สถานะองค์ความรู้งานวิจัยด้านเครือข่ายในระดับอุดมศึกษาไทย
Files
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
176 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b190134
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
จิรายุ ชาติประสพ (2015). สถานะองค์ความรู้งานวิจัยด้านเครือข่ายในระดับอุดมศึกษาไทย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4653.
Title
สถานะองค์ความรู้งานวิจัยด้านเครือข่ายในระดับอุดมศึกษาไทย
Alternative Title(s)
State of knowledge network research in Thai higher education
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาสถานะองค์ความรู้งานวิจัยด้านเครือข่ายในระดับอุดมศึกษา
ไทย โดยผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ
(Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสถานะองค์ความรู้ทางด้านเครือข่าย 2)
เพื่อศึกษาวิเคราะห์ลักษณะและรูปแบบของเครือข่ายที่เกิดขึ้นจากผลการวิจัยที่ผ่านมา 3. เพื่อศึกษา
ทิศทางแนวโน้มในการศึกษาวิจัยด้านเครือข่าย โดยเลือกศึกษาจากผลงานวิจัยด้านเครือข่ายความ
ร่วมมือที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพ ซึ่งคัดเลือกจากวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต และดุษฎี
บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่กาหนดไว้ในเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย Thai Library
Integrated System (ThaiLIS) ตามเกณฑ์กลุ่มด้านการวิจัยจากการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาใน
ประเทศไทย (สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.), 2549) ที่มีผลงานวิจัยในช่วงปี พ.ศ.
2533 – 2558 ซึ่งกาหนดจากจานวนมหาวิทยาลัยรวมทั้งหมดจานวน 50 แห่ง แบ่งได้ 5 กลุ่ม ทั้งนี้
ผู้วิจัยเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยเฉพาะเจาะจง โดยเลือกจากกลุ่มงานวิจัยที่ได้คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 65
– 75 ขึ้นไป ซึ่งอยู่ในกลุ่มที่ 1 ถึง กลุ่มที่ 3 และเลือกจานวนตัวอย่างจาก 3 กลุ่มตามเกณฑ์ของกลุ่ม
ประชากร โดยมีรายชื่อของมหาวิทยาลัยที่เลือกศึกษาและจานวนงานวิจัยที่เลือกศึกษา แต่ละกลุ่ม
โดยใช้เกณฑ์การเลือกตามเกณฑ์คาว่า “เครือข่าย” เลือกเฉพาะเจาะจง ตามเกณฑ์ดังนี้คือ (1) เป็น
งานวิจัยเครือข่ายทางสังคม และ (2) เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยการคัดเลือกงานวิจัยที่จะนามา
สังเคราะห์ดังนี้ โดยสารวจรายชื่องานวิจัยที่จะนามาสังเคราะห์เกี่ยวกับงานวิจัยด้านเครือข่าย ทาการ
คัดแยกงานวิทยานิพนธ์และรายงานวิจัยโดยคัดเลือกแต่เฉพาะงานวิจัยเชิงคุณภาพเท่านั้น ได้จานวน
งานวิจัยด้านเครือข่ายทั้งหมด 98 เรื่อง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบบันทึกคุณลักษณะ 2) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) 3) โปรแกรม SPSS เพื่อความถี่ หาค่าร้อยละ ผลการศึกษา 1) ข้อมูลลักษณะทั่วไป ผลการการศึกษาข้อมูลพบว่า (1) สถาบัน พบว่า อันดับแรก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คิดเป็นร้อยละ 50.00 (2) คณะ/สาขาวิชา พบว่า อันดับแรก ครุศาสตร์ หรือ ศึกษาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 33.70 (3) ประเภทของงานวิจัย พบว่า อันดับแรกคือ วิทยานิพนธ์ปริญญา คิดเป็นร้อยละ 92.90 (4) วัตถุประสงค์งานวิจัย พบว่า อันดับแรกเป็นวัตถุประสงค์ในประเด็น การ พัฒนาเครือข่าย/การก่อตัว การขยายเครือข่าย คิดเป็นร้อยละ 22.28 (5) กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย พบว่า อันดับแรก กลุ่มตัวอย่างเป็นภาคประชาชน คิดเป็นร้อยละ 38.54 (6) ภูมิภาคที่ศึกษา พบว่า อันดับแรก คือภาคเหนือ คิดเป็นร้อยละ 42.06 (7) ความตรงของเครื่องมือ พบว่า อันดับแรก คือ ความตรงของเนื้อหา คิดเป็นร้อยละ 25.58 (8) ผู้ที่นาผลการวิจัยไปใช้ พบว่า อันดับแรก คือ ภาค ประชาชน คิดเป็นร้อยละ 50.00 2) สถานะองค์ความรู้ทางด้านเครือข่าย ผลการศึกษาพบว่า (1) การ สังเคราะห์แนวคิดทฤษฎี (Meta Theory) สามารถจาแนกแนวคิดเครือข่ายที่ใช้เป็นกรอบในการศึกษาได้ ทั้งหมด 17 แนวคิดเครือข่าย พบว่า ผลงานวิจัยด้านเครือข่ายส่วนใหญ่ แนวคิดเครือข่ายทางสังคม คิดเป็นร้อยละ 93.9 (2) สังเคราะห์วิธีการวิจัย (Meta Method) การสังเคราะห์วิธีวิทยาวิจัยของ ผลงานวิจัยด้านเครือข่าย ประกอบไปด้วย 4 ประเด็นคือ (1) ประเภทของวิธีวิจัย ส่วนใหญ่ ใช้วิธีวิจัย เชิงคุณภาพทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 (2) การสุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง คิดเป็นร้อยละ 100 (3) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่ ใช้เครื่องมือในการ วิจัยด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก คิดเป็นร้อยละ 100 (4) วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า งานวิจัยส่วนใหญ่ ใช้วิธีการพรรณนา คิดเป็นร้อยละ 65.3 3) ผลการศึกษาวิจัย (Meta Data Analysis) พบว่า การ สังเคราะห์ข้อค้นพบมีเป็น 7 มิติ ประกอบไปด้วย (1) ข้อค้นพบในมิติของเป้าหมายหรือการเกิดขึ้น ของเครือข่าย (2) ข้อค้นพบในมิติของโครงสร้างองค์กรหรือความสัมพันธ์ของเครือข่าย มิติ โครงสร้าง องค์กรของเครือข่าย (3) ข้อค้นพบในมิติของบทบาทและองค์ประกอบของเครือข่าย (4) ข้อค้นพบใน มิติของกระบวนการและการบริหารจัดการของเครือข่าย (5) ข้อค้นพบในมิติของผลการดาเนินงาน ของเครือข่าย (6) ข้อค้นพบในมิติของปัญหา อุปสรรคหรือปัจจัยส่งเสริมและสนับสนุนการดาเนินงาน ของเครือข่าย (7) ข้อค้นพบในมิติของแนวทางการพัฒนาเครือข่าย (3) บริบทการศึกษาวิจัยด้าน เครือข่าย พบว่า อันดับแรกเครือข่ายระดับองค์กร คิดเป็นร้อยละ 64.3 3) ลักษณะ ประเภทและ รูปแบบของเครือข่าย ผลการศึกษาลักษณะ ประเภท และรูปแบบของเครือข่าย พบว่า อันดับแรก เครือข่ายแนวนอน 4) ทิศทางแนวโน้มในการศึกษาวิจัยด้านเครือข่าย (1) การศึกษาวิจัยด้านเครือข่าย ศึกษาถึงผลกระทบจากความร่วมมือหนึ่งๆ ทั้งในระดับความร่วมมือของเครือข่าย และผลกระทบจาก เครือข่ายอื่นๆ ตลอดจนการศึกษาวิจัยถึงความเชื่อมโยงหรือความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายกับ เครือข่ายทั้งในระดับนโยบาย องค์กร และความร่วมมือต่างๆ (2) ใช้วิธีการวิจัยที่หลากหลายใน การศึกษาค้นหาความจริงของปรากฏการณ์นั้นๆ เช่น วิธีการวิจัยเชิงสารวจ วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ วิธีการวิจัยเชิงเอกสาร วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี และวิธีการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยชี้ว่า นักวิจัยที่มีความสนใจในการศึกษาวิจัยด้านเครือข่ายควรใช้ วิธีการศึกษาที่มีความหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยเชิงผสมผสาน และใช้ทฤษฎีหรือ แนวคิดที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น การวิเคราะห์แบบ Social Network Analysis แนวคิด ทุนทางสังคม และเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ในการวิเคราะห์วิจัยด้านเครือข่ายมากยิ่งขึ้น ควรมี การศึกษาถึงผลกระทบภายนอกที่มีอิทธิพลต่อเครือข่าย การศึกษาถึงการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่าย กับเครือข่าย การศึกษาถึงสัมฤทธิ์ผลของเครือข่ายทั้งในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้วยควร เพิ่มความร่วมมือด้านเครือข่ายให้มีความหลากหลายมากขึ้น ภาครัฐควรเป็นผู้วางแนวทางกาหนด ทิศทาง ภาคเอกชน ควรเป็นตัวขับเคลื่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคเอกชนจึงควรมุ่งเน้นการมีส่วนร่วม กาหนดทิศทางการพัฒนาเพื่อช่วยเหลืองานบริการด้านสาธารณะหรือสนับสนุนให้มากขึ้น
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบบันทึกคุณลักษณะ 2) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) 3) โปรแกรม SPSS เพื่อความถี่ หาค่าร้อยละ ผลการศึกษา 1) ข้อมูลลักษณะทั่วไป ผลการการศึกษาข้อมูลพบว่า (1) สถาบัน พบว่า อันดับแรก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คิดเป็นร้อยละ 50.00 (2) คณะ/สาขาวิชา พบว่า อันดับแรก ครุศาสตร์ หรือ ศึกษาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 33.70 (3) ประเภทของงานวิจัย พบว่า อันดับแรกคือ วิทยานิพนธ์ปริญญา คิดเป็นร้อยละ 92.90 (4) วัตถุประสงค์งานวิจัย พบว่า อันดับแรกเป็นวัตถุประสงค์ในประเด็น การ พัฒนาเครือข่าย/การก่อตัว การขยายเครือข่าย คิดเป็นร้อยละ 22.28 (5) กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย พบว่า อันดับแรก กลุ่มตัวอย่างเป็นภาคประชาชน คิดเป็นร้อยละ 38.54 (6) ภูมิภาคที่ศึกษา พบว่า อันดับแรก คือภาคเหนือ คิดเป็นร้อยละ 42.06 (7) ความตรงของเครื่องมือ พบว่า อันดับแรก คือ ความตรงของเนื้อหา คิดเป็นร้อยละ 25.58 (8) ผู้ที่นาผลการวิจัยไปใช้ พบว่า อันดับแรก คือ ภาค ประชาชน คิดเป็นร้อยละ 50.00 2) สถานะองค์ความรู้ทางด้านเครือข่าย ผลการศึกษาพบว่า (1) การ สังเคราะห์แนวคิดทฤษฎี (Meta Theory) สามารถจาแนกแนวคิดเครือข่ายที่ใช้เป็นกรอบในการศึกษาได้ ทั้งหมด 17 แนวคิดเครือข่าย พบว่า ผลงานวิจัยด้านเครือข่ายส่วนใหญ่ แนวคิดเครือข่ายทางสังคม คิดเป็นร้อยละ 93.9 (2) สังเคราะห์วิธีการวิจัย (Meta Method) การสังเคราะห์วิธีวิทยาวิจัยของ ผลงานวิจัยด้านเครือข่าย ประกอบไปด้วย 4 ประเด็นคือ (1) ประเภทของวิธีวิจัย ส่วนใหญ่ ใช้วิธีวิจัย เชิงคุณภาพทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 (2) การสุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง คิดเป็นร้อยละ 100 (3) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่ ใช้เครื่องมือในการ วิจัยด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก คิดเป็นร้อยละ 100 (4) วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า งานวิจัยส่วนใหญ่ ใช้วิธีการพรรณนา คิดเป็นร้อยละ 65.3 3) ผลการศึกษาวิจัย (Meta Data Analysis) พบว่า การ สังเคราะห์ข้อค้นพบมีเป็น 7 มิติ ประกอบไปด้วย (1) ข้อค้นพบในมิติของเป้าหมายหรือการเกิดขึ้น ของเครือข่าย (2) ข้อค้นพบในมิติของโครงสร้างองค์กรหรือความสัมพันธ์ของเครือข่าย มิติ โครงสร้าง องค์กรของเครือข่าย (3) ข้อค้นพบในมิติของบทบาทและองค์ประกอบของเครือข่าย (4) ข้อค้นพบใน มิติของกระบวนการและการบริหารจัดการของเครือข่าย (5) ข้อค้นพบในมิติของผลการดาเนินงาน ของเครือข่าย (6) ข้อค้นพบในมิติของปัญหา อุปสรรคหรือปัจจัยส่งเสริมและสนับสนุนการดาเนินงาน ของเครือข่าย (7) ข้อค้นพบในมิติของแนวทางการพัฒนาเครือข่าย (3) บริบทการศึกษาวิจัยด้าน เครือข่าย พบว่า อันดับแรกเครือข่ายระดับองค์กร คิดเป็นร้อยละ 64.3 3) ลักษณะ ประเภทและ รูปแบบของเครือข่าย ผลการศึกษาลักษณะ ประเภท และรูปแบบของเครือข่าย พบว่า อันดับแรก เครือข่ายแนวนอน 4) ทิศทางแนวโน้มในการศึกษาวิจัยด้านเครือข่าย (1) การศึกษาวิจัยด้านเครือข่าย ศึกษาถึงผลกระทบจากความร่วมมือหนึ่งๆ ทั้งในระดับความร่วมมือของเครือข่าย และผลกระทบจาก เครือข่ายอื่นๆ ตลอดจนการศึกษาวิจัยถึงความเชื่อมโยงหรือความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายกับ เครือข่ายทั้งในระดับนโยบาย องค์กร และความร่วมมือต่างๆ (2) ใช้วิธีการวิจัยที่หลากหลายใน การศึกษาค้นหาความจริงของปรากฏการณ์นั้นๆ เช่น วิธีการวิจัยเชิงสารวจ วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ วิธีการวิจัยเชิงเอกสาร วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี และวิธีการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยชี้ว่า นักวิจัยที่มีความสนใจในการศึกษาวิจัยด้านเครือข่ายควรใช้ วิธีการศึกษาที่มีความหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยเชิงผสมผสาน และใช้ทฤษฎีหรือ แนวคิดที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น การวิเคราะห์แบบ Social Network Analysis แนวคิด ทุนทางสังคม และเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ในการวิเคราะห์วิจัยด้านเครือข่ายมากยิ่งขึ้น ควรมี การศึกษาถึงผลกระทบภายนอกที่มีอิทธิพลต่อเครือข่าย การศึกษาถึงการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่าย กับเครือข่าย การศึกษาถึงสัมฤทธิ์ผลของเครือข่ายทั้งในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้วยควร เพิ่มความร่วมมือด้านเครือข่ายให้มีความหลากหลายมากขึ้น ภาครัฐควรเป็นผู้วางแนวทางกาหนด ทิศทาง ภาคเอกชน ควรเป็นตัวขับเคลื่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคเอกชนจึงควรมุ่งเน้นการมีส่วนร่วม กาหนดทิศทางการพัฒนาเพื่อช่วยเหลืองานบริการด้านสาธารณะหรือสนับสนุนให้มากขึ้น
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558