Browsing GSPA: Theses by Issue Date
Now showing items 21-40 of 291
-
การวางแผนปฏิบัติงานของหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1966);
วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์.- -
การจำหน่ายยาตำราหลวงของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1966);
วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์.- -
การควบคุมหอพักนักเรียนนักศึกษาของเอกชนโดยทางราชการ
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1966);
ผู้เขียนได้ศึกษาถึงปัญหา ความสำคัญของปัญหา ตลอดจนอุปสรรคและแนวทางแก้ไขการบริหารงานของรัฐบาลในการควบคุมหอพักนักเรียน นักศึกษา ในสถานศึกษาของรัฐบาลและเอกชนในพระนครและธนบุรี ตั้งแต่ระดับมัธยมจนถึงอุดมศึกษา ยกเว้นนักเรียน นักศึกษาในโรงเรียนราษฎร์พิเศษ เป็นการศึกษาในแง่บริหารสวัสดิการสังคมโดยเพ่งเล็งถึงการจัดสวัสดิการแก่นักเรียน นักศึกษา. -
การบริหารการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1966);
วิทยานิพนธ์นี้มุ่งที่จะศึกษาว่าธนาคารแห่งประเทศไทยมีบทบาทบริหารงาน ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับเงินทุนพัฒนาสำหรับเอกชนในระยะพัฒนาเศรษฐกิจอย่างไรบ้างในการสนับสนุนเกื้อกูลให้มีแหล่งทุนที่เอกชนจะกู้ยืมไปลงทุนได้โดยสะดวก -
ปัญหาการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของสภาการศึกษาแห่งชาติ : ศึกษาเฉพาะกรณีที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1966);
การปฏิบัติงานในหน้าที่ของสภาการศึกษาส่วนใหญ่มุ่งเน้นหนักไปทางด้านการปฏิบัติงานให้แก่มหาวิทยาลัย แต่ผลปรากฏว่าสภาการศึกษาแห่งชาติหาได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่กฎหมายบัญญัติกำหนดอำนาจหน้าที่ไม่ ผู้เขียนจึงได้นำเรื่องนี้มาศึกษาค้นคว้า และก็ปรากฏว่ามีปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ คือ.- -
การใช้ดุลพินิจในการบริหารงานปราบปรามการหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรโดยการศึกษาจากกรณีสินค้าผ้า พ.ศ. 2503-2504
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1966);
แม้ว่าการหลีกเลี่ยงภาษีในประเทศไทยจะมีอยู่อย่างแพร่หลายไม่มีที่สิ้นสุด แต่ยังไม่มีผู้ใดนำเอาปัญหาที่เกิดขึ้นมาศึกษากันโดยละเอียด การดำเนินงานของฝ่ายบริหารจึงมักมุ่งในด้านป้องกันปราบปราม มิค่อยคำนึงถึงส่วนประกอบที่เกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น วิทยานิพนธ์เรื่องนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาเพื่อแสดงสาเหตุของการหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร กลวิธีต่าง ๆ ที่ผู้หลีกเลี่ยงนำมาใช้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อแสดงให้เห็นถึงการใช้ดุลพินิจของนักบริหารผู้มีอำนาจในการวินิจฉัยสั่งการ ในการศึกษาผู้เขียนได้นำเอากรณีสินค้าผ้ามาเป็น ... -
ปัญหาการปฏิบัติตามโครงการทำบัตรประจำตัวประชาชน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1966);
การออกพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อให้ราษฎรได้มีหลักฐานไว้แสดงตนเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและผลประโยชน์ของราษฎร และเพื่อสะดวกแก่การตรวจตราควบคุมการแทรกซึมของลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่การที่ประชาชนไปติดต่อขอทำบัตรกับเจ้าหน้าที่มักจะปรากฏว่าไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร เช่น เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานล่าช้า ระเบียบการปฏิบัติงานยุ่งยาก มีระเบียบและพิธีการมากเกินไป และผลงานที่ออกมาก็มีประสิทธิภาพไม่ดีเท่าที่ควร เครื่องมือเครื่องใช้ของเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ปริมาณงานไม่สัมพันธ์กับเวลาเป็นต้น ผู้เขียนจึงสนใจที่จะศึกษาเรื่องนี้ เพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาต่าง ๆ ... -
ปัญหาและอุปสรรคในการนำพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2497 มาใช้ในประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1966);
การประกันสังคมสงเคราะห์ในประเทศไทยเริ่มขึ้นในปี 2495 เป็นการริเริ่มทางการเมืองของรัฐบาล มิได้เกิดจากความเรียกร้องของประชาชน คณะกรรมการซึ่งได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานประกันสังคมไม่สามารถอุทิศตนให้งานประกันสังคมให้เต็มที่ ข้าราชการในระดับต่ำก็โอนมาจากส่วนราชการอื่นไม่มีความรู้ทางประกันสังคม ทำให้การประกันสังคมประสบความล้มเหลว นอกจากนี้จากการศึกษาปรากฏว่า โครงร่างประกันสังคมตามพระราชบัญญัติประกันสังคม 2497 มีพื้นฐานง่อนแง่น พร้อมทั้งรัฐบาลยังไม่พร้อมที่จะดำเนินการตลอดจนสถานการณ์ทั้งในด้านการเมือง การบริหารเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยในขณะนั้นไม่อำนวยให้ ... -
การปราบปรามยาเสพติดให้โทษของคณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1966);
คณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ.2504 คณะกรรมการนี้แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี มีอธิบดีกรมตำรวจเป็นประธาน คณะกรรมการอื่น ๆ ประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่ในทางปราบปราม ป้องกัน และบำบัดรักษา นอกจากนี้ยังมีหน้าที่สืบสวนผู้มีกรณีเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดให้โทษระหว่างประเทศตามข้อตกลงขององค์การสหประชาชาติหรือที่องค์การตำรวจสากลหรือที่ต่างประเทศขอร้องมา ทั้งยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการประสานงานของหน่วยราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีเจ้าหน้าที่กองกำกับการ 7 เป็นกองเจ้าหน้าที่สำหรับปฏิบัติงานนี้อีกด้วย. -
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ : บทศึกษาเฉพาะกรณีภาวะผู้นำทางการบริหาร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1966);
วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาบทบาททางการบริหารของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เพื่อพิสูจน์ว่าท่านเป็นผู้นำทางการบริหารที่มีความสามารถและสร้างรากฐานความเจริญให้แก่ประเทศไทย ผู้เขียนวิเคราะห์โดยยึดภาวะผู้นำแบบประชานิยมเป็นหลัก และเนื่องจากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้นำในระดับชาติ ผู้เขียนจึงศึกษาภาวะผู้นำของท่านในฐานะเป็นพฤติกรรมทางการบริหารของไทยโดยทั่วไปด้วย โดยได้ตั้งสมมติฐานไว้ 3 ประการ คือ.- -
ภาวะผู้นำทางการบริหารของนายกเทศมนตรี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1966);
ความมุ่งหมายของการศึกษาเพื่อทราบพฤติกรรมทางการบริหารของนายกเทศมนตรีว่ามีอยู่ในลักษณะเช่นไร โดยผู้เขียนได้กำหนดหัวข้อศึกษาออกเป็น 4 ประการ คือ ภาวะผู้นำที่เกี่ยวกับการปกครองบังคับบัญชาและการควบคุมงานของเทศบาล -
การโอนนายทหารบกเป็นปลัดอำเภอโทฝ่ายป้องกัน : การศึกษาถึงความจำเป็นในการป้องกันประเทศ
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967);
การที่รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับภัยคอมมิวนิสต์ตามชายแดนนั้น ก่อให้เกิดปัญหาแก่การบริหารงานของนายอำเภอและข้าราชการอำเภอ กล่าวคือต้องรับภาระเพิ่มขึ้นมากจนไม่อาจปฏิบัติภารกิจให้บรรลุผลดีได้ ดังนั้นรัฐบาลจึงได้เพิ่มตำแหน่งปลัดอำเภอโทฝ่ายป้องกันขึ้นอีกตำแหน่งหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับข้าราชการต่าง ๆ เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามผู้ก่อการร้าย และรับผิดชอบในกิจการกองอาสารักษาดินแดนอำเภอ ตลอดจนกิจการป้องกันฝ่ายพลเรือนโดยตรง งานส่วนใหญ่ของปลัดอำเภอโทฝ่ายป้องกันเป็นการบังคับบัญชาควบคุมและอำนวยการใช้สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ... -
ทัศนคติในทางพัฒนาของผู้นำท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967);
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งค้นความจริงเกี่ยวกับทัศนคติในการพัฒนาของผู้นำท้องถิ่น เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าทัศนคติของผู้นำท้องถิ่นยังเป็นทัศนคติของประชาชนในสังคมแบบกึ่งพัฒนา และการศึกษาย่อมทำให้ทัศนคติของบุคคลมีลักษณะพัฒนาแล้วมากขึ้น -
งานประชาสัมพันธ์ของรัฐ : บทศึกษาเฉพาะกรณีการปฏิบัติงานวิทยุกระจายเสียงของกองประชาสัมพันธ์เขตขอนแก่น
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967);
ผู้เขียนวิทยานิพนธ์เลือกศึกษาเฉพาะการปฏิบัติงานวิทยุกระจายเสียงกองประชาสัมพันธ์เขตจังหวัดขอนแก่นแต่เพียงแห่งเดียว เพราะจะสามารถทำให้ทราบบทบาทและความสำคัญในการปฏิบัติงานของสถานีอื่น ๆ ว่า จะดีกว่าสถานีวิทยุที่มีกำลังส่งต่ำอย่างไร และจะสามารถทราบถึงการปฏิบัติงานได้ว่าได้ผลเป็นประการใด แหล่งการศึกษานี้ไม่ครอบคลุมถึงการดำเนินงานของสถานีโทรทัศน์ ช่อง 5 จังหวัดขอนแก่น จากผลการศึกษาปรากฏว่าโดยทั่วไปการบริหารงานของสถานีวิทยุกระจายเสียงทั้งในด้านการจัดรายการ และในด้านการส่งเสริมให้ประชาชนรับฟังข่าวสารมากขึ้นนั้น ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และหน่วยงานต่าง ๆ ... -
ทัศนคติของนักศึกษาแพทย์ต่อการปฏิบัติงานสาธารณสุขในชนบท
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967);
การศึกษาเรื่องนี้เป็นการวิจัยสนาม โดยมุ่งศึกษาถึงทัศนคติของนักศึกษาแพทย์ทุกคนในโรงเรียนแพทย์ทั้ง 3 แห่ง คือ คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ จากผลการศึกษาปรากฏว่าการสาธารณสุขของไทยเราได้เจริญก้าวหน้าตามแบบอารยประเทศ แต่ในการให้บริการแก่ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ที่อยู่ในชนบทยังไม่ทั่วถึง เพราะขาดแคลนแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้พยายามหาทางแก้ไขตลอดมา แต่ไม่บังเกิดผลดีเท่าที่ควร. -
สถาบันผู้นำและการปกครองตัวเองของชาวเขาเผ่าแม้ว : บทศึกษาเฉพาะกรณีแม้วที่บ้านขุนสถาน อำเภอน้อย จังหวัดน่าน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967);
ผู้เขียนวิทยานิพนธ์มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงรูปลักษณะของการปกครองตนเองของชาวเขาเผ่าแม้ว ที่มาของอำนาจในการปกครอง ผู้ที่ใช้อำนาจในการปกครอง สถานะของหัวหน้าเผ่า ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ ในการปกครองและฐานะทางการปกครองของประชาชนชาวแม้ว รวมทั้งพิจารณาถึงปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ที่มีส่วนส่งเสริมสนับสนุนและเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองของพวกชาวเขา โดยมุ่งพิจารณาในด้านสภาพภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ ศาสนา ลัทธิความเชื่อ และความสัมพันธ์ระหว่างแม้วกับบุคคลภายนอก ตลอดจนความสัมพันธ์ในระหว่างแม้วในหมู่บ้านเดียวกันควบคู่กันไป การที่ผู้เขียนเลือกศึกษาชาวเขาเผ่าแม้ว เพราะชาวเขาเผ่ ... -
การเลือกตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้าน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967);
ความมุ่งหมายในการเลือกตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองก็เพื่อให้กำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นหูเป็นตาของรัฐบาล หรือเป็นมือของฝ่ายบริหารในการปกครองตำบลและหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดแนวความคิด และความพยายามที่จะปูพื้นฐานประชาธิปไตยขั้นมูลฐานในระดับหมู่บ้านอีกด้วย ส่วนความมุ่งหมายในการเลือกตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านสมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองมาจนปัจจุบัน ก็เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการปกครองระบบประชาธิปไตยแก่ประชาชนโดยการปฏิบัติ จากการศึกษาปรากฎว่าการเลือกตั้งสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองและในปัจจุบันไม่บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ... -
ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนข้าราชการกับปริมาณงาน : ศึกษาจากที่ทำการปกครองจังหวัดระยอง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967);
ที่ทำการปกครองจังหวัดระยอง มีปลัดจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชา มี 3 แผนกคือ แผนกจ่าจังหวัด แผนกผู้ตรวจราชการส่วนท้องถิ่น และแผนกเสมียนตราจังหวัด การที่ผู้เขียนเลือกศึกษาหน่วยงานนี้เพราะจังหวัดระยองเป็นจังหวัดค่อนข้างเล็ก มีปริมาณงานน้อย สามารถศึกษาได้ภายในเวลาอันจำกัด ปลัดจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้มีความคิดก้าวหน้าพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้งานดีขึ้น -
ค่าทดแทนของลูกจ้างที่ประสพอันตรายในการทำงาน : ศึกษาเฉพาะกรณีการบริหารงานของกรมแรงงานในจังหวัดพระนคร-ธนบุรี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967);
การศึกษาเรื่องนี้มุ่งเน้นถึงเรื่องการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากการทำงาน จากการศึกษากฎหมายแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานปรากฏว่า กฎหมายค่าทดแทนที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถให้ความคุ้มครองและให้ประโยชน์ทดแทนแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายตามที่กำหนดไว้ได้อย่างแท้จริง ข้อบกพร่องของกฎหมายนี้ยังเป็นอุปสรรคขัดข้องต่อการบริหารงานของเจ้าหน้าที่ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพตามต้องการได้ ผู้เขียนได้เสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และวิธีการดำเนินงานในเรื่องนี้ไว้ใหม่ คือ.- -
การทะเบียนราษฎรในหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967);
วัตถุประสงค์ของการลงทะเบียนราษฎรนั้นเพื่อประโยชน์ในการเกณฑ์ทหารป้องกันประเทศ ในการเก็บภาษี ในการเกณฑ์พลเมืองเพื่อทำกิจการบางอย่าง เพื่อทราบสถิติจำนวนราษฎร เพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้ง และเพื่อประโยชน์ในการควบคุมพลเมืองเพื่อความปลอดภัยของประเทศ ด้วยเหตุที่การทะเบียนราษฎรมีความสำคัญต่อระบบการปกครอง ทางราชการจึงได้ปรับปรุงแก้ไขการจดทะเบียนราษฎรตลอดมา ส่วนใหญ่แก้ไขในรูปของการจัดระบบงาน