• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การรับรู้ข่าวสารและความพึงพอใจต่อการสื่อสารการตลาดของตราสินค้าแลคตาซอย

by อนุสรา นารัตน์

Title:

การรับรู้ข่าวสารและความพึงพอใจต่อการสื่อสารการตลาดของตราสินค้าแลคตาซอย

Other title(s):

The information perceptions and satisfaction on marketing communication of Lactasoy's brand

Author(s):

อนุสรา นารัตน์

Advisor:

อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม

Degree department:

คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ

Degree grantor:

คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ

Issued date:

2015

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ1) ศึกษาการสื่อสารการตลาดของตราสินค้าแลคตาซอย 2) ศึกษาลักษณะทางประชากรกบัการรับรู้ข่าวสารการสื่อสารการตลาดของตราสินคา้แลคตาซอย 3) ศึกษาลักษณะทางประชากรกับความพึงพอใจต่อการสื่อสารการตลาดของตราสินค้าแลคตาซอย 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสารและความพึงพอใจต่อการสื่อสารการตลาดของตราสินค้าแลคตาซอย
การวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ1) การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจาก เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารการตลาดของตราสินค้าแลคตาซอย และ 2) การวิจัย เชิงปริมาณ ใช้วิธีการสำรวจ โดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่ม ตัวอย่าง และกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้ได้แก่ผู้บริโภคตราสินค้าแลคตาซอยที่อาศัยอยู่ในเขต กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 กลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือการแจกแจงความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า T-Test การวิเคราะห์ความแปรปรวน One-Way ANOVA และวิเคราะห์สถิติสหสัมพันธ์ Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient ซึ่ง ประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS
ผลการวิจัยพบวา่ ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า การใช้การสื่อสารการตลาดของตราสินค้าแลคตาซอย ในประเทศไทยที่มีการเผยแพร่ทางสื่ออินเทอร์เน็ต มีดังนี้คือการโฆษณาผ่านสื่อหลัก ได้แก่วิทยุและ โทรทัศน์สื่อออนไลน์ได้แก่ เว็บไซต์ของตราสินคา้ นอกจากนี้ตราสินค้าแลคตาซอยยังใช้สื่อออนไลน์ประเภท เฟซบุ๊ก แฟนเพจ โฆษณาแฝงผ่านการนำสินคาไปแทรกอยู่ในรายการโทรทัศน์ หรือละคร การประชาสัมพันธ์การส่งเสริมการขาย กิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมและกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับผู้บริโภค
ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีสถานภาพโสด มีการศึกษาระดับ ปริญญาตรีส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกวา่ 30,000 บาท กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ข่าวสารการสื่อสารการตลาดของตราสินคา้แลคตาซอย โดยรวมใน ปัจจัยทั้ง 2 ด้าน อยู่ในระดับมากเรียงลำดับ ตามค่าเฉลี่ย ได้แก่ ด้านการรับรู้ข่าวสารและด้านช่องทาง การรับรู้ข่าวสาร ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการสื่อสารการตลาดของตราสินค้าแลคตาซอย โดยรวมใน ปัจจัยทั้ง 4 ดา้นอยู่ในระดับมากเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ด้านราคา ด้านช่องทางการ จัดจำหน่ายและด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศอายุสถานภาพ ระดับการศึกษาและรายได้้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีการรับรู้ ข่าวสารการสื่อสารการตลาดของตราสินคา้แลคตาซอยไม่แตกต่างกัน ยกเว้นอาชีพเท่านั้น ที่มีการรับรู้ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุสถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกันมีความพึงพอใจต่อการสื่อสารการตลาดของตราสินค้าแลคตาซอยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 การรับรู้ข่าวสารการสื่อสารการตลาดของกลุ่มตัวอย่างไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อการสื่อสารการตลาดของตราสินค้าแลคตาซอย

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

Subject(s):

การสื่อสารการตลาด
การตลาด
ตราสินค้า

Keyword(s):

แลคตาซอย

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

249 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4925
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b190106.pdf ( 7,207.80 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSCM: Theses [179]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×