Title:
| ความเหลื่อมล้ำระหว่างระบบประกันสุขภาพของภาครัฐในประเทศไทย |
Other title(s):
| The disparity of National Health Insurance Schemes in Thailand |
Author(s):
| ณวัฒน์ แก้วนพรัตน์ |
Advisor:
| ประสพโชค มั่งสวัสดิ์ |
Degree name:
| เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level:
| Master's |
Degree discipline:
| พัฒนาการเศรษฐกิจ |
Degree department:
| คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ |
Degree grantor:
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date:
| 2014 |
Publisher:
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract:
|
ประเทศไทยมีสิทธิในการรักษาพยาบาลจากภาครัฐที่ให้ความคุ้มครองกับประชาชนอยู่ 3ระบบ คือ 1. ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ 2. ระบบประกันสังคม และ 3. ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
เนื่องจาก 3 ระบบนี้มีหน่วยงานต้นสังกัดที่คอยดูแลและให้ความคุ้มครองกับประชาชนที่แตกต่างกัน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาหาความเหลื่อมล้ำา ที่เกิดจากความแตกต่างกันระหว่างสิทธิรักษาพยาบาล โดยวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำ ทั้งในเชิงข้อกำหนดและกฎระเบียบ และความเหลื่อมล้ำ ในเชิงคุณภาพของการให้บริการ การศึกษานี้ใช้วิธีวิเคราะห์และเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จากหน่วยงานต้นสังกัดของทั้ง 3 สิทธิรักษาพยาบาลสาหรับกรณีการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้าในเชิงข้อกำหนดและกฎระเบียบ ส่วนกรณีการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำ เชิงคุณภาพของการให้บริการนั้น การศึกษานี้ใช้แนวทางในการวิเคราะห์ปัญหาจากการใช้สิทธิรักษาพยาบาลที่ผู้รับบริการพบเจอของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับการวิเคราะห์ผ่านการให้คะแนนตอบสนองความพึงพอใจจากการรับบริการรักษาพยาบาลตามหลักแนวคิดขององค์การอนามัยโลก โดยใช้กลุ่มตัวอย่างของผู้ใช้สิทธิรักษาพยาบาลทั้ง 3 สิทธิในเขตกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล และวิเคราะห์ผ่านสถิติทดสอบสมมติฐาน
ความแตกต่างระหว่างสิทธิรักษาพยาบาล ร่วมกับการใช้แบบจา ลองโพรบิตแบบเรียงลำดับเพื่อหาตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อความพึงพอใจในการรับบริการรักษาพยาบาลของผู้รับบริการที่นอกเหนือจากปัจจัยด้านกลุ่มสิทธิรักษาพยาบาลของภาครัฐ นอกจากนี้การศึกษานี้ยังใช้ข้อมูลที่ได้จากการสารวจแพทย์ที่ให้บริการรักษาพยาบาลในเขตกรุงเทพ ฯ เพื่อวิเคราะห์ระดับปัญหาในการให้บริการผู้ป่วยในแต่ละสิทธิรักษาพยาบาล ตั้งแต่การคัดกรองกลุ่มโรคไปจนถึงการดำเนินการรักษาว่ามีปัญหาแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ผลการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้า ในเชิงข้อกำหนดและกฎระเบียบ พบว่า สิทธิรักษาพยาบาล ข้าราชการได้รับการจัดสรรงบประมาณมากที่สุด จึงส่งผลให้ได้สิทธิประโยชน์ในการรักษาดีที่สุดใน 3 สิทธิรักษาพยาบาล ได้แก่ ความครอบคลุมของกลุ่มโรคที่คุ้มครอง จำนวนอุปกรณ์และอวัยวะเทียม โอกาสในการได้รับยาราคาแพง รวมถึงการรักษาโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการรักษาโรคทั่ว ๆไป ในขณะที่สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ร่วมจ่ายค่ารักษา 30 บาท กลับดีกว่าสิทธิประกันสังคมที่ผู้ประกันตนต้องร่วมจ่ายค่าเบี้ยประกันให้กับตนเองในทุกด้านที่กล่าวมา ขณะที่ความเหลื่อมล้ำในเชิงคุณภาพของการให้บริการนั้น พบว่า ผู้ใช้สิทธิรักษาพยาบาลข้าราชการมีระดับความพึงพอใจในบริการทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลสูงที่สุด ส่วนผู้ใช้บริการในสิทธิประกันสังคมและสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากลับมีระดับคะแนนความพึงพอใจจากการให้บริการในระดับที่เท่ากัน และพบว่ามีปัจจัยอื่น ๆ นอกเหนือจากปัจจัยทางด้านสิทธิรักษาพยาบาลที่ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจในการรับบริการรักษาพยาบาลได้แก่ เขตที่พักอาศัย สังกัดของสถานพยาบาลที่ไปใช้บริการ ค่ารักษาพยาบาลที่ต้องชำระเอง
จำนวนสมาชิกในครัวเรือน และระดับการศึกษาสูงสุดที่ผู้รับบริการสำเร็จ ในการสำรวจระดับปัญหาในการให้บริการของแพทย์ว่าผลของความเหลื่อมล้ำเชิงข้อกาหนดและกฎระเบียบในเรื่องข้อจากัดด้านงบประมาณและนโยบายของแต่ละสิทธิรักษาพยาบาลได้ส่งผลต่อการรักษาในแต่ละขั้นตอนการรักษาอย่างไรบ้าง พบว่าสิทธิรักษาพยาบาลข้าราชการเป็นสิทธิการรักษาพยาบาลที่ดีที่สุด รองลงมาคือสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในขณะที่สิทธิประกันสังคมเป็นสิทธิรักษาพยาบาลที่ดีน้อยที่สุด และแพทย์ให้ข้อเสนอแนะว่าหากสานักงานประกันสังคมแยกสิทธิในการรักษาพยาบาลออกจากสิทธิประโยชน์ในด้านอื่น ๆ มาให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติบริหารจัดการแทน ก็จะสร้างประสิทธิภาพในการให้บริการรักษาพยาบาลที่ดีกว่า ส่วนแนวทางในการลดความเหลื่อมล้ำนั้น ผู้วิจัยพิจารณาแล้วเห็นว่าควรกา หนดให้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นสิทธิประโยชน์พื้นฐานที่คนไทยทุกคนควรจะได้รับ ในขณะที่สิทธิประกันสังคมมีวิธีการจ่ายเงินให้กับสถานพยาบาลแบบเดียวกับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและต้องร่วมจ่ายเงินสมทบให้กับตนเองนั้น จึงควรได้รับสิทธิประโยชน์ที่มากกว่าสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และในอนาคตหากค่าจ้างของข้าราชการยังไม่สามารถสูงเท่ากับลูกจ้างในภาคเอกชน จึงสมควรให้สิทธิรักษาพยาบาลข้าราชการยังคงเป็นสิทธิรักษาพยาบาลที่ดี
ที่สุด อย่างไรก็ตามการได้รับสิทธิประโยชน์ที่ดีที่สุดนี้ก็การสร้างภาระทางการคลังที่สูงตามไปด้วยจึงต้องลดสิทธิประโยชน์ที่ไม่จา เป็ นบางอย่างลง โดยทั้ง 3 สิทธิรักษาพยาบาลจะต้องร่วมจ่ายค่าบริการรักษาพยาบาลเพื่อลดภาระทางการคลังของรัฐบาลในอนาคต
|
Description:
|
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557
|
Subject(s):
| ประกันสุขภาพ
ประกันสังคม
สวัสดิการข้าราชการ |
Resource type:
| วิทยานิพนธ์ |
Extent:
| 301 |
Type:
| Text |
File type:
| application/pdf |
Language:
| tha |
Rights:
| ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s):
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI:
| http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4648 |