กระบวนการสื่อสารและการสร้างการยอมรับการแพทย์แผนไทย
Files
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
135 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b190084
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
กฤษฎา มอมุงคุณ (2015). กระบวนการสื่อสารและการสร้างการยอมรับการแพทย์แผนไทย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4827.
Title
กระบวนการสื่อสารและการสร้างการยอมรับการแพทย์แผนไทย
Alternative Title(s)
Process of communication and building adoption of Thai traditional medicine
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาวิจัยเรื่อง กระบวนการสื่อสารและการสร้างการยอมรับการแพทย์แผนไทย มีวัตถุประสงค์การ วิจัย 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาวางแผนการสื่อสารการแพทย์แผนไทย 2) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างการยอมรับ การแพทย์แผนไทย โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการเก็บข้อมูล ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ผู้ประกอบการแห่งละ 1 คน จาก 3 องค์กร ได้แก่ โกมารภัจจ์สหคลินิก, บริษัท กาโนเอ็กเซลเอ็นเตอร์ไพร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและ การแพทย์แบบผสมผสานด้านโรคมะเร็งสกลนคร(วัดคำประมง) พร้อมด้วยผู้มารับบริการทางการแพทย์แผนไทย องค์กรละ 8 คน รวมทั้งสิ้น 24 คน และการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) การวิจัยครั้งนี้เป็นการ พัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการสื่อสารธุรกิจสุขภาพ และเป็นการส่งเสริมการแพทย์แผนไทย เพื่อเป็นแนวทางให้ ผู้ประกอบการสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการสื่อสารให้เกิดประสิทธิภาพสูงสูด อันจะเป็นผลดี ต่อการพึ่งตนเองของคนไทยทางด้านการดูแลสุขภาพ โดยลดอัตราการเสียดุลการค้า จากการนำเข้ายาและ เวชภัณฑ์แผนปัจจุบันมูลค่ามหาศาลจากต่างประเทศ
ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่าผู้ประกอบการแพทย์แผนไทยมีการวางแผนการสื่อสารโดย ใช้สื่อหลากหลายรูปแบบเพื่อให้สามารถให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายขององค์กรได้อยางทั่วถึง แต่เนื้อหาของสื่อต้องอยู่ ภายใต้กรอบบังคับของกฎหมายว่าด้วยเรื่องการโฆษณายา ซึ่งห้ามการบอกสรรพคุณโดยตรง ทำให้เนื้อหาในการ สื่อสารจะเน้นสร้างการรับรู้แก่กลุ่มเป้าหมายโดยการให้ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยเป็นหลัก ไม่ใช่เป็นการ สื่อสารเพื่อการขายอยางโจ่งแจ้ง เมื่อผู้รับสารเล็งเห็นประโยชน์จากความความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริงของผู้ส่งสาร ซึ่งสะท้อนออกมาจากคุณภาพของเนื้อหาในการสื่อสาร จึงจะเกิดความเชื่อถือและนำมาสู่การเข้ารับการบริการ ทางการแพทย์แผนไทยตามมาในภายหลัง และในปัจจุบันผู้ประกอบการแพทย์แผนไทยก็ได้ให้ความสำคัญกับสื่อออนไลน์ (Online Media) ที่กำลังได้รับความสนใจและเข้ามามีบทบาทในการดำรงชีวิตของผู้คนในสังคมเป็น อย่างมาก แต่ในอีกมุมหนึ่งสื่อดังกล่าวก็นำมาซึ่งผลเสียด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ด้วยคุณสมบัติของสื่อออนไลน์ (Online Media) ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย จึงทำให้เกิดการส่งผ่านข้อมูลกันเป็นจำนวนมาก แต่ขาด ระบบการกลันกรองข้อเท็จจริงของข้อมูล และมีการละเมิดลิขสิทธิ์กันอย่างแพร่ หลาย ทำให้ผู้รับสารเกิดความ สับสนในจำนวนข้อมูลที่มากเกินไปและไม่รู้วาข้อมูลใดจริงหรือเท็จ ผู้ประกอบการบางรายที่หวังเพียงผลกาไรก็โฆษณาโอ้อวดสรรพคุณจนเกินความจริง เมื่อมีผู้หลงเชื่อแล้วได้รับความเสียหาย จึงส่งผลให้ภาพลักษณ์ของวงการแพทย์แผนไทยโดยรวมต้องพลอยเสื่อมเสียไปด้วย
ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบวา กระบวนการสร้างการยอมรับการแพทย์แผนไทยมีการพัฒนา จากการรับรู้สู่การยอมรับอยางเป็นลำดับขั้นตอน โดยพบว่าผู้รับบริการทางการแพทย์แผนไทยแต่ละคน มีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกบการแพทย์แผนไทยมากน้อยไม่เท่ากันจึงทำให้มีทัศนคติและพฤติกรรมแตกต่างกันไป แต่ให้ความสำคัญในประเด็นที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งให้ความสำคัญกับประสิทธิผลของการรักษาเป็นหลัก ใน กระบวนการยอมรับดังกล่าวนี้ เมื่อเกิดการยอมรับแล้ว ผู้ป่วยจะเกิด "เวชศรัทธา" ภายหลังจากที่ผุ้นั้นเห็น ผลการรักษาด้วยตัวเองแล้ว และจะมีแรงกระตุ้นให้เกิดการบอกต่อ ไปยังผู้ป่วยรายอื่น ๆ ส่งผลให้เกิดเป็นวงจรการ สร้างการรับรู้สู่การยอมรับ ที่กระจายสื่อออกไปแบบปากต่อปาก จากผู้ที่ผ่านการรักษาแล้วเห็นผลดี
ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่าผู้ประกอบการแพทย์แผนไทยมีการวางแผนการสื่อสารโดย ใช้สื่อหลากหลายรูปแบบเพื่อให้สามารถให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายขององค์กรได้อยางทั่วถึง แต่เนื้อหาของสื่อต้องอยู่ ภายใต้กรอบบังคับของกฎหมายว่าด้วยเรื่องการโฆษณายา ซึ่งห้ามการบอกสรรพคุณโดยตรง ทำให้เนื้อหาในการ สื่อสารจะเน้นสร้างการรับรู้แก่กลุ่มเป้าหมายโดยการให้ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยเป็นหลัก ไม่ใช่เป็นการ สื่อสารเพื่อการขายอยางโจ่งแจ้ง เมื่อผู้รับสารเล็งเห็นประโยชน์จากความความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริงของผู้ส่งสาร ซึ่งสะท้อนออกมาจากคุณภาพของเนื้อหาในการสื่อสาร จึงจะเกิดความเชื่อถือและนำมาสู่การเข้ารับการบริการ ทางการแพทย์แผนไทยตามมาในภายหลัง และในปัจจุบันผู้ประกอบการแพทย์แผนไทยก็ได้ให้ความสำคัญกับสื่อออนไลน์ (Online Media) ที่กำลังได้รับความสนใจและเข้ามามีบทบาทในการดำรงชีวิตของผู้คนในสังคมเป็น อย่างมาก แต่ในอีกมุมหนึ่งสื่อดังกล่าวก็นำมาซึ่งผลเสียด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ด้วยคุณสมบัติของสื่อออนไลน์ (Online Media) ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย จึงทำให้เกิดการส่งผ่านข้อมูลกันเป็นจำนวนมาก แต่ขาด ระบบการกลันกรองข้อเท็จจริงของข้อมูล และมีการละเมิดลิขสิทธิ์กันอย่างแพร่ หลาย ทำให้ผู้รับสารเกิดความ สับสนในจำนวนข้อมูลที่มากเกินไปและไม่รู้วาข้อมูลใดจริงหรือเท็จ ผู้ประกอบการบางรายที่หวังเพียงผลกาไรก็โฆษณาโอ้อวดสรรพคุณจนเกินความจริง เมื่อมีผู้หลงเชื่อแล้วได้รับความเสียหาย จึงส่งผลให้ภาพลักษณ์ของวงการแพทย์แผนไทยโดยรวมต้องพลอยเสื่อมเสียไปด้วย
ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบวา กระบวนการสร้างการยอมรับการแพทย์แผนไทยมีการพัฒนา จากการรับรู้สู่การยอมรับอยางเป็นลำดับขั้นตอน โดยพบว่าผู้รับบริการทางการแพทย์แผนไทยแต่ละคน มีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกบการแพทย์แผนไทยมากน้อยไม่เท่ากันจึงทำให้มีทัศนคติและพฤติกรรมแตกต่างกันไป แต่ให้ความสำคัญในประเด็นที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งให้ความสำคัญกับประสิทธิผลของการรักษาเป็นหลัก ใน กระบวนการยอมรับดังกล่าวนี้ เมื่อเกิดการยอมรับแล้ว ผู้ป่วยจะเกิด "เวชศรัทธา" ภายหลังจากที่ผุ้นั้นเห็น ผลการรักษาด้วยตัวเองแล้ว และจะมีแรงกระตุ้นให้เกิดการบอกต่อ ไปยังผู้ป่วยรายอื่น ๆ ส่งผลให้เกิดเป็นวงจรการ สร้างการรับรู้สู่การยอมรับ ที่กระจายสื่อออกไปแบบปากต่อปาก จากผู้ที่ผ่านการรักษาแล้วเห็นผลดี
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558