Now showing items 1-20 of 410

  • Thumbnail

    การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะเชิงประจักษ์ : ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายการประถมศึกษาของไทย (พ.ศ. 2523-2527) 

    สมบัติ ธำรงธัญวงศ์; สมศักดิ์ ชูโต, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1988)

    การศึกษาปัจจัยกำหนดที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายและผลของนโยบายการประถมศึกษาของไทย เป็นการศึกษาเชิงประจักษ์โดยใช้แนวคิดเชิงระบบเป็นกรอบใหญ่ในการวิเคราะห์ เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการกำหนดนโยบายการประถมศึกษาของไทยกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งจะเป็นแนวทางสำคัญในการกำหนดนโยบายการประถมศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการและการสนับสนุนของประชาชนในท้องถิ่น ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยกำหนดให้ฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชน ความเป็นเมือง และความเป็นอุตสาหกรรม เป็นดัชนีในการวัดปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม และกำหนดให้การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดย ...
  • Thumbnail

    การทดสอบทฤษฎีภาวะผู้นำในองค์การระบบเปิด : กรณีภาควิชามหาวิทยาลัยของรัฐ / โดย อวยชัย ชะบา 

    อวยชัย ชะบา; อรุณ รักธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1989)

    วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาในครั้งนี้ คือการทดสอบทฤษฎีภาวะผู้นำจากต่างประเทศ ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ของไทยได้รวบรวมข้อมูลจากภาควิชาในมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งเป็นประชากรในการศึกษาโดยการส่งแบบสอบถามไปให้ประเมินตนเอง โดยผู้ประเมินเป็นประชากรเป้าหมายได้แก่หัวหน้าภาควิชา จำนวน 182 ท่าน คณาจารย์ จำนวน 138 ท่าน และเจ้าหน้าที่ประจำภาควิชาจำนวน 160 ท่าน และติดตามสัมภาษณ์เจาะลึกอดีตหัวหน้าภาควิชาบางท่านเพื่อประกอบข้อค้นพบจากแบบสอบถาม
  • Thumbnail

    การวิเคราะห์โครงสร้างการบริหารงานและประสิทธิผลของหน่วยการปกครองท้องถิ่น : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสุขาภิบาลและเทศบาล 

    วรพิทย์ มีมาก; ไพบูลย์ ช่างเรียน, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1989)

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างของสุขาภิบาล เกี่ยวกับการกระจายอำนาจและรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับสุขาภิบาล รวมทั้งศึกษา หาข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารงานและประสิทธิผลของสุขาภิบาลโดยเปรียบเทียบกับเทศบาล เพื่อประกอบการยกระดับของสุขาภิบาล
  • Thumbnail

    การนำนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ : ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จ 

    อาคม ใจแก้ว; สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1990)

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เน้นเฉพาะในส่วนของนโยบายส่งเสริมการศึกษาให้กับชาวไทยมุสลิม
  • Thumbnail

    ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะองค์การกับประสิทธิผลขององค์การภาครัฐบาลในการบริหารราชการไทย 

    กิ่งพร ทองใบ; สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1990)

    ประสิทธิผลขององค์การ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมากทั้งในวงวิชาการด้านการบริหารและวงวิชาชีพ โดยเฉพาะกับการพัฒนาประเทศเท่าที่ปรากฏมา การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะองค์การกับประสิทธิผลขององค์การโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบบริหารราชการของไทยเป็นเรื่องที่ยังไม่เคยมีการศึกษามาก่อนอย่างจริงจัง วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะทำการศึกษาโดยการวัดและประเมินประสิทธิผลขององค์การภาครัฐบาลในระดับการบริการราชการส่วนกลาง และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลลักษณะองค์การ เพื่อศึกษาดูว่า ปัจจัยลักษณะองค์การปัจจัยใดมีอิทธิพลส่งผลต่อประสิทธิผลขององค์การ และในจำนวน ...
  • Thumbnail

    สื่อเพื่อการบริหารการพัฒนา : กรณีการจัดตั้งศูนย์วีดีโอเทปเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ศาลาอีสานเขียว 

    สมาน งามสนิท; อรุณ รักธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1990)

    วิทยานิพนธ์เรื่อง "สื่อเพื่อการบริหารการพัฒนา : กรณีการจัดตั้งศูนย์วีดิโอเทปเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในที่ศาลาอีสานเขียว" นี้ เป็นการขยายการศึกษาต่อจากการที่โครงการอีสานเขียวได้สร้างศาลาอีสานเขียวไว้ในหมู่บ้านเป้าหมาย โครงการศาลาอีสานเขียวนั้นเมื่อได้สร้างศาลาอีสานเขียวเสร็จแล้วยังไม่มีกำหนดการใช้สอยประโยชน์ของศาลาอีสานเขียวให้ชัดเจนแต่อย่างไร การศึกษานี้จึงศึกษาเพื่อจัดตั้งศูนย์วีดิโอเทปขึ้นที่ศาลาอีสานเขียว เพื่อเป็นศูนย์รวมความรู้และวิทยาการใหม่ ๆ และ เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับนักบริหารการพัฒนาจะได้ใช้ในการบริหารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสั ...
  • Thumbnail

    การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ : กรณีศึกษานโยบายรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือแห่งชาติ 

    กล้า ทองขาว; วรเดช จันทรศร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1991)

    นโยบายรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือ เป็นนโยบายสำคัญระดับชาติ ที่รัฐบาลได้กำหนดขึ้น ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) โดยรัฐบาลเห็นว่า การไม่รู้หนังสือเป็นอุปสรรคปิดกั้นความรู้และความเจริญทุกด้านของมนุษย์ นโยบายนี้ เมื่อนำไปปฏิบัติก็บังเกิดผลดี จนกลายเป็นเกียรติประวัติของชาติที่รับรู้กันทั่วโลก และเนื่องจากวิชาการด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ อันเป็นองค์ประกอบหลักของศาสตร์การวิเคราะห์นโยบาย ที่เป็นจุดเชื่อมโยงสำคัญระหว่างการกำหนดนโยบายกับการประเมินนโยบาย ยังเป็นช่องว่างที่ไม่ได้รับความสนใจจากนักวิชาการเท่าที่ควร ...
  • Thumbnail

    ขีดความสามารถในการบริหารงานพัฒนาของสภาตำบลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

    วิรัช วิรัชนิภาวรรณ; ไพบูลย์ ช่างเรียน, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1991)

    วิทยานิพนธ์นี้ให้ความสนใจอย่างยิ่งกับการศึกษาถึงความคิดเห็นของกรรมการสภาตำบลและทัศนคติของประชาชนต่อขีดความสามารถในการบริหารงานพัฒนาของสภาตำบล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้น จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งศึกษาถึงความคิดเห็นของคณะกรรมการสภาตำบล และทัศนคติประชาชนต่อความสัมพันธ์ระหว่าง ITERMS กับ N ในฐานะที่ ITERMS,N เป็นตัวแบบหนึ่งที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นกรอบแนวคิดในการพิจารณาถึงขีดความสามารถในการบริหารงานพัฒนาของสภาตำบลได้โดย ITERMS ซึ่งประกอบขึ้นด้วยข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี ฐานะทางการเงินของสภาตำบล ทรัพยากร การเสียสละเพื่อส่วนรวมของกรรมการสภาตำบล ...
  • Thumbnail

    การใช้เทคนิคการวิเคราะห์นโยบายในส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจด้านเศรษฐกิจและสังคม 

    อรัสธรรม พรหมมะ; วินิต ทรงประทุม, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1992)

    วิทยานิพนธ์เรื่อง "การใช้เทคนิคการวิเคราะห์นโยบายในส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจด้านเศรษฐกิจและสังคม" นี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) ต้องการศึกษาว่าหน่วยงานด้านการวิเคราะห์นโยบายในส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจด้านเศรษฐกิจและสังคม นำเทคนิคการวิเคราะห์นโยบายไปใช้อย่างไรบ้าง (2) ต้องการเปรียบเทียบความคล้ายคลึงและความแตกต่างของการใช้เทคนิคการวิเคราะห์นโยบายในส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจด้านเศรษฐกิจและสังคม และ (3) ต้องการวิเคราะห์ว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่เป็นสาเหตุของความแตกต่างในการนำเทคนิคการวิเคราะห์นโยบายไปใช้ในส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจด้านเศรษฐกิจและสังคม ...
  • Thumbnail

    ระบบราชการไทยกับทัศนคติและพฤติกรรมของข้าราชการด้านการพัฒนาชนบท : ศึกษาเฉพาะกรณีของข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข 

    ประยงค์ เต็มชวาลา; อุทัย เลาหวิเชียร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1992)

    การวิจัยในกรณีนี้ เป็นความพยายามที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่าองค์การระบบราชการ จะมีส่วนสัมพันธ์เชิงเหตุเชิงผลอย่างไรบ้างกับความสำเร็จหรือล้มเหลวของการพัฒนาชนบทไทย กรอบแนวความคิดสำหรับการวิจัยในที่นี้คือ ความสำเร็จหรือล้มเหลวของการนำนโยบายการพัฒนาชนบทไปสู่การปฏิบัตินั้น ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของข้าราชการในการบริหารการพัฒนาชนบท ทั้งนี้การศึกษาถึงศักยภาพขององค์การระบบราชการ รวมทั้งทิศทางและแนวโน้มพฤติกรรมของข้าราชการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จะขึ้นอยู่กับทัศนคติของข้าราชการที่มีต่อการบริหารการพัฒนาชนบทด้วย.
  • Thumbnail

    อิทธิพลของภาวะผู้นำของคณบดีที่มีต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 

    ชวลิต หมื่นนุช; ถวัลย์ วรเทพพุฒิพงษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1992)

    การศึกษาวิจัยเรื่อง อิทธิพลของภาวะผู้นำของคณบดีที่มีต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนี้ มุ่งที่จะหาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอิทธิพลของภาวะผู้นำของคณบดีและปัจจัยอื่น ๆ ที่มีต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการ โดยใช้ทฤษฏีภาวะผู้นำของฟิดเลอร์
  • Thumbnail

    การนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาสหวิทยาลัยอีสานใต้ 

    ทองใบ สุดชารี; วรเดช จันทรศร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993)

    การวิจัยเรื่อง "การนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาสหวิทยาลัยอีสานใต้" เป็นการศึกษา การนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติของวิทยาลัยครู (2) เพื่อศึกษาสภาพการนำนโยบายไปปฏิบัติของวิทยาลัยครู (3) เพื่อนำผลที่ค้นพบจากการศึกษาวิจัย ไปพัฒนาเป็นข้อเสนอแนะในการนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และพัฒนาเป็นสมมติฐานในการทดสอบ 3 สมมติฐาน คือ สมมติฐานที่ 1 ตัวแปรลักษณะโครงสร้างของนโยบายทรัพยากร การให้ความร่ ...
  • Thumbnail

    การนำนโยบายภาษีมูลค่าเพิ่มไปปฏิบัติ : การศึกษาวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์ในธุรกิจโรงแรม 

    กิตติ บุนนาค; วรเดช จันทรศร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993)

    นโยบายภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นนโยบายภาษีใหม่ที่กรมสรรพากรนำมาใช้แทนระบบภาษีการค้าเดิม และเริ่มมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 35 ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญก็คือ ต้องการที่จะพัฒนาระบบการจัดเก็บภาษี ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น มีความยุติธรรมในการจัดเก็บ ลดความซ้ำซ้อนทางภาษี อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวมด้วย เนื่องจากนโยบายภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว เป็นนโยบายภาษีใหม่ของกรมสรรพากร และของประเทศไทยจึงเป็นมูลเหตุจูงใจทำให้ผู้วิจัย อยากที่จะทำการศึกษาว่า ผลของการนำนโยบายภาษีมูลค่าเพิ่ม ไปปฏิบัตินั้นเป็นอย่างไรบ้าง ระบบการจัดเก็บมี ...
  • Thumbnail

    ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพการบริหารงานขององค์การกับผลของการให้บริการอนามัยโรงเรียนของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร 

    ไพจิตร กสิวัฒน์; วินิต ทรงประทุม, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993)

    การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงาน และผลของการให้บริการอนามัยโรงเรียนของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพการบริหารงานขององค์การกับผลของการให้บริการอนามัยโรงเรียน ศึกษาปัจจัยสภาพการบริหารงานขององค์การที่ร่วมกันทำนาย ผลของการให้บริการอนามัยโรงเรียนได้ดีที่สุด อีกทั้งเปรียบเทียบผลของการให้บริการอนามัยโรงเรียนระหว่างโรงเรียนต่างขนาด และต่างความรับผิดชอบของสาธารณสุขภาค เปรียบเทียบการประเมินสภาพการบริหารงานขององค์การระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับผู้บริหาร.
  • Thumbnail

    ลักษณะและสาเหตุของปัญหาความยากจนของครอบครัวชนบท 

    อุดม ทุมโฆสิต; ชาติชาย ณ เชียงใหม่, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993)

    ปัญหาความยากจนในชนบท เป็นปัญหาสำคัญที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา นโยบายแก้ปัญหาความยากจนของรัฐยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ทั้งนี้เพราะความรู้ความเข้าใจในลักษณะปัญหายังอยู่ในขอบเขตที่จำกัด ทำให้ไม่สามารถระบุและวินิจฉัยวิธีการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพออกมาได้
  • Thumbnail

    ภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชน : การศึกษาสำรวจปัจจัยและผลกระทบของนโยบายสาธารณสุขมูลฐานในเขต 1 ของสาธารณสุข 

    ปิยะนุช เงินคล้าย; ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993)

    การศึกษาวิจัยเรื่อง ภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชน: การศึกษาสำรวจปัจจัยและผลกระทบของนโยบายสาธารณสุขมูลฐานในเขต 1 ของสาธารณสุข มุ่งที่จะตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรสาเหตุ ได้แก่ กิจกรรมสาธารณสุขมูลฐาน การปรับระบบบริการให้รองรับงานสาธารณสุขมูลฐาน การมีส่วนร่วมของประชาชน และความรู้ในการป้องกันโรค ที่มีต่อตัวแปรผล คือ ภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยใช้กรอบแนวทางการศึกษาทฤษฎีของการสาธารณสุขมูลฐานและแนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชน
  • Thumbnail

    ทางเลือกใหม่ขององค์กรพัฒนาเอกชน : การพัฒนาชนบทแนววัฒนธรรมชุมชน 

    สุจิตรา ธนานันท์, 2490-; จุรี วิจิตรวาทการ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993)
  • Thumbnail

    อิทธิพลของภาวะผู้นำที่มีต่อประสิทธิผลของการบริหารงาน : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้จัดการประปา การประปาส่วนภูมิภาค ประเทศไทย 

    เลิศ ไชยณรงค์; ถวัลย์ วรเทพพุฒิพงษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993)

    วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มุ่งจะศึกษาปัจจัยที่มีความสำคัญต่อประเภทผู้นำของผู้จัดการประปาส่วนภูมิภาค ตามแนวคิดของเรดดิน และเน้นศึกษาประเภทผู้นำว่ามีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ เมื่อร่วมกับตัวแปรอื่นทั้งยังต้องการจะศึกษาหาชุดตัวแปรที่จะสามารถอธิบายประสิทธิผลการบริหารงานได้ดีที่สุด ประสิทธิผลการบริหารงานของการศึกษานี้ ได้ครอบคลุมถึงประสิทธิผลการบริหารงานของบุคคล และประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กร นอกจากนี้ยังต้องการจะศึกษาว่ามาตรวัดประเภทผู้นำของเรดดินสามารถใช้แจกแจงผู้นำไทยออกเป็น 8 ประเภทตามแนวคิดทฤษฎีนี้หรือไม่
  • Thumbnail

    การบริหารการพัฒนาเมืองพัทยา : รูปแบบที่ควรจะเป็น 

    สุเทพ เชาวลิต; ไพบูลย์ ช่างเรียน, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993)

    วิทยานิพนธ์เรื่องนี้เป็นการศึกษาเฉพาะกรณีการบริหารของเมืองพัทยาที่ได้เลียนแบบแนวความคิดการบริหารรูปแบบผู้จัดการจากประเทศสหรัฐอเมริกามาใช้ โดยตราเป็นพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ.2521 นับเป็นแห่งแรก และแห่งเดียวของประเทศไทย จนถึงปัจจุบันนี้ได้ประสบกับปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย และไม่สามารถแก้ปัญหาได้ส่งผลถึงการบริหารไม่บรรลุเป้าหมาย และสามารถรองรับภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพได้
  • Thumbnail

    การศึกษาเพื่อกำหนดคำนิยามเมืองในประเทศไทย 

    โสภาคย์ ผาสุขนิรันต์; จุรี วิจิตรวาทการ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993)

    การกล่าวถึงเมืองในความหมายที่ใช้ทางวิชาการ ต้องมีคำจำกัดความที่ชัดเจนมากกว่าความหมายที่เข้าใจกันตามสามัญสำนึกทั่วไป การศึกษาเพื่อกำหนดคำนิยามเมืองจึงเป็นการเสนอวิธีจำกัดความหมายของคำว่าเมือง เพื่อให้เกิดความชัดเจนในระดับพื้นฐานของแนวคิด คำนิยามเมืองซึ่งเป็นที่ยอมรับจะป้องกันไม่ให้มีการแปลความหมายที่ไขว้เขว หรือทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน นอกจากนั้น คำนิยามเมืองยังใช้เป็นเงื่อนไขในการพิจารณาคุณสมบัติของพื้นที่ เพื่อให้สามารถระบุขอบเขตทางภูมิศาสตร์ของเมือง สำหรับใช้เป็นหน่วยศึกษาวิเคราะห์ในประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับชุมชนเมือง ดังนั้น คำนิยามเมื ...