• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ความรู้และปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องสำอางทั่วไปของสมุนไพร

by รุ้งทอแสง ชั้นสุวรรณ

Title:

ความรู้และปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องสำอางทั่วไปของสมุนไพร

Other title(s):

Cosmetic consumer knowledge of herb affect to the herbal cosmetic behavior

Author(s):

รุ้งทอแสง ชั้นสุวรรณ

Advisor:

ประพนธ์ สหพัฒนา

Degree name:

การจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Issued date:

2015

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2015.83

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านความรู้ของเครื่องสาอางทั่วไปของ สมุนไพรที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทั่วไปของสมุนไพร และ 2) เพื่อ วิเคราะห์ปัจจัยด้านความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภค ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทั่วไปของสมุนไพร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการร้านค้า ในเขตตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 5 ร้านซึ่งใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และผู้พักอาศัยในเขตตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 400 คนซึ่งใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลในการ วิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยซึ่งผลการวิจัย พบว่า
1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุต่ำ กว่า 25 ปี ในระดับการศึกษาปริญญา ตรี เป็นนักเรียน/นักศึกษา และมีรายได้ต่อเดือน ไม่เกิน 15,000 บาท 2) ความรู้ความเข้าใจสมุนไพรเพื่อความงาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจมากที่สุด ได้แก่ สมุนไพรที่ใช้กับเส้นผมเป็นกลุ่มของสมุนไพรที่ใช้ทำความสะอาดเส้นผม รักษาชันตุ บำรุงผม ทำให้ผมดกดา กระตุ้นการงอกของเส้นผม, สมุนไพรเพื่อความงามของใบหน้ามีสารเมือก ช่วยบำรุง ผิวพรรณ ให้ความชุ่มชื่น และช่วยเคลือบผิวได้แก่ วุ้นว่านหางจระเข้ บัวบก นมวัว ข้าวกล้อง, สมุนไพรใช้เพื่อความงามของผิวกาย ใบพลู ต้นบัวบก ใบตำลึง ไม่สามารถรักษากลากเกลื้อนได้, สมุนไพรเพื่อความงามของเท้า เหง้าขมิ้นชันเหง้าว่านนางคา ใบพลู ใบผักบุ้ง ใบมะขาม ใบส้มโอ ใบเหงือกปลาหมอสามารถลด ลดผดผื่นคัน มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา และเชื้อโรคอื่น ๆ
3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาด พบว่า ด้านการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริม การตลาด และด้านราคา ตามลำดับ 4) พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทั่วไปของสมุนไพร พบว่า ความถี่ในการ ซื้อผลิตภัณฑ์ ทุก 2-3 เดือน, ทุก 4-5 เดือน และ 5 เดือนขึ้นไป จำนวนเงินที่จ่ายเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ เท่ากับ 5,000 บาทขึ้นไป สถานที่ที่ซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทั่วไปของสมุนไพร คือ ร้านจำหน่าย ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ คือ แพทย์ เภสัชกร รับรู้ข้อมูล เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากเพื่อน ญาติ คนแนะนำ, โทรทัศน์/วิทยุ และประกาศต่างๆ (แผ่นพับ/ป้าย โฆษณากลางแจ้ง) เหตุผลที่เลือกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทั่วไปของสมุนไพร คือ บำรุงสุขภาพ ร่างกายให้มีความสมดุล และเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ 5) ระดับความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรมีผลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ สมุนไพรที่ใช้ในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 6) ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีผลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการบริโภค ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทั่วไปของสมุนไพร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Description:

วิทยานิพนธ์ (รอ.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

Subject(s):

เครื่องสำอางสมุนไพร
พฤติกรรมผู้บริโภค

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

140 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4646
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b191032.pdf ( 1,870.18 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [291]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×