรับในของสายการบินในรูปของ RPKs ซึ่งคำนวณมาจากจำนวนผู้โดยสารคูณด้วยระยะทาง จึงลดลง 22.43 ดอลลาร์สหรัฐ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติโดยราคาค่าโดยสารที่สูงขึ้นของสายการบินในเส้นทางที่มีการรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรสายการบิน เมื่อตรวจสอบด้วยแบบจำลองของ Brueckner and Whalen (2000) พบว่า การรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรสายการบินส่งผลให้ราคาค่าโดยสารสูงขึน้ ร้อยละ 1.4 แต่การวิเคราะห์ดังกล่าวไม่มีนัยสาคัญทางสถิติ
แม้ว่าโอกาสที่ราคาค่าโดยสารจะปรับสูงขึ้นจากผลของการรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรสายการ บินนั้น จะน้อยกว่าร้อยละ 90 แต่หน่วยงานของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกากับ ดูแลพฤติกรรม ของสายการบินและกำหนดนโยบายการแข่งขันในอุตสาหกรรมการบินพาณิชย์อย่างสำนักงาน คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าไม่ควรนิ่งนอนใจและควรให้ความสนใจในการตรวจสอบอยู่ เสมอว่า พฤติกรรมหรือยุทธศาสตร์ในการทาข้อตกลงร่วมมือทางการค้าระหว่างสายการบินมี ลักษณะที่เป็นการกีดกันการแข่งขันระหว่างสายการบินภายในตลาดเส้นทางบินหรือไม่ โดยเฉพาะ ในช่วงของการเตรียมความพร้อมในการเปิดเขตการบินเสรีร่วมภายในภูมิภาคอาเซียน (ASAM) ใน ปี 2558 เป็นต้นไป ซึ่งพฤติกรรมในการกาหนดราคาค่าโดยสารของสายการบินอาจส่งผลให้ แนวโน้มของราคาค่าโดยสารในเส้นทางบิน โดยเฉพาะเส้นทางที่มีลักษณะเชื่อมศูนย์กลางการบิน หรือย่านสำคัญทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ปรับตัวสูงขึ้น จากอำนาจเหนือตลาดที่มาจากการ รวมกลุ่มเป็นพันธมิตรสายการบิน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557