ประสิทธิผลการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Files
Publisher
Issued Date
2014
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
188
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b191042
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ฉัตรชัย ศิริสมบูรณ์ลาภ (2014). ประสิทธิผลการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4644.
Title
ประสิทธิผลการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
Alternative Title(s)
Effectiveness on the change structure in the Department of Religious Affairs, Ministry of Culture
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 4 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทา ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือองค์ประกอบที่ทำ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การของกรมการศาสนากระทรวงวัฒนธรรม (2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การของกรมการศาสนากระทรวงวัฒนธรรม ในช่วงก่อนและหลังการปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2545 (3) เพื่อศึกษามิติโครงสร้างองค์การด้านความซับซ้อน ความเป็นทางการ และการรวมอำนาจ หลังจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม และ (4) เพื่อเสนอประสิทธิผลที่เกิดขึ้นหลังจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การในด้านการบริหารงาน และด้าน
การปฏิบัติงานของบุคลากรของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
ระเบียบวิธีที่ใช้ในการศึกษา คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยจากเอกสาร (Documentary Research) โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) จากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม และการสังเกตการณ์(Observation) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผลการศึกษา พบว่า 1. ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือองค์ประกอบที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม พบว่า ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการเมืองและสังคม ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ ส่วนปัจจัยทางเศรษฐกิจ ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ
2. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม พบว่าโครงสร้างองค์การทั้งก่อนการปฏิรูประบบราชการและหลังการปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2545 เป็นโครงสร้างองค์การตามหน้าที่หรือตามสายการบังคับบัญชาที่มีการแบ่งอานาจหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งในขณะนี้ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรมกำลังจัดตั้งหน่วยงานระดับกองขึ้นมา คือ กองส่งเสริมกิจการฮัจย์
3. มิติโครงสร้างองค์การหลังจากเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ พบว่า (1) ด้านความซับซ้อน กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม แบ่งโครงสร้างการบริหารตามแนวนอน (HorizontalDifferentiation) และโครงสร้างการบริหารตามแนวตั้ง (Vertical Differentiation) รวมทั้งมีความซับซ้อนในการบริหารงาน และนโยบาย (2) ด้านความเป็นทางการ พบว่า กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม มีความเป็นทางการสูง รวมทั้งใช้การติดต่อสื่อสารทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการและ (3) ด้านการรวมอำ นาจ พบว่า กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ใช้อำ นาจการตัดสินใจแบบรวมอำ นาจและกระจายอำ นาจควบคู่กัน
4. ประสิทธิผลที่เกิดขึ้นหลังจากเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ พบว่า (1) ด้านการบริหารงาน พบว่า กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม มีการบริหารงานที่มีความซ้าซ้อนกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และ (2) ด้านการปฏิบัติงานของบุคลากร พบว่า การปฏิบัติงานเกิดความล่าช้า บุคลากรมีไม่เพียงพอต่อภารกิจงานที่มากขึ้น รวมทั้งขาดหน่วยงานที่จะเข้ามาให้การสนับสนุนภารกิจงานในอนาคต โดยเฉพาะการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558
ข้อเสนอแนะจากการศึกษา พบว่า 1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย พบว่า กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ควรจะทบทวนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์การให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม และปรับปรุงกลไกการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพโดยการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อกำ หนดทิศทางของโครงสร้างองค์การ รวมทั้งควรประสานงานเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาโครงสร้างองค์การให้มีประสิทธิภาพ
2. ข้อเสนอแนะเชิงการบริหาร พบว่า กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ควรใช้รูปแบบโครงสร้างองค์การแบบเมตริกซ์ (Matrix Organization) เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงในการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานได้เป็นอย่างดี และควรเพิ่มกลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศในสำนักงานเลขานุการกรม เพื่อรวบรวมฐานข้อมูลด้านศาสนาอย่างเป็นระบบ รวมทั้งกลุ่มงานด้านอาเซียน เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นอกจากนี้ควรนำเรื่องของวัฒนธรรมองค์การและค่านิยมมาพิจารณาในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การให้เกิดประสิทธิภาพ
ระเบียบวิธีที่ใช้ในการศึกษา คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยจากเอกสาร (Documentary Research) โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) จากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม และการสังเกตการณ์(Observation) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผลการศึกษา พบว่า 1. ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือองค์ประกอบที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม พบว่า ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการเมืองและสังคม ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ ส่วนปัจจัยทางเศรษฐกิจ ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ
2. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม พบว่าโครงสร้างองค์การทั้งก่อนการปฏิรูประบบราชการและหลังการปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2545 เป็นโครงสร้างองค์การตามหน้าที่หรือตามสายการบังคับบัญชาที่มีการแบ่งอานาจหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งในขณะนี้ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรมกำลังจัดตั้งหน่วยงานระดับกองขึ้นมา คือ กองส่งเสริมกิจการฮัจย์
3. มิติโครงสร้างองค์การหลังจากเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ พบว่า (1) ด้านความซับซ้อน กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม แบ่งโครงสร้างการบริหารตามแนวนอน (HorizontalDifferentiation) และโครงสร้างการบริหารตามแนวตั้ง (Vertical Differentiation) รวมทั้งมีความซับซ้อนในการบริหารงาน และนโยบาย (2) ด้านความเป็นทางการ พบว่า กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม มีความเป็นทางการสูง รวมทั้งใช้การติดต่อสื่อสารทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการและ (3) ด้านการรวมอำ นาจ พบว่า กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ใช้อำ นาจการตัดสินใจแบบรวมอำ นาจและกระจายอำ นาจควบคู่กัน
4. ประสิทธิผลที่เกิดขึ้นหลังจากเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ พบว่า (1) ด้านการบริหารงาน พบว่า กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม มีการบริหารงานที่มีความซ้าซ้อนกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และ (2) ด้านการปฏิบัติงานของบุคลากร พบว่า การปฏิบัติงานเกิดความล่าช้า บุคลากรมีไม่เพียงพอต่อภารกิจงานที่มากขึ้น รวมทั้งขาดหน่วยงานที่จะเข้ามาให้การสนับสนุนภารกิจงานในอนาคต โดยเฉพาะการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558
ข้อเสนอแนะจากการศึกษา พบว่า 1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย พบว่า กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ควรจะทบทวนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์การให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม และปรับปรุงกลไกการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพโดยการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อกำ หนดทิศทางของโครงสร้างองค์การ รวมทั้งควรประสานงานเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาโครงสร้างองค์การให้มีประสิทธิภาพ
2. ข้อเสนอแนะเชิงการบริหาร พบว่า กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ควรใช้รูปแบบโครงสร้างองค์การแบบเมตริกซ์ (Matrix Organization) เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงในการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานได้เป็นอย่างดี และควรเพิ่มกลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศในสำนักงานเลขานุการกรม เพื่อรวบรวมฐานข้อมูลด้านศาสนาอย่างเป็นระบบ รวมทั้งกลุ่มงานด้านอาเซียน เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นอกจากนี้ควรนำเรื่องของวัฒนธรรมองค์การและค่านิยมมาพิจารณาในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การให้เกิดประสิทธิภาพ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557