การวางแผนครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะเจริญพันธุ์กับคุณลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ และสังคมของข้าราชการครูสตรี กองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร
Publisher
Issued Date
1978
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
63 หน้า.
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สุทธิ แสงจันทร์ (1978). การวางแผนครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะเจริญพันธุ์กับคุณลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ และสังคมของข้าราชการครูสตรี กองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/495.
Title
การวางแผนครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะเจริญพันธุ์กับคุณลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ และสังคมของข้าราชการครูสตรี กองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร
Alternative Title(s)
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษาทัศนคติและการปฏิบัติตนในเรื่องการวางแผนครอบครัว ศึกษาถึงลักษณะต่าง ๆ ทางด้านประชากร เศรษฐกิจ และสังคมที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเจริญพันธุ์ ผลการวิจัยพบว่าข้าราชการครูสตรีส่วนใหญ่ร้อยละ 42 มีอายุอยู่ในระดับกลาง คือ 30-39 ปี และกว่า 3 ใน 4 ของตัวอย่างทั้งหมด คือ ร้อยละ 76 จบการศึกษาขั้นปริญญาตรีขึ้นไป ศึกษาในปีการศึกษา 2519 ปรากฏว่า ครูสตรีกำลังคุมกำเนิดในปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 61.50 นิยมใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดในกลุ่มอายุปัจจุบันต่ำกว่า 29 ปี และนิยมใช้การทำหมันหญิงในกลุ่มอายุปัจจุบันระหว่าง 30-39 ปี และ 40 ปี ขึ้นไป ครูสตรีที่มีบุตรที่มีชีวิตระหว่าง 1-2 คน และ 3-4 คน มีสภาพการคุมกำเนิดสูง ส่วนทัศนคติต่อการคุมกำเนิดของสามีส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการคุมกำเนิดสูง คิดเป็นร้อยละ 75 จำนวนบุตรเกิดรอดมีความสัมพันธ์กับอายุปัจจุบันของข้าราชการครูสตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ จำนวนบุตรเกิดรอดเพิ่มมากขึ้นตามอายุปัจจุบันของข้าราชการครูสตรี ซึ่งเป็นไปในลักษณะปกติ จำนวนบุตรเกิดรอดมีความสัมพันธ์กับอายุแรกสมรส ในกลุ่มอายุปัจจุบันระหว่าง 35-44 ปี คือ อายุแรกสมรสน้อยมีจำนวนบุตรเกิดรอดมาก ในขณะที่ครูสตรีที่มีอายุแรกสมรสมากมีจำนวนบุตรเกิดรอดน้อย ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ จำนวนบุตรเกิดรอดมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการสมรสของข้าราชการครูสตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ จำนวนบุตรเกิดรอดเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาการสมรสของครูสตรี ซึ่งเป็นไปในลักษณะปกติ จำนวนบุตรเกิดรอดมีความสัมพันธ์กับระดับการศึกษา ในกลุ่มอายุปัจจุบันระหว่าง 25-34 ปี 35-44 ปี และ 45 ปีขึ้นไป คือสตรีที่มีการศึกษาต่ำมีจำนวนบุตรเกิดรอดสูง และสตรีที่มีการศึกษาสูงมีจำนวนบุตรเกิดรอดต่ำ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ และจำนวนบุตรเกิดรอดไม่มีความสัมพันธ์กับรายได้ของครอบครัวต่อเดือนของข้าราชการครูสตรี ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (สถิติประยุกต์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2521.