• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ศึกษาเปรียบเทียบจุดแข็ง-จุดอ่อนของนายกรัฐมนตรีจากระบบรัฐสภาและจากการเลือกตั้งโดยตรง

by ทรงพล บุญสุข

Title:

ศึกษาเปรียบเทียบจุดแข็ง-จุดอ่อนของนายกรัฐมนตรีจากระบบรัฐสภาและจากการเลือกตั้งโดยตรง

Other title(s):

Comparative study of strengths-weakness of prime minister from parliamentary and direct election

Author(s):

ทรงพล บุญสุข

Advisor:

สมบัติ ธำรงธัญวงษ์

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Issued date:

2014

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษา เรื่อง ศึกษาเปรียบเทียบจุดแข็ง-จุดอ่อนของนายกรัฐมนตรีจากระบบรัฐสภาและจากการเลือกตั้งโดยตรง มีคำถามในการวิจัย คือ นายกรัฐมนตรีจากระบบรัฐสภาที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีจุดแข็ง-จุดอ่อน ต่างกันอย่างไร?
วิธีการศึกษาจะใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยจะสัมภาษณ์ผ่านวิธีการเก็บข้อมูล 3ประเภท คือ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การตะล่อมกล่อมเกลา และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งจะมีข้อมูลทุติยภูมิร่วมด้วย อาทิ ตำ รา หนังสือ บทความ และวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษา พบว่า นายกรัฐมนตรีจากระบบรัฐสภา มีจุดแข็ง ทั้งสิ้น 3 ประการ คือ 1) ประชาชนเคยชิน และเห็นว่าสอดคล้องกับการมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 2) ฝ่ ายบริหารยุบสภาได้ และฝ่ายนิติบัญญัติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ทำให้สามารถเปลี่ยนรัฐบาลได้ และ 3) ถ้าพรรคเดียวมีเสียงข้างมากจะทำ ให้รัฐบาลมีเสถียรภาพสูง และควบคุมสภาได้เด็ดขาด ส่วนจุดอ่อน มีทั้งสิ้น 5 ประการคือ 1) ขาดการถ่วงดุลอา นาจ 2) การบริหารงานของฝ่ ายบริหารขาดเสถียรภาพถ้าเป็นรัฐบาลผสม3) พรรคการเมืองอยู่ในอา นาจของกลุ่มทุน 4) มีการทุจริตการเลือกตั้ง และการคอร์รัปชั่นอย่างมากและ5) เกิดรัฐบาลหุ่นเชิด นายกรัฐมนตรีหุ่นเชิด และสภาหุ่นเชิดได้ง่าย
ส่วน นายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งโดยตรง มีจุดแข็ง ทั้งสิ้น 5 ประการ คือ 1) รัฐบาลมีเสถียรภาพทางการเมืองมากขึ้น 2) ประชาชนสามารถแสดงเจตนารมณ์ได้โดยตรงว่าตนต้องการให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรี 3) รัฐบาลมีเอกภาพ และมีเสถียรภาพนายกรัฐมนตรีสามารถแต่งตั้งรัฐมนตรีที่มีความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งมาร่วมรัฐบาล 4) ลดสิ่งจูงใจที่จะซื้อเสียงเพื่อให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากพอที่จะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี และ 5) เกิดการถ่วงดุลระหว่างฝ่ ายบริหาร และนิติบัญญัติ
ในขณะที่ จุดอ่อนของการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง มี จำ นวน 4 ประการ คือ 1) ประชาชนบางส่วนกังวลว่าเป็นระบบประธานาธิบดีจะกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ 2) การเลือกตั้งทั้งประเทศถึงไม่ซื้อเสียงก็ต้องใช้เงินจำนวนมากจะทำให้คนรวยได้เปรียบ 3) ถ้ารัฐบาลมาจากพรรคที่มีเสียงข้างน้อยในสภาจะทำให้บริหารงานยาก เพราะไม่สามารถผ่านร่างกฎหมายได้ และ4) เนื่องจากนายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงการถอดถอนอาจทำได้ยาก
ทั้งนี้จากการศึกษาสรุปได้ว่า ควรนำระบบแบ่งแยกอา นาจเข้ามาประยุกต์ใช้ในระบบรัฐสภาด้วยการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีโดยตรง เพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเมืองของไทย ทั้งระบบการเมือง และเสถียรภาพของรัฐบาลให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

Description:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557

Subject(s):

นายกรัฐมนตรี

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

125

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4647
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b191043.pdf ( 2,294.29 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×