Browsing GSPA: Dissertations by Title
Now showing items 376-395 of 440
-
การทดสอบทฤษฎีภาวะผู้นำในองค์การระบบเปิด : กรณีภาควิชามหาวิทยาลัยของรัฐ / โดย อวยชัย ชะบา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1989);
วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาในครั้งนี้ คือการทดสอบทฤษฎีภาวะผู้นำจากต่างประเทศ ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ของไทยได้รวบรวมข้อมูลจากภาควิชาในมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งเป็นประชากรในการศึกษาโดยการส่งแบบสอบถามไปให้ประเมินตนเอง โดยผู้ประเมินเป็นประชากรเป้าหมายได้แก่หัวหน้าภาควิชา จำนวน 182 ท่าน คณาจารย์ จำนวน 138 ท่าน และเจ้าหน้าที่ประจำภาควิชาจำนวน 160 ท่าน และติดตามสัมภาษณ์เจาะลึกอดีตหัวหน้าภาควิชาบางท่านเพื่อประกอบข้อค้นพบจากแบบสอบถาม -
การนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาสหวิทยาลัยอีสานใต้
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993);
การวิจัยเรื่อง "การนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาสหวิทยาลัยอีสานใต้" เป็นการศึกษา การนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติของวิทยาลัยครู (2) เพื่อศึกษาสภาพการนำนโยบายไปปฏิบัติของวิทยาลัยครู (3) เพื่อนำผลที่ค้นพบจากการศึกษาวิจัย ไปพัฒนาเป็นข้อเสนอแนะในการนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และพัฒนาเป็นสมมติฐานในการทดสอบ 3 สมมติฐาน คือ สมมติฐานที่ 1 ตัวแปรลักษณะโครงสร้างของนโยบายทรัพยากร การให้ความร่ ... -
การนำนโยบายภาษีมูลค่าเพิ่มไปปฏิบัติ : การศึกษาวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์ในธุรกิจโรงแรม
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993);
นโยบายภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นนโยบายภาษีใหม่ที่กรมสรรพากรนำมาใช้แทนระบบภาษีการค้าเดิม และเริ่มมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 35 ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญก็คือ ต้องการที่จะพัฒนาระบบการจัดเก็บภาษี ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น มีความยุติธรรมในการจัดเก็บ ลดความซ้ำซ้อนทางภาษี อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวมด้วย เนื่องจากนโยบายภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว เป็นนโยบายภาษีใหม่ของกรมสรรพากร และของประเทศไทยจึงเป็นมูลเหตุจูงใจทำให้ผู้วิจัย อยากที่จะทำการศึกษาว่า ผลของการนำนโยบายภาษีมูลค่าเพิ่ม ไปปฏิบัตินั้นเป็นอย่างไรบ้าง ระบบการจัดเก็บมี ... -
การนำนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ : ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จ
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1990);
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เน้นเฉพาะในส่วนของนโยบายส่งเสริมการศึกษาให้กับชาวไทยมุสลิม -
การบริหารการพัฒนาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1997); -
การบริหารการพัฒนาเมืองพัทยา : รูปแบบที่ควรจะเป็น
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993);
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้เป็นการศึกษาเฉพาะกรณีการบริหารของเมืองพัทยาที่ได้เลียนแบบแนวความคิดการบริหารรูปแบบผู้จัดการจากประเทศสหรัฐอเมริกามาใช้ โดยตราเป็นพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ.2521 นับเป็นแห่งแรก และแห่งเดียวของประเทศไทย จนถึงปัจจุบันนี้ได้ประสบกับปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย และไม่สามารถแก้ปัญหาได้ส่งผลถึงการบริหารไม่บรรลุเป้าหมาย และสามารถรองรับภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพได้ -
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การสาธารณประโยชน์ด้านสังคมสงเคราะห์เกี่ยวกับเด็กและสตรี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011);
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ค้นหาแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ สาธารณประโยชน์ด้านสังคมสงเคราะห์เกี่ยวกับเด็กและสตรีในประเทศไทย ด้วยระเบียบวิธีวิจัย เชิงคุณภาพ โดยวิธีการศึกษาเฉพาะกรณีในองค์การสาธารณประโยชน์ด้านสังคมสงเคราะห์ เกี่ยวกับเด็กและสตรีในประเทศไทย ที่ดําเนินการต่อเนื่องเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป และมี เจ้าหน้าที่ 50 คนขึ้นไป จํานวน 3 กรณีศึกษา ผลการศึกษา พบว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในกรณีศึกษาปฏิบัติการผ่านระบบการ บริหารทรัพยากรมนุษย์ 5 ระบบย่อยที่สัมพันธ์กันและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายในและ ภายนอกองค์การซึ่งระบบย่อย ... -
การพัฒนาตัวแบบผู้นำเชิงนวัตกรรม
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010);
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะของผู้นําเชิง นวัตกรรม ขององค์การธุรกิจเอกชนภาคอุตสาหกรรม ที่มีลักษณะเป็นองค์การแห่งนวัตกรรม 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาผู้นําเชิงนวัตกรรม 3) พัฒนาตัวแบบผู้นําเชิงนวัตกรรม โดยประยุกต์ใช้ ทฤษฎีภาวะผู้นําและแนวคิดการพัฒนานวัตกรรม เป็นฐานคติในการศึกษาเพื่อค้นหาปัจจัยที่เป็น องค์ประกอบคุณลักษณะของผู้นําที่มีผลต่อการพัฒนานวัตกรรมในองค์การ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือผู้นําองค์การที่มีผลิตภัณฑ์ กระบวนการ หรือบริการ ซึ่งเป็นผลจากการสร้างสรรค์ที่มีลักษณะความเป็นนวัตกรรม ใช้วิธีการศึกษาแบบ ... -
การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะเชิงประจักษ์ : ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายการประถมศึกษาของไทย (พ.ศ. 2523-2527)
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1988);
การศึกษาปัจจัยกำหนดที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายและผลของนโยบายการประถมศึกษาของไทย เป็นการศึกษาเชิงประจักษ์โดยใช้แนวคิดเชิงระบบเป็นกรอบใหญ่ในการวิเคราะห์ เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการกำหนดนโยบายการประถมศึกษาของไทยกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งจะเป็นแนวทางสำคัญในการกำหนดนโยบายการประถมศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการและการสนับสนุนของประชาชนในท้องถิ่น ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยกำหนดให้ฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชน ความเป็นเมือง และความเป็นอุตสาหกรรม เป็นดัชนีในการวัดปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม และกำหนดให้การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดย ... -
การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ : ศึกษากรณีนโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1996);
ประเทศไทยได้เริ่มนำนโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาใช้เมื่อปี พ.ศ. 2518 เพื่อสนองตอบต่อสภาพทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองในขณะนั้น มีการจัดตั้งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ขึ้นมาทำหน้าที่ในการจัดซื้อและเวนคืนที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อนำมาจัดสรรให้แก่เกษตรกรเป้าหมายต่อไป ดังนั้นผลการจัดซื้อและเวนคืนที่ดินและผลการจัดที่ดินให้แก่เกษตรกร จึงเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำเร็จของการนำนโยบายนี้ไปปฏิบัติ / วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการพยายามศึกษากระบวนการนำนโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไปปฏิบัติ เพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินการนำโ ... -
การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ : กรณีศึกษานโยบายรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือแห่งชาติ
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1991);
นโยบายรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือ เป็นนโยบายสำคัญระดับชาติ ที่รัฐบาลได้กำหนดขึ้น ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) โดยรัฐบาลเห็นว่า การไม่รู้หนังสือเป็นอุปสรรคปิดกั้นความรู้และความเจริญทุกด้านของมนุษย์ นโยบายนี้ เมื่อนำไปปฏิบัติก็บังเกิดผลดี จนกลายเป็นเกียรติประวัติของชาติที่รับรู้กันทั่วโลก และเนื่องจากวิชาการด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ อันเป็นองค์ประกอบหลักของศาสตร์การวิเคราะห์นโยบาย ที่เป็นจุดเชื่อมโยงสำคัญระหว่างการกำหนดนโยบายกับการประเมินนโยบาย ยังเป็นช่องว่างที่ไม่ได้รับความสนใจจากนักวิชาการเท่าที่ควร ... -
การวิเคราะห์โครงสร้างการบริหารงานและประสิทธิผลของหน่วยการปกครองท้องถิ่น : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสุขาภิบาลและเทศบาล
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1989);
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างของสุขาภิบาล เกี่ยวกับการกระจายอำนาจและรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับสุขาภิบาล รวมทั้งศึกษา หาข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารงานและประสิทธิผลของสุขาภิบาลโดยเปรียบเทียบกับเทศบาล เพื่อประกอบการยกระดับของสุขาภิบาล -
การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการรื้อปรับระบบองค์การ : ศึกษาเฉพาะกรณี กรมการศึกษานอกโรงเรียน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1997); -
การศึกษารูปแบบและแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในสถาบันอุดมศึกษาไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010);
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาพัฒนาการนโยบาย กฎหมาย และระเบียบ เกี่ยวกับการจัดการศึกษาสําหรับคนพิการ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาสําหรับ คนพิการที่เหมาะสมและสามารถนําไปปฏิบัติได้ในสถาบันอุดมศึกษาไทย วิธีการวิจัยในส่วนแรก เป็นการศึกษาเชิงเอกสาร (Documentary Research) ที่ครอบคลุมสาระของกฎหมายหลักได้แก่ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติการจัด การศึกษาสําหรับคนพิการ พ.ศ.2551 ลําดับถัดมาเป็นการวิจัยในภาคสนามโดยใช้เทคนิคการเก็บ ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data)ในกรณีศึกษาที่เป็นสถาบันกา ... -
การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการสหกรณ์การเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1997);
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพการบริหารจัดการสหกรณ์การเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคล้ายคลึงและแตกต่างในการบริหารจัดการสหกรณ์การเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 กุล่ม คือ กลุ่มที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจมาก ปานกลางและน้อย และเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการสหกรณ์การเกษตรในระดับอำเภอให้สอดคล้องกับปัญหาและข้อเท็จจริง โดยผู้วิจัยได้ใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์เชิงระบบเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ศึกษา / เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่กำหนดไว้ข้างต้น ... -
การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนทางการศึกษาและคุณภาพการศึกษาระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010); -
การศึกษาเพื่อกำหนดคำนิยามเมืองในประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993);
การกล่าวถึงเมืองในความหมายที่ใช้ทางวิชาการ ต้องมีคำจำกัดความที่ชัดเจนมากกว่าความหมายที่เข้าใจกันตามสามัญสำนึกทั่วไป การศึกษาเพื่อกำหนดคำนิยามเมืองจึงเป็นการเสนอวิธีจำกัดความหมายของคำว่าเมือง เพื่อให้เกิดความชัดเจนในระดับพื้นฐานของแนวคิด คำนิยามเมืองซึ่งเป็นที่ยอมรับจะป้องกันไม่ให้มีการแปลความหมายที่ไขว้เขว หรือทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน นอกจากนั้น คำนิยามเมืองยังใช้เป็นเงื่อนไขในการพิจารณาคุณสมบัติของพื้นที่ เพื่อให้สามารถระบุขอบเขตทางภูมิศาสตร์ของเมือง สำหรับใช้เป็นหน่วยศึกษาวิเคราะห์ในประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับชุมชนเมือง ดังนั้น คำนิยามเมื ... -
การส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชายในภาคราชการ : การวิเคราะห์กระบวนการนโยบายสาธารณะ
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2009); -
การเปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์การที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลองค์การ : กรณีศึกษารัฐวิสาหกิจในประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การที่มีต่อประสิทธิผล ขององค์การแบบรัฐวิสาหกิจทางการเงินในประเทศไทย และ 2) เปรียบเทียบความแตกต่างด้าน วัฒนธรรมองค์การระหว่างองค์การที่มีประสิทธิผลสูง ปานกลาง และต่ำ ด้วยวิธีสืบค้นหาสาเหตุหรือ ตัวแปรอิสระ คือ วัฒนธรรมองค์การที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์หรือตัวแปรตาม คือ ประสิทธิผลองค์การ โดยจำแนกรัฐวิสาหกิจออกเป็น 3 กลุ่มคือ องค์การที่มีประสิทธิผลสูงปานกลาง และต่ำ ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative)เป็นหลักศึกษาข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสัมภาษณ์เช ... -
การใช้เทคนิคการวิเคราะห์นโยบายในส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจด้านเศรษฐกิจและสังคม
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1992);
วิทยานิพนธ์เรื่อง "การใช้เทคนิคการวิเคราะห์นโยบายในส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจด้านเศรษฐกิจและสังคม" นี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) ต้องการศึกษาว่าหน่วยงานด้านการวิเคราะห์นโยบายในส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจด้านเศรษฐกิจและสังคม นำเทคนิคการวิเคราะห์นโยบายไปใช้อย่างไรบ้าง (2) ต้องการเปรียบเทียบความคล้ายคลึงและความแตกต่างของการใช้เทคนิคการวิเคราะห์นโยบายในส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจด้านเศรษฐกิจและสังคม และ (3) ต้องการวิเคราะห์ว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่เป็นสาเหตุของความแตกต่างในการนำเทคนิคการวิเคราะห์นโยบายไปใช้ในส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจด้านเศรษฐกิจและสังคม ...