• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
  • GSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
  • GSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ต้นทุนการทำธุรกรรมของอุตสาหกรรมกองทุนรวมใน AEC

by ชวิน ชูสกุล

Title:

ต้นทุนการทำธุรกรรมของอุตสาหกรรมกองทุนรวมใน AEC

Other title(s):

The transaction costs of mutual fund industry in AEC

Author(s):

ชวิน ชูสกุล

Advisor:

ปริยดา สุขเจริญสิน

Degree name:

เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ

Degree department:

คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ

Issued date:

2015

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนการทาธุรกรรมของอุตสาหกรรมกองทุนรวม ในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (AEC) โดยได้แบ่งการศึกษา ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การศึกษาปัจจัยกำหนดค่าธรรมเนียมของกองทุนรวมใน AEC และ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าธรรมเนียมกับผลการดำเนินงานและการลงทุนของกองทุน รวมใน AEC เพื่อใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมกองทุนรวมของไทยเพื่อให้ พร้อมรับมือกับการเปิดเสรีซื้อขายกองทุนรวม
งานศึกษาในส่วนแรก มุ่งหาปัจจัยกาหนดค่าธรรมเนียมการจัดการและอัตราส่วน ค่าใช้จ่าย เพื่อหาระดับการประหยัดจากขนาดและจากขอบเขตของอุตสาหกรรมกองทุนรวมของ แต่ละประเทศใน AEC ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่ง ทาการศึกษาในช่วงปี พ.ศ. 2552 – 2556 โดยใช้ข้อมูลประเภทภาคตัดขวาง (Cross-Section Data) และพาแนล (Panel Data) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ทางสถิติและประมาณสมการถดถอย (Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ผลการดาเนินงานส่งผลกระทบด้านบวกต่อ ค่าธรรมเนียม โดยกองทุนรวมประเทศมาเลเซียมีระดับการประหยัดจากขนาดและจากขอบเขต มากที่สุด ในขณะที่กองทุนรวมประเทศไทยมีระดับความประหยัดจากขนาดและจากขอบเขต น้อยที่สุด
งานศึกษาในส่วนที่สอง มุ่งหาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลการดาเนินงานและทรัพย์สิน สุทธิรวมของกองทุนรวม ซึ่งมาตรวัดผลการดาเนินงานของกองทุนที่เลือกใช้แบ่งเป็น ผลตอบแทนก่อนปรับความเสี่ยง และผลตอบแทนหลังปรับความเสี่ยง โดยงานศึกษานี้เลือกใช้ Sharpe Ratio, Sortino Ratio และ Information Ratio ผลการศึกษาพบว่าการเพิ่มขึ้นของ อัตราส่วนค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมการจัดการส่งผลให้กองทุนรวมมีผลการดำเนินงานที่ดี และ ยังพบว่ากองทุนที่อยู่ภายใต้ บลจ. ขนาดใหญ่จะมีผลการดำเนินงานที่ด้อยกว่ากองทุนที่อยู่ ภายใต้ บลจ. ขนาดเล็ก และกองทุนรวมประเทศไทยที่บริหารโดย บลจ. ที่อยู่ในเครือธนาคาร พาณิชย์ไม่ได้มีผลการดา เนินงานดีกว่ากองทุนที่ไม่ได้อยู่ในเครือ นอกจากนี้เมื่อทำ การศึกษา
ปัจจัยกำหนดทรัพย์สินสุทธิรวมของกองทุน พบว่ามีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงของ ค่าธรรมเนียมในการลงทุนกองทุนรวมไทยที่ต่า และมีค่าความยืดหยุ่น ที่น้อยกว่าประเทศอื่นๆ ใน AEC ในกองทุนรวมตราสารหนี้และผสม ซึ่งแสดงได้ว่ากองทุนรวมประเทศไทยยังสามารถ ปรับเปลี่ยนค่าธรรมเนียมได้
ผลการศึกษาทั้งสองส่วนทาให้ทราบว่ากองทุนรวมประเทศไทยควรพัฒนาให้มีความ ประหยัดจากขนาดและจากขอบเขตมากขึ้น นอกจากนี้ กองทุนรวมไทยยังสามารถเพิ่ม ค่าธรรมเนียมของบางประเภทกองทุนได้ หากกองทุนนั้นมีผลการดำเนินงานที่ดี ดังนั้นการเพิ่ม ค่าธรรมเนียมนอกจากจะทาให้กองทุนรวมได้รายรับรวมที่มากขึ้นจากความยืดหยุ่นของนัก ลงทุนที่ต่า แล้ว ยังอาจส่งผลให้กองทุนมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นได้ ซึ่งเมื่อเทียบกับกองทุนรวม ประเทศอื่นๆ ใน AEC กองทุนรวมประเทศไทยได้เปรียบในส่วนนี้

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

Subject(s):

กองทุนรวม
อุตสาหกรรม -- อาเซียน

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

222

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4658
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b191061.pdf ( 2,811.65 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSDE: Theses [66]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×