การจำหน่ายเครื่องจักรกลภายใต้สภาวะการใช้งานที่ผันแปรเชิงสุ่ม
Publisher
Issued Date
1975
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
[144] แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
พิทักษ์ จิตจักร (1975). การจำหน่ายเครื่องจักรกลภายใต้สภาวะการใช้งานที่ผันแปรเชิงสุ่ม. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/485.
Title
การจำหน่ายเครื่องจักรกลภายใต้สภาวะการใช้งานที่ผันแปรเชิงสุ่ม
Alternative Title(s)
Optimal replacement of mechanical equipment under random operations
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาวิจัยเพื่อกำหนดเวลาที่สมควรจำหน่ายเครื่องจักรกลหนักชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะการใช้งานภายใต้ข้อจำกัดบางอย่าง ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา สภาวะการทำงานของเครื่องจักรกลแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ (1) สภาวะไม่สามารถใช้งานได้ (2) สภาวะทำงานเต็มที่ และ (3) สภาวะทำงานไม่เต็มที่หมุนเวียนกันอยู่เช่นนี้ตลอดไป เนื่องจากปัจจัยที่เกี่ยวกับการใช้งานเครื่องจักรกล เช่น ระยะเวลา ค่าใช้จ่าย และผลงานที่เครื่องจักรกลทำได้ ในการใช้งานเครื่องจักรกลไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้งานจึงเป็นผลให้เครื่องจักรกลทำงานอยู่ภายใต้สภาวะการใช้งานที่ผันแปรเชิงสุ่ม อายุการใช้งานที่สมควรจำหน่ายเครื่องจักรกลได้นิยามไว้ในวิทยานิพนธ์นี้ก็คือ อายุการใช้งานซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายรวมเมื่อเฉลี่ยต่อหน่วยเวลาที่ใช้งานมีค่าต่ำที่สุด
ข้อสมมติฐานสำหรับแบบจำลองได้สร้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ภายใต้ข้อสมมติฐานดังกล่าว ทฤษฎี 2 บทได้สร้างขึ้นเพื่อพิสูจน์ว่า.
1. ผู้ใช้งานเครื่องจักรกลที่จำหน่ายเครื่องจักรกลตามนโยบายที่ศึกษาวิจัยมานี้ นอกจากจะเป็นการประหยัดที่สุดแล้ว ยังจะได้รับผลตอบแทนจากการใช้งานสูงที่สุดอีกด้วย.
2. อายุการใช้งานซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายรวมเมื่อเฉลี่ยต่อหน่วยเวลาที่ใช้งานมีค่าต่ำสุดมีอยู่จริง.
ในภาคหลังของวิทยานิพนธ์จะเป็นการประยุกต์ผลของการวิจัยต่อการใช้งานรถขุด ขนาด 3/4 ล.บ.หลา ข้อมูลของการใช้งานรถขุดขนาด 3/4 ล.บ.หลา รวบรวมมาจากกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผลที่ได้จากการประยุกต์แบบจำลอง ได้พบว่าการจำหน่ายรถขุดขนาด 3/4 ล.บ.หลา ที่เหมาะสมที่สุดนั้นคือ จำหน่ายเมื่อสิ้นสุดการใช้งานในปีที่ 6 สำหรับนโยบายที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายเป็นมูลค่าปัจจุบัน และจำหน่ายเมื่อสิ้นสุดการใช้งานในปีที่ 7 สำหรับนโยบายที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายเป็นมูลค่าปัจจุบันด้วยอัตราส่วนลดร้อยละ 7.5.
ข้อสมมติฐานสำหรับแบบจำลองได้สร้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ภายใต้ข้อสมมติฐานดังกล่าว ทฤษฎี 2 บทได้สร้างขึ้นเพื่อพิสูจน์ว่า.
1. ผู้ใช้งานเครื่องจักรกลที่จำหน่ายเครื่องจักรกลตามนโยบายที่ศึกษาวิจัยมานี้ นอกจากจะเป็นการประหยัดที่สุดแล้ว ยังจะได้รับผลตอบแทนจากการใช้งานสูงที่สุดอีกด้วย.
2. อายุการใช้งานซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายรวมเมื่อเฉลี่ยต่อหน่วยเวลาที่ใช้งานมีค่าต่ำสุดมีอยู่จริง.
ในภาคหลังของวิทยานิพนธ์จะเป็นการประยุกต์ผลของการวิจัยต่อการใช้งานรถขุด ขนาด 3/4 ล.บ.หลา ข้อมูลของการใช้งานรถขุดขนาด 3/4 ล.บ.หลา รวบรวมมาจากกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผลที่ได้จากการประยุกต์แบบจำลอง ได้พบว่าการจำหน่ายรถขุดขนาด 3/4 ล.บ.หลา ที่เหมาะสมที่สุดนั้นคือ จำหน่ายเมื่อสิ้นสุดการใช้งานในปีที่ 6 สำหรับนโยบายที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายเป็นมูลค่าปัจจุบัน และจำหน่ายเมื่อสิ้นสุดการใช้งานในปีที่ 7 สำหรับนโยบายที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายเป็นมูลค่าปัจจุบันด้วยอัตราส่วนลดร้อยละ 7.5.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (สถิติประยุกต์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2518.