การแปลงข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาความแปรปรวนไม่เท่ากันสำหรับแผนแบบการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์
Publisher
Issued Date
2012
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
64 แผ่น ; 30 ซม.
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ญาดาภา โชติดิลก (2012). การแปลงข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาความแปรปรวนไม่เท่ากันสำหรับแผนแบบการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/470.
Title
การแปลงข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาความแปรปรวนไม่เท่ากันสำหรับแผนแบบการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์
Alternative Title(s)
The data transformation on CRD with unequal variance
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
งานวิจัยนี้ศึกษาเปรียบเทียบความสามารถของวิธีการแก้ปัญหาความแปรปรวนไม่เท่ากัน ด้วยวิธีการแปลงข้อมูลแบบบ็อกซ์ – ค็อกซ์และวิธีการถ่วงน้ำหนัก โดยจำลองข้อมูลในแผนแบบ การทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์กำหนดปัจจัยการทดลองคงตัวและจ นวนซ้ำในแต่ละวิธีทดลองเท่ากัน โดยกำหนดจำนวนทรีตเมนต์ (k) และจำนวนซ้ำของหน่วยทดลองในแต่ละทรีตเมนต์ (n) เป็นดังนี้ (k, n) = (3, 5), (3, 10), (5, 10), (5, 12), (5, 20) กำหนดค่าความแปรปรวนแตกต่างกัน 3 ระดับ คือ ความแปรปรวนแตกต่างกันน้อย (ไม่เกิน 2 เท่าของค่าความแปรปรวนน้อยที่สุด) แตกต่างกันปาน กลาง (ไม่เกิน 5 เท่าของค่าความแปรปรวนน้อยที่สุด)และแตกต่างกันมาก (ไม่เกิน 10 เท่าของค่า ความแปรปรวนน้อยที่สุด) กำหนดการแจกแจงของตัวแปรตอบสนองเป็นการแจกแจงปกติและการแจกแจงล็อกนอร์มอล กระทำซ้ำในแต่ละสถานการณ์เป็นจำนวน 1,000 รอบ เกณฑ์ในการ เปรียบเทียบความสามารถของวิธีการแก้ปัญหาความแปรปรวนไม่เท่ากัน พิจารณาจากสัดส่วน ความสำเร็จจากการทดสอบความเท่ากันของความแปรปรวนด้วยสถิติทดสอบเลอวีน นอกจากนี้ยัง ทำการทดสอบการแจกแจงปกติของตัวแปรตอบสนองทั้งก่อนและหลังการแปลงข้อมูลด้วยสถิติ ทดสอบชาพิโร-วิลค์ ผลการศึกษาพบว่า วิธีการแปลงข้อมูลแบบบ็อกซ์-ค็อกซ์ทั้งแบบดั้งเดิมและ แบบที่ปรับปรุงแล้วสามารถแก้ปัญหาการแจกแจงที่มีลักษณะอื่นให้มีการแจกแจงปกติได้ แต่ไม่ สามารถแก้ปัญหาความแปรปรวนไม่เท่ากันได้วิธีการแปลงข้อมูลโดยใช้วิธีการถ่วงน้ำหนัก สามารถแก้ปัญหาความแปรปรวนไม่เท่ากันได้ แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาการแจกแจงที่มีลักษณะอื่น ให้มีการแจกแจงปกติได้ดังนั้น วิธีที่เหมาะสม คือวิธีการแปลงข้อมูลแบบบ็อกซ์-ค็อกซ์แบบดั้งเดิม ร่วมกับวิธีการถ่วงน้ำหนัก ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถแก้ปัญหาความแปรปรวนไม่เท่ากันและช่วยให้ ข้อมูลมีการแจกแจงปกติ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สถิติ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012