การวางแผนการลงทุนสำหรับวัยเกษียณ
Files
Publisher
Issued Date
2013
Issued Date (B.E.)
2556
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
126
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b191066
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ฉัตรชัย สิริเทวัญกุล (2013). การวางแผนการลงทุนสำหรับวัยเกษียณ. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4645.
Title
การวางแผนการลงทุนสำหรับวัยเกษียณ
Alternative Title(s)
Investment planning for retirement
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
งานวิจัยนี้เป็นการนาเสนอการวางแผนการลงทุน โดยศึกษาการจัดสรรสัดส่วนการลงทุนเพื่อวัยเกษียณ สำหรับผู้ที่ต้องการวางแผนเกษียณอายุ และการจัดสรรสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมกับวัยเกษียณ ซึ่งเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่พิจารณาสินทรัพย์ลงทุน 4 ประเภท ได้แก่ หุ้นสามัญ พันธบัตร เงินสด และทองคำ สาหรับการหาสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมนั้นได้ใช้แบบจำลองมอนติคาร์โล (Monte Carlo simulation) ทั้งหมด 1,000 ครั้งเพื่อคัดเลือกสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมที่สุดจากรูปแบบสัดส่วนการลงทุนทั้งหมด 286 แบบ
การศึกษาการจัดสรรสัดส่วนการลงทุนเพื่อวัยเกษียณนั้น ได้ศึกษากลุ่มผู้ลงทุนในวัยทางานซึ่งมีอายุระหว่าง 25 ปี ถึง 55 ปี ซึ่งเป็นวัยที่อยู่ในช่วงสะสมทรัพย์สิน และได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีจากการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund หรือRMF) โดยการศึกษานี้ ด้ทำ การศึกษาสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ลงทุน 4 ประเภท ได้แก่ หุ้นสามัญ พันธบัตร เงินสด และทองคา โดยทา การแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ การลงทุนในสินทรัพย์โดยตรง และการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ที่ลงทุนในสินทรัพย์ทั้ง 4ชนิดข้างต้น ได้แก่ กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมตราสารทุน และกองทุนรวมทองคา ซึ่งกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพนั้นเป็นกองทุนที่จัดตั้งเพื่อวัตถุประสงค์เพื่อการออมสาหรับวัยเกษียณ ดังนั้นรัฐบาลจึงมีนโยบายสนับสนุนให้สิทธิพิเศษทางภาษี โดยให้สามารถนาเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพมาหักลดหย่อนภาษีได้ ในสัดส่วนร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 15 ของรายได้พึง ประเมินในปีภาษีนั้น และผู้ลงทุนจะต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปีจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ แต่ปัจ จุบันยังมีผู้ให้ความสนใจน้อย เนื่องจากเห็นว่ามีระยะเวลาลงทุนที่ยาวนานเกินไป ซึ่งการวิจัยนี้ได้ทาการหาสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมที่สุด โดยสัดส่วนที่เหมาะสมนั้นจะให้อัตราลงทุน (investment rate) ที่ต่าที่สุด และมีอัตราความสาเร็จ (achieve rate) ที่สูงที่สุด ตามระยะเวลาการลงทุน และระยะเวลาที่คาดหวังว่าจะดำรงชีวิตหลังเกษียณจากผลวิจัยการจัดสรรการลงทุนเพื่อวัยเกษียณนั้น สามารถสรุปได้ว่าผู้วางแผนเกษียณอายุควรจะวางแผนการเกษียณอายุตั้งแต่เนิ่นๆ กล่าวคือผู้วางแผนควรเริ่ม วางแผนตั้งแต่อายุน้อยๆเนื่องจากยังมีระยะเวลาทางานเพื่อหาเงินมาลงทุนอีกยาวนาน ทำให้มีความยืดหยุ่นในการจัดสรรการลงทุนโดยใช้เงินลงทุนในแต่ละงวดเป็นจานวนน้อยกว่า และจะมีโอกาสบรรลุเป้าหมายการเกษียณอย่างมีความสุขในระยะยาวได้สูงกว่า ซึ่งจากงานวิจัยการจัดสรรสินทรัพย์ลงทุนในทั้ง 2 กลุ่มนั้นแสดงผลไปในทิศทางเดียวกัน คือผู้ลงทุนเพื่อวัยเกษียณควรพิจารณาแบ่งสัดส่วนการลงทุนมาลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความผันผวน ไม่ว่าจะในตราสารทุน หรือทองคาเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ เพราะจะช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จของสัดส่วนการลงทุนได้
สำหรับผลงานวิจัยการจัดสรรการลงทุนที่เหมาะสมกับวัยเกษียณ ทำการศึกษาเฉพาะการลงทุนในสินทรัพย์ทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ หุ้นสามัญ พันธบัตร เงินสด และทองคา เพื่อคำนวณหาสัดส่วนการลงทุนให้มีอัตราถอนเงิน (withdrawal rate) สูงที่สุด ในขณะที่มีอัตราความผิดพลาด(failure rate) ที่ผู้ลงทุนสามารถยอมรับได้ ตามระยะเวลาที่ผู้เกษียณอายุคาดว่าจะดำรงชีวิตอยู่หลังเกษียณ ซึ่งจากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่าผู้เกษียณอายุที่คาดหวังระยะเวลาดารงชีวิตหลังเกษียณเป็นระยะเวลานาน ควรกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ที่มีความผันผวนเพิ่มมากขึ้น เนื่อจากมีระยะเวลาในการลงทุนที่ยาวนานขึ้น ประกอบกับมีระยะเวลาที่ต้องใช้เงินมากขึ้นจึงทาให้ต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นเพื่อให้การดารงชีวิตในวัยเกษียณเป็นไปตามที่คาดหวังโดยเมื่อพิจารณาการจัดสรรการลงทุนในสินทรัพย์ทั้ง 4 ประเภทในงานวิจัยนี้ ชี้ให้เห็นว่า ควรพิจารณาการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความผันผวนในสัดส่วนที่สูงกว่าสินทรัพย์ที่มีความผันผวนต่ำ ซึ่งจะช่วยลดอัตราความผิดพลาดของการลงทุนลงได้
จากผลการศึกษาวิจัยที่ได้ทาการศึกษามานั้น ทาให้พบว่าการจัดสรรการลงทุนเพื่อวัย เกษียณ และการจัดสรรการลงทุนที่เหมาะสมกับวัยเกษียณนั้น ไม่ได้จำกัดเพียงแต่ต้องลงทุนแต่ ในสินทรัพย์ที่มีความผันผวนต่า ให้ความปลอดภัยของเงินต้นสูงเท่านั้น หากผู้ลงทุนวาง แผนการลงทุนในระยะยาวแล้วความผันผวนในระยะสั้นย่อมไม่มีความสาคัญมากนัก ดังนั้นผู้ ลงทุนที่ต้องการเกษียณอย่างมีความสุขควรจะแบ่งสัดส่วนการลงทุนมายังสินทรัพย์ที่มีความผัน ผวนเพิ่มขึ้น อาทิเช่นห้นุสามัญ และควรเพิ่มการลงทุนในทองคำเนื่องจากทองคำมีส่วนช่วยเพิ่ม อัตราผลตอบแทน และลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนลงได้ แต่หากผู้ลงทุนลงทุนเฉพาะ สินทรัพย์ที่มีความผันผวนต่ำ เช่นเงินฝาก หรือตราสารหนี้นั้น เมื่อมองทางด้านของผลตอบแทน ที่ปรับลดด้วยอัตราเงินเฟ้อแล้ว ทำให้ไม่สามารถเอาชนะอัตราเงินเฟ้อในระยะยาวได้
การศึกษาการจัดสรรสัดส่วนการลงทุนเพื่อวัยเกษียณนั้น ได้ศึกษากลุ่มผู้ลงทุนในวัยทางานซึ่งมีอายุระหว่าง 25 ปี ถึง 55 ปี ซึ่งเป็นวัยที่อยู่ในช่วงสะสมทรัพย์สิน และได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีจากการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund หรือRMF) โดยการศึกษานี้ ด้ทำ การศึกษาสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ลงทุน 4 ประเภท ได้แก่ หุ้นสามัญ พันธบัตร เงินสด และทองคา โดยทา การแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ การลงทุนในสินทรัพย์โดยตรง และการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ที่ลงทุนในสินทรัพย์ทั้ง 4ชนิดข้างต้น ได้แก่ กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมตราสารทุน และกองทุนรวมทองคา ซึ่งกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพนั้นเป็นกองทุนที่จัดตั้งเพื่อวัตถุประสงค์เพื่อการออมสาหรับวัยเกษียณ ดังนั้นรัฐบาลจึงมีนโยบายสนับสนุนให้สิทธิพิเศษทางภาษี โดยให้สามารถนาเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพมาหักลดหย่อนภาษีได้ ในสัดส่วนร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 15 ของรายได้พึง ประเมินในปีภาษีนั้น และผู้ลงทุนจะต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปีจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ แต่ปัจ จุบันยังมีผู้ให้ความสนใจน้อย เนื่องจากเห็นว่ามีระยะเวลาลงทุนที่ยาวนานเกินไป ซึ่งการวิจัยนี้ได้ทาการหาสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมที่สุด โดยสัดส่วนที่เหมาะสมนั้นจะให้อัตราลงทุน (investment rate) ที่ต่าที่สุด และมีอัตราความสาเร็จ (achieve rate) ที่สูงที่สุด ตามระยะเวลาการลงทุน และระยะเวลาที่คาดหวังว่าจะดำรงชีวิตหลังเกษียณจากผลวิจัยการจัดสรรการลงทุนเพื่อวัยเกษียณนั้น สามารถสรุปได้ว่าผู้วางแผนเกษียณอายุควรจะวางแผนการเกษียณอายุตั้งแต่เนิ่นๆ กล่าวคือผู้วางแผนควรเริ่ม วางแผนตั้งแต่อายุน้อยๆเนื่องจากยังมีระยะเวลาทางานเพื่อหาเงินมาลงทุนอีกยาวนาน ทำให้มีความยืดหยุ่นในการจัดสรรการลงทุนโดยใช้เงินลงทุนในแต่ละงวดเป็นจานวนน้อยกว่า และจะมีโอกาสบรรลุเป้าหมายการเกษียณอย่างมีความสุขในระยะยาวได้สูงกว่า ซึ่งจากงานวิจัยการจัดสรรสินทรัพย์ลงทุนในทั้ง 2 กลุ่มนั้นแสดงผลไปในทิศทางเดียวกัน คือผู้ลงทุนเพื่อวัยเกษียณควรพิจารณาแบ่งสัดส่วนการลงทุนมาลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความผันผวน ไม่ว่าจะในตราสารทุน หรือทองคาเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ เพราะจะช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จของสัดส่วนการลงทุนได้
สำหรับผลงานวิจัยการจัดสรรการลงทุนที่เหมาะสมกับวัยเกษียณ ทำการศึกษาเฉพาะการลงทุนในสินทรัพย์ทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ หุ้นสามัญ พันธบัตร เงินสด และทองคา เพื่อคำนวณหาสัดส่วนการลงทุนให้มีอัตราถอนเงิน (withdrawal rate) สูงที่สุด ในขณะที่มีอัตราความผิดพลาด(failure rate) ที่ผู้ลงทุนสามารถยอมรับได้ ตามระยะเวลาที่ผู้เกษียณอายุคาดว่าจะดำรงชีวิตอยู่หลังเกษียณ ซึ่งจากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่าผู้เกษียณอายุที่คาดหวังระยะเวลาดารงชีวิตหลังเกษียณเป็นระยะเวลานาน ควรกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ที่มีความผันผวนเพิ่มมากขึ้น เนื่อจากมีระยะเวลาในการลงทุนที่ยาวนานขึ้น ประกอบกับมีระยะเวลาที่ต้องใช้เงินมากขึ้นจึงทาให้ต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นเพื่อให้การดารงชีวิตในวัยเกษียณเป็นไปตามที่คาดหวังโดยเมื่อพิจารณาการจัดสรรการลงทุนในสินทรัพย์ทั้ง 4 ประเภทในงานวิจัยนี้ ชี้ให้เห็นว่า ควรพิจารณาการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความผันผวนในสัดส่วนที่สูงกว่าสินทรัพย์ที่มีความผันผวนต่ำ ซึ่งจะช่วยลดอัตราความผิดพลาดของการลงทุนลงได้
จากผลการศึกษาวิจัยที่ได้ทาการศึกษามานั้น ทาให้พบว่าการจัดสรรการลงทุนเพื่อวัย เกษียณ และการจัดสรรการลงทุนที่เหมาะสมกับวัยเกษียณนั้น ไม่ได้จำกัดเพียงแต่ต้องลงทุนแต่ ในสินทรัพย์ที่มีความผันผวนต่า ให้ความปลอดภัยของเงินต้นสูงเท่านั้น หากผู้ลงทุนวาง แผนการลงทุนในระยะยาวแล้วความผันผวนในระยะสั้นย่อมไม่มีความสาคัญมากนัก ดังนั้นผู้ ลงทุนที่ต้องการเกษียณอย่างมีความสุขควรจะแบ่งสัดส่วนการลงทุนมายังสินทรัพย์ที่มีความผัน ผวนเพิ่มขึ้น อาทิเช่นห้นุสามัญ และควรเพิ่มการลงทุนในทองคำเนื่องจากทองคำมีส่วนช่วยเพิ่ม อัตราผลตอบแทน และลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนลงได้ แต่หากผู้ลงทุนลงทุนเฉพาะ สินทรัพย์ที่มีความผันผวนต่ำ เช่นเงินฝาก หรือตราสารหนี้นั้น เมื่อมองทางด้านของผลตอบแทน ที่ปรับลดด้วยอัตราเงินเฟ้อแล้ว ทำให้ไม่สามารถเอาชนะอัตราเงินเฟ้อในระยะยาวได้
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์การเงิน))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556