• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
  • GSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
  • GSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรกับความอยู่ดีกินดีของคนไทย

by กฤษฎา วัฒนเสาวลักษณ์

Title:

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรกับความอยู่ดีกินดีของคนไทย

Other title(s):

The demographic change and Thai well-being

Author(s):

กฤษฎา วัฒนเสาวลักษณ์

Advisor:

สุจิตรา ชำนิวิกย์กรณ์

Degree name:

เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

พัฒนาการเศรษฐกิจ

Degree department:

คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2012

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษานี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุประชากรที่คาดกว่าจะเกิดขึ้นในประเทศไทยว่ามีผลกระทบต่อความอยู่ดีกินของคนไทยหรือไม่อย่างไร เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดและอัตราการเสียชีวิตจากระดับสูงมาสู่ระดับต่า ทำให้สัดส่วนคน วัยทำงานลดลง สวนทางกับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น หมายถึงการมีสัดส่วนผู้บริโภคมากขึ้นเมื่อเทียบกับคนวัยทางาน จึงเป็นไปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อความอยู่ดีกินดีของคนไทย การศึกษานี้ได้ประยุกต์ตัวแบบแรมซีย์เข้ากับตัวแปรด้านประชากร และทำการจำลองเหตุการณ์ว่าหากโครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงไปตามที่มีการคาดการณ์ ความอยู่ดีกินดีซึ่งในที่นี้ใช้การบริโภคต่อหัวเป็นตัวชี้วัด จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
จากการจำลองเหตุการณ์ระหว่าง พ.ศ. 2553-2643 รวม 90 ปี พบว่าหากให้ตอนเริ่มต้นวิเคราะห์เป็นดุลยภาพเพื่อใช้เป็นตัวเปรียบเทียบ จะได้ว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่ทำให้มีสัดส่วนคนวัยเด็กและวัยทำงานลดลง แต่คนชรามีสัดส่วนเพิ่มขึ้น จะทำให้การบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในระยะสั้น แต่จะลดลงในระยะยาว โดยเมื่อถึง พ.ศ. 2643 การบริโภคต่อหัวหรือความอยู่ดีกินดีของคนไทยจะลดลงระหว่างร้อยละ 18-26 เมื่อเทียบกับดุลยภาพตอนเริ่มต้นขึ้นอยู่กับสมมติฐานของตัวแปร นอกจากนี้จากการทดลองให้ขยายอายุเกษียณการทางานจาก เดิม 60 ปี เป็น 65 ปี การบริโภคต่อหัวใน พ.ศ. 2643 จะลดลงร้อยละ16 ซึ่งลดลงน้อยกว่ากรณีเกษียณอายุงานเมื่ออายุ 60 ปี หากใช้สมมติฐานตัวแปรเหมือนกันอยู่ร้อยละ 10 ดังนั้นการขยายอายุเกษียณการทางานจะสามารถชดเชยผลกระทบได้บางส่วน งานศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าหากครัวเรือนเป็นคนที่กลัวความเสี่ยงมาก เขาจะปรับตัวโดยการออมให้มากขึ้น เพื่อให้การบริโภคในแต่ละช่วงเวลาไม่แตกต่างกันมากนัก ดังนั้นแรงงานนอกระบบ (สัดส่วนกว่าร้อยละ 60ของจานวนแรงงานทั้งหมด) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงมาก เพราะว่าไม่มีหลักประกันรายได้ในวัยเกษียณ รัฐควรสนับสนุนให้แรงงานนอกระบบตระหนักถึงความเสี่ยงดังกล่าวควบคู่กับการใช้ นโยบายขจัดความยากจน เน่อื งจากมีครัวเรือนจำนวนมากที่เป็นแรงงานนอกระบบและมีรายได้ไม่เพียงพอทำให้ไม่มีเงินออม และส่งเสริมให้ออมเงินผ่านกองทุนการออมแห่งชาติ เพื่อให้มีเงินบำนาญสำหรับการดำรงชีวิตในวัยชรา

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2555

Subject(s):

สำมะโนประชากร
โครงสร้างประชากร

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

111

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4652
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b191069.pdf ( 4,269.89 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSDE: Theses [66]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×