Title:
| การศึกษาความสามารถในการแข่งขันของตลาดหลักทรัพย์ไทยในอาเซียน 5 |
Other title(s):
| The competitiveness of Thai Stock Market among ASEAN 5 nations |
Author(s):
| วนิดา จรุงกิจกุล |
Advisor:
| สรศาสตร์ สุขเจริญสิน |
Degree name:
| เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level:
| Master's |
Degree discipline:
| เศรษฐศาสตร์การเงิน |
Degree department:
| คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ |
Degree grantor:
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date:
| 2013 |
Publisher:
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract:
|
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของตลาดหลักทรัพย์ในอาเซียน 5 2) ศึกษาความสามารถในการแข่งขันของตลาดหลักทรัพย์ไทยในอาเซียน 5 และ 3)กำหนดกลยทุธ์ในการพฒันาความสามารถในการแข่ง ขันของตลาดหลักทรัพย์ไทย วิธีการศึกษาแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการศึกษาสภาพทั่วไปของตลาดหลักทรัพย์ในอาเซียน 5 ได้แก่ ตลาดหลักทรพัย์แห่งประเทศไทย (Stock Exchange ofThailand: SET) ตลาดหลักทรัพย์เบอร์ซามาเลเซีย (Bursa Malaysia: BM) ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (Singapore Exchange: SGX) ตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย (Indonesia StockExchange: IDX) และตลาดหลักทรัพย์ฟิลปปินส์ (Philippine Stock Exchange: PSE) ซึ่งจะครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ ความเป็นมาและข้อมูลทั่วไป การดำเนินงานทที่สำคญั และสถานการณ์ในช่วงปี พ.ศ. 2550-2555 ของตลาดหลักทรัพย์ในอาเซียน 5 ส่วนที่สองศึกษาความสามารถในการแข่งขันของตลาดหลักทรัพย์ไทยในอาเซียน 5 ก่อนการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วยแบบจำลองระบบเพชรและสว่นที่สามเมื่อทราบถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของตลาดหลักทรัพย์ไทย ซึ่งจะนำผลการศึกษามาวิเคราะห์เพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของตลาดหลักทรัพย์ไทยทั้ง แผนระยะสั้น และแผนระยะยาว ผลการศึกษาความสามารถในการแข่งขนั ของตลาดหลักทรัพย์ไทยในกลุ่มประเทศอาเซียน 5 พบว่าตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงกว่าตลาดหลักทรัพย์ไทยในทุกด้าน ถึงแม้ว่าตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ จะมีอุปสรรคทางทรัพยากรเมื่อเทียบกับตลาดหลกั ทรัพย์ไทยแต่ก็มีความสามารถในการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดร่วมกับนโยบายการเปิดเสรีทางการค้าลงทุนทำให้ตลาดหลักทรพัย์สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการลงทุนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเช่นเดียวกับตลาดหลักทรัพย์มาเลเซียที่มีการเติบโตในอุตสาหกรรมการเงิน อิสลาม ธุรกิจ พลังงาน และ ปาลม์ น้ำมัน เข้ามาสนับสนุน ซึ่ง เมื่อศึกษาในทุกปัจจัย จะพบว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาในทุกปัจจัยตามแบบจำลองระบบเพชรเพื่อ ยกระดับความสามารถในการแข่งขัน ด้านการกำหนดกลยุทธ์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของตลาดหลักทรัพย์ไทย ผู้วิจัยได้วิคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT analysis) โดยมีการจัดรูปแบบลำดับขั้น (The Analytic Hierarchy Process: AHP) และสอบถามกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในสายงานตลาดทุนสำหรับการกำหนดกลยุทธ์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของตลาดหลักทรัพย์ไทย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าประเด็นด้านจุดอ่อนมีความสำคัญมากที่สุดในการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยมีน้ำหนักเท่ากับ 0.294 รองมาคือ จุดแข็ง (Ws:0.267) และอุปสรรค (WT: 0.261) ที่มีระดับใกล้เคียงกัน ขณะที่โอกาสมีลำดับคะแนนต่ำสุด (Wo: 0.178) โดยในปัจจัย ย่อยที่ได้น้ำหนักคะแนนรวม (Global Priority) สูงสุด 5 อันดับแรก คือ (1) พฤติกรรมการซื้อขายของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย (W2: 0.0303), (2) ตลาดหลักทรัพย์ไทย ยังมีขนาดเล็ก (W1:0.0288), (3) การเข้าถึงตลาดหลักทรัพย์ของธุรกิจในประเทศยิ่งต่ำ (W3: 0.0273), (4) คุณภาพของแรงงานและการศึกษาทางด้านการเงิน (T4: 0.0261) และ (5) กฎระเบียบเกี่ยวกับการลงทนุ ในตลาดทนุ (T3: 0.0193) และเมื่อคำนวณน้ำหนักเพื่อกลยุทธ์ใน TOWS Matrix พบว่ากลยุทธ์เชิงรับ (WT strategy) ได้รับน้ำหนักสูงสุด เท่ากับ 0.077 อันดับถัดมาคือกลยุทธ์พลิกฟื้น (ST strategy) เท่ากับ 0.068 กลยุทธ์การแตกตัว (WOstrategy) เท่ากบั 0.052 และกลยุทธ์รุกราน (SO strategy) เท่ากบั 0.048 ดังนั้น กลยุทธ์ในการพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและสามารถแข่งขันกับตลาดหลักทรัพย์แห่งอื่นได้ ประกอบด้วย การควบคุมและตรวจสอบพฤติกรรมการซื้อขายของนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ การขยายฐานนักลงทุนสถาบัน การพัฒนาคุณภาพแรงงานและการศึกษาด้านแรงงาน และ การปรับปรุง กฎระเบียบ เกี่ยวกับการลงทุน
|
Description:
|
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์การเงิน))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556
|
Subject(s):
| ตลาดหลักทรัพย์ -- ไทย |
Resource type:
| วิทยานิพนธ์ |
Extent:
| 190 |
Type:
| Text |
File type:
| application/pdf |
Language:
| tha |
Rights:
| ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s):
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI:
| http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4659 |