กระบวนพิจารณาและความรับผิดทางอาญาของผู้หญิงที่ถูกทำร้ายสะสม
by ชญาธร ยุติธรรมวงษ์
Title: | กระบวนพิจารณาและความรับผิดทางอาญาของผู้หญิงที่ถูกทำร้ายสะสม |
Other title(s): | Criminal procedure and liability of battered women syndrome |
Author(s): | ชญาธร ยุติธรรมวงษ์ |
Advisor: | วัชรชัย จิรจินดากุล |
Degree name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2019 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนพิจารณาและความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงที่ถูกทำร้ายสะสม (Battered Woman Syndrome: BWS) โดยผู้เขียนได้แบ่งประเด็นกฎหมายเพื่อวิเคราะห์ออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ 1 การนำสืบพยานผู้เชี่ยวชาญในกระบวนพิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ 2 โครงสร้างความรับผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา รวมถึงวิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน
ในการศึกษานี้ได้นำแนวคิดจากทฤษฎีวงจรความรุนแรง (Cycle Theory of Violence) และทฤษฎีความสิ้นหวังอันเกิดจากการเรียนรู้ (Learned Helplessness) ซึ่งเป็นทฤษฎีทางจิตวิทยาที่ ดร.เลนอร์ วอลล์เกอร์ (Lenore Walker) ได้ศึกษาเพื่อนำมาอธิบายถึงพฤติกรรมการตอบโต้กลับด้วยความรุนแรงของผู้หญิงที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอาการ Battered Women Syndrome ดังนั้นกรณีคดีที่เกิดจากการตอบโต้กลับด้วยความรุนแรงของหญิงที่มีอาการความเครียดสะสมจึงควรมีกระบวนวิธีการพิจารณาความรับผิดที่มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากความรับผิดจากการทำร้ายร่างกายระหว่างบุคคลโดยทั่วไป แต่จากการศึกษาแนวคำพิพากษาพบว่าลักษณะความผิดที่เกิดขึ้นจะถูกจัดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา และมีกระบวนพิจารณาที่มีลักษณะของการทำร้ายระหว่างบุคคลทั่วไป ทำให้หญิงที่เคยเป็นผู้ถูกกระทำความรุนแรงต้องกลายเป็นอาชญากร เนื่องจากลักษณะความผิดที่เกิดขึ้น เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงหรือมูลเหตุจูงใจในการกระทำความผิดแล้ว จะไม่สามารถปรับใช้กับเหตุยกเว้นโทษ หรือยกเว้นความผิดได้เลย ซึ่งประเด็นการนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติการถูกกระทำความรุนแรงของผู้กระทำความผิด และการนำสืบพยานผู้เชี่ยวชาญจึงความสำคัญอย่างยิ่งในการอธิบายถึงอาการความผิดปกติทางจิตที่เป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือความรู้ความเข้าใจของบุคคลทั่วไปและสามารถชี้ให้เห็นถึงมูลเหตุแห่งการกระทำความผิดอันอาจมีผลต่อการวินิจฉัยความรับผิดทางอาญา ที่กฎหมายให้อำนาจศาลในการใช้ดุลพินิจแต่กลับพบว่าศาลมีการนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้น้อยมาก ดังนั้นรัฐหรือผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในคดีจะต้องร่วมมือกันในการค้นหาความจริงเกี่ยวกับอาการ Battered Women Syndrome เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและเหมาะสมกับตัวผู้กระทำความผิด
ผู้เขียนขอเสนอแนะแก้ไขประเด็นของความรับผิดทางอาญา และประเด็นการนำสืบพยานผู้เชี่ยวชาญ โดยควรให้มีการนำสืบพยานผู้เชี่ยวชาญในทุกกรณีที่มีการกระทำความผิดของหญิงที่พบว่ามีประวัติการถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวมาก่อน เพื่อให้ได้ผลตรวจเกี่ยวกับอาการความผิดปกติทางจิตอันจะนำมาเป็นพยานหลักฐานที่ศาลจะใช้วินิจฉัยประกอบการพิจารณาเหตุยกเว้นความผิดหรือยกเว้นโทษ ที่เหมาะสมกับตัวผู้กระทำความผิดอย่างแท้จริง |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562 |
Subject(s): | การฟ้องคดีอาญา
วิธีพิจารณาความอาญา ความรับผิดทางอาญา |
Keyword(s): | e-Thesis |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 137 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4978 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|